จัดฟันโลหะคืออะไร

การจัดฟันโลหะ ถูกเรียกได้หลายชื่อ จัดฟันแบบโลหะ จัดฟันเหล็ก การจัดฟันแบบรัดยาง หรือ จัดฟันยางสี เป็นต้น เป็นการจัดฟันโดยการติดเครื่องมือจัดฟันแบบดั้งเดิมที่ประกอบด้วย แบร็คเก็ตโลหะ (Metal Bracket) , ลวด แสตนเลสสตีล (Stainless Steel Archwire) หรือ ลวดไทเทเนียม (Titanium archwire) และยางสี (O-ring) ไว้ที่ผิวฟันด้านหน้า (Enamel Surface)  แล้วใส่ลวดผ่านร่องของแลร็คเก๊ต (Slot) เครื่องมือเหล่านี้ เพื่อเคลื่อนฟันและเรียงฟันให้สวยงาม ถือว่าการเป็นการจัดฟันที่คนนิยมทำกันเยอะที่สุด ตั้งแต่วัยรุ่นไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ เพราะการจัดฟันแบบโลหะ

นอกจากจะช่วยแก้ปัญหาการเรียงตัวของฟันที่ไม่เป็นระเบียบแล้ว ยังช่วยปรับรูปหน้าให้ดูเรียว นอกจานี้การจัดฟันแบบโลหะยังถือเป็นแฟชั่น มีสีมากมายที่มีให้เลือกตามความพอใจของผู้ติดเครื่องมือจัดฟัน จึงจะเห็นวัยรุ่น ดารา นักร้อง นักแสดง และคนทั่วไป ผู้ใหญ่ นิยมทำกัน นอกจากนี้ เครื่องมือแบบโลหะ ยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งขนาดรูปลักษณ์ที่เล็กลง กระทัดรัด ไม่มีรอยคมข่วนกระพุ้งแก้ม ลวดก็มีการพัฒนาจาก สแตนเลส มาเป็นลวดที่มีคุณภาพสูง เรียก NiTi ซึ่งช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น คือ เร็วขึ้น สวยขึ้น

ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีเครื่องมือในรูปแบบอื่นๆ เช่น เครื่องมือแบบใส (invisalign) เครื่องมือดามอน (Damon Bracket) เครื่องมือแบบเซรามิก (Ceramic) ถึงแม้ว่าเครื่องมือเหล่านี้จะผลิดขึ้นมาเพื่อมากำจัดจุดอ่อนของเครื่องมือแบบโลหะ แต่เครื่องมือแบบโลหะก็ยังคงได้รับความนิยมอยู่ดี เนื่องจากราคาที่ถูกกว่า และประสิทธิภาพการจัดฟันก็ยังดีกว่าแบบใหม่ในการเคลื่อนฟันบางตำแหน่ง ในสังคมเมื่องไทยยังมองว่า การจัดฟันแบบโลหะ เป็นแฟชั่น ไม่ได้เป็นสิ่งที่น่ารังเกลียด หรือไม่สวยแต่อย่างใด

ทำไมถึงต้องเลือกจัดฟันแบบโลหะ (จัดฟันเหล็ก)

เครื่องมือจัดฟันในปัจจุบัน มีหลากหลายมาก ที่เป็นที่รู้จักก็ตั้งแต่ เครื่องมือเซรามิก (Ceramic Bracket) เครื่องมือดามอน (Damon Bracket) เครื่องมือแบบใส (Invisalign)  แต่ไม่มีเครื่องมือจัดฟันชนิดไหนที่สมบูรณ์แบบที่สุด สำหรับทุกคน เครื่องมือจัดฟันที่มีผู้พัฒนาย่อมมีข้อดีและข้อเสีย มากบ้างน้อยบ้าง แต่ในความเห็นของผู้เขียน เครื่องมือจัดฟันแบบไหนดีที่สุด เหมาะสมกับความผิดปกติของการสบฟันทุกรูปแบบ คือ “เครื่องมือโลหะ” ซึ่งสามารถแก้ไขความผิดปกติของการสบฟันได้เกือบทุกรูปแบบ ซึ่งข้อเสียของการจัดฟันแบบโลหะมีอยู่เรื่องเดียว คือ เรื่องความสวยงามระหว่างการจัดฟัน เนื่องจากจะเห็นเครื่องมือจัดฟันได้อย่างชัดเจนขณะจัดฟัน ส่วนเรื่องอื่นๆ ที่เครื่องมือแบบอื่นๆ (ดามอน, อินวิสไลน์) พยายามชี้ประเด็นเรื่องข้อด้อยของเครื่องมือจัดฟันโลหะ เช่น

  • มีแรงเสียดทานเยอะ ซึ่งในกรณีนี้ ถ้าผู้จัดฟันเข้าใจเรื่องทฤษฏีเรื่องแรงเสียดทาน ก็จะสามารถ หลีกเลี่ยง หรือ ป้องกันแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นได้อยู่แล้ว อันที่จริงเครื่องมือเซรามิก เป็นเครื่องมือมือที่มีแรงเสียดทานสูงกว่าแบบโลหะอีกด้วย
  • ใช้เวลาในการจัดฟันนาน การจัดฟันแบบโลหะใช้เวลาในการจัดฟันนานกว่าชนิดอื่นๆ ซึ่งก็ไม่จริง เพราะมันขึ้นอยู่กับความชำนาญ ความเข้าใจในเรื่องจัดฟันของผู้จัดฟันต่างหาก ถ้าการรักษามีการวางแผนอย่างดี และรักษาอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการแล้ว ก็จะสามารถ ระยะเวลาการรักษาการจัดฟันแบบโลหะก็จะเร็วกว่า และสวยกว่า การจัดฟันด้วยเครื่องมือชนิดอื่นๆ อีกด้วย
  • อาการเจ็บระหว่างจัดฟัน อาการเจ็บระหว่างจัดฟันเกิดจากรากฟันถูกดันไปกดกับเส้นประสาทและเส้นเลือดที่บริเวณระหว่างกระดูกหุ้มรากฟันกับรากฟัน ที่เรียกว่า Periodontal Ligament  ซึ่งทำหน้าที่นำอาหารไปเลี้ยงฟันซี่นั้นๆ ดังนั้นการจัดฟันจะต้องมีอาการเจ็บทุกครั้งเพียงแต่ต่างกันที่มากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับแรง (Pressure) ที่ผู้จัดฟันใส่เข้าไป ดังนั้นจะเห็นได้ว่า อาการเจ็บหรือปวดฟันไม่ได้ขึ้นอยู่กับชนิดของเครื่องมือ แต่ใันขึ้นอยู่กับการออกแบบแรงที่จะกระทำลงบนตัวฟันมากกว่า ซึ่งผู้ออกแบบแรงก็คือหมอจัดฟันนั่นเองที่เป็นตัวแปรที่จะทำให้เจ็บมากน้อย
  • ไม่สวยเพราะเห็นเครื่องมือ แน่นอนครับ เครื่องมือจัดฟันแบบโลหะ จะเห็นเครื่องมือ แต่ด้วยความที่มันเห็นเครื่องมือและมีสียางให้เลือก มันก็เลยกลายเป็นข้อดีสำหรับคนไขับางกลุ่มที่ต้องการให้เห็นสียาง เป็นแฟชั่น ดังนั้นสำหรับข้อดีนี้ก็เลยไม่แน่ใจว่าเป็นข้อดีหรือข้อเสีย
  • เครื่องมือโลหะ หลุดง่าย ด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาทางด้านวัสดุ ทางทันตกรรมโดยเฉพาะกาวที่ใช้สำหรับยึดแบร็คเก็ตเข้ากับตัวฟัน มีแรงยึดสูงมาก หลุดยากมาก ถ้าไม่โดนแรงกัดที่รุนแรงจริงๆ เช่น น้ำแข็ง กระดูกไก่ ดังนั้นเครื่องมือจัดฟันไม่ว่าจะแบบไหนก็หลุดได้เหมือนๆกัน ถ้าคนไข้ไม่ช่วยดูแลรักษาเครื่องมือขณะจัดฟัน

หลักการจัดฟันแบบโลหะ ทำให้ฟันเคลื่อนที่ได้ยังไง

การจัดฟันแบบโลหะ ทันตแพทย์จะติดเหล็ก (bracket) บนผิวฟันโดยใช้กาวชนิดพิเศษที่ยึดแน่นมากๆ ใส่ลวด (Main archwire) ลงไปในร่องของแบร็คเก็ต (Slot of Bracket) และรัดด้วยยางสี (O-Ring) หรือลวดรัดฟัน (Ligature Wire) ซึ่งเมื่อถึงขั้นตอนนี้แรงจากลวดก็จะสามารถถ่ายทอดแรงไปที่ฟันได้แล้ว ฟันก็จะขยับตามแรงที่เกิดจากลวด หรือ อาจจะได้รับแรงจากยางหรือสปริงต่างที่กระทำลงบนตัวฟัน เพื่อดึงฟันให้เรียงตัวอยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ

หลังจาก 1-2 ชั่วโมง หลังการจัดฟัน อาจจะทำให้คนไข้รู้สึกไม่สบายมีอาการปวดฟันจากแรงดึงฟัน ซึ่งสามารถทานยาแก้ปวดเช่น พาราเซตามอน (Paracetamol) ได้เพื่อบรรเทาปวด แต่โดยทั่วไปอาการปวดจะหายได้เองภายใน 1 สัปดาห์ หรืออาจจะ ระคายช่องปากเพราะยังไม่ชิน มีผลต่อการพูดออกเสียงและการรับประทานอาหารบ้าง

หลังจากนั้น 3-4 สัปดาห์ แรงต่างๆที่ได้ใส่เอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นแรงจากลวดหรือ จากยางดึง ก็จะหมดแรง ดังนั้น คนไข้จึงต้องมาเปลี่ยนลวด ยาง หรือ อุปกรณ์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อกระตุ้นให้ฟันขยับไปในทิศทางตามแผนการรักษาที่เราต้องการ ซึ่งการรักษาก็จะวนแบบนี้จนครบ 2-3 ปี ก็จะจัดฟันเสร็จ ถอดเครื่องมือและใส่รีเทนอร์ต่อไป

ส่วนประกอบของเครื่องมือจัดฟัน ประกอบด้วย แบร็คเก็ต ลวด ยางรัดลวด

ส่วนประกอบของเครื่องมือจัดฟันโลหะ 

1) ส่วนประกอบหลักของเครื่องมือจัดฟัน

  • แบร็กเก็ต (Brackets) ลักษณะเป็นชิ้นโลหะขนาดเล็ก มีส่วนที่คล้ายปีก (Bracket Wing) อยู่ด้านบนล่างสำหรับมัดยาง (O-ring) มีร่อง (Slot) สำหรับใส่ลวด (archwire) ทำจาก Stainless Steel แบร็กเก็ตใช้ติดลงบนผิวด้านนอกของฟันด้วยกาวชนิดพิเศษ แบร็กเก็ตมีหน้าที่ถ่ายแรงจากลวดมาที่ตัวฟันในแต่ละซี่
  • ลวด (Archwires) ทำหน้าที่เชื่อมต่อแบร็กเก็ตบนฟันแต่ละซี่ ลวดทำจากวัสดุประเภท Nickel และ Titanium หรือ stainless steel โลวดเป็นแหล่งกำเนิดแรงสำหรับเคลื่อนฟัน โดยทันตแพทย์จัดฟันเป็นผู้ออกแบบแรงเหล่านี้ เพื่อให้ฟันเคลื่อนไปในตำแหน่งที่ต้องการ ลวดมีหลายขนาดและหลายรูปร่าง ขึ้นอยู่กับชนิดของการเคชื่อนฟัน (Type of tooth movement) ซึ่งจะถูกเปลี่ยน ตามแผนการรักษา
  • ตัวรัดลวด (Ligatures) ทำหน้าที่มัดลวดให้อยู่ในร่อง (slot of bracket) ของแบร็คเก็ต แรงจากลวดจะถูกส่งผ่านตัวยึดไปยังแบร็กเก็ต เพื่อเคลื่อนฟันไปยังตำแหน่งที่เหมาะสม ตัวรัดลวดนี้ มีหลายชนิด เช่น ยาง ลวด  แต่ที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปก็คือ ยางจัดฟันสารพัดสี ที่เราเห็นกันทั่วไป

2) ส่วนประกอบเสริมอื่นๆของเครื่องมือจัดฟัน

เพื่อช่วยในการจัดฟันให้ได้ตามแผนการรักษาที่ต้องการ บางครั้งต้องใช้เครื่องมือเสริม เช่น ยางวง (Rubber band) ยางโซ่ (Power Chain) สปริง สำหรับดึง (Closed Coil Spring) หรือ ดัน (Opened Coil Spring) หมุดจัดฟัน (TADs) สปริงตัวใหญ่ (FORSUS) เป็นต้น ซึ่งเครื่องมือเสริมนี้ขึ้นอยู่กับความจำเป็นของแต่ละคน เพราะแต่ละคนมีความผิดปกติไม่เหมือนกัน

เครื่องมือช่วยสำหรับการจัดฟันแบบโลหะ เช่น สปริงต่างๆ ยางรัดฟัน เชน แบร็คเก็ต

ข้อดี ข้อเสีย ของเครื่องมือจัดฟันโลหะ

ข้อดี

  • แฟชั่นสีสัน สนุกในระหว่างการจัดฟัน  ด้วยความที่มันมองเห็นสะดุดตา เห็นชัดทั้งเหล็กทั้งยาง การเลือกสียางได้ตามใจชอบเพื่อตกแต่งเครื่องมือจัดฟันให้สดใสทุกๆเดือนที่มาเปลี่ยนเครื่องมือ จึงเป็นที่ชื่นชอบของผู้จัดฟันบางกลุ่ม (ส่วนใหญ่)
  • มีประสิทธิภาพดี สามารถใช้เคลื่อนฟันได้หลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่การสบฟันที่ผิดปกติเล็กน้อย จนไปถึงความผิดปกติที่สลับซับซ้อนมากที่สุด
  • แข็งแรงทนทาน เครื่องมือแบบโลหะจะมีความแข็งแรงที่สุด ไม่แตก หัก ง่าย เครื่องมือที่ทำจากเซรามิกและพลาสติก เช่น เครื่องมือสีเหมือนฟัน จะแข็งแรงทนทานน้อยกว่า มักจะแตกหักเสียหาย ทำให้ต้องเปลี่ยนในระหว่างการรักษา
  • ราคาไม่แพง เครื่องมือโลหะ ถือเป็นเครื่องมือจัดฟันที่ราคาถูกที่สุด เมื่อเทียบกับเครื่องมือชนิดอื่น

ข้อเสีย

มองเห็นชัดเจนมากเกินไป คนไข้บางกลุ่มหรือบางอาชีพไม่ชอบ  ที่การมองเห็นเหล็กจัดฟันในปาก อาจดูไม่เหมาะ หรือเขินเนื่องจากอายุเยอะแล้ว ซึ่ง เครื่องมือแบบใส (Invisalign)  จะมีความเหมาะสมกว่า
เครื่องมือเป็นแบบติดแน่น ถอดเข้าออกไม่ได้ แปรงฟันยาก เสี่ยงต่อการเกิดหินปูนและโรคฟันผุ เวลาเคี้ยวต้องระวังอาหารแข็ง เพราะอาจทำให้เครื่องมือหลุดได้ ซึ่งอีกนัยนึงมันก็เป็นข้อดี การออกแรงดึงฟันจะสม่ำเสมอกว่าเครื่องมือจัดฟันแบบถอดออกได้ ดังนั้นประสิทธิภาพในการดึงฟันจึงดีกว่า

ทำความสะอาดยาก การจัดฟันแบบโลหะถอดเข้าออกไม่ได้ ดังนั้น การดูแลทำความสะอาดระหว่างจัดฟัน แปรงฟันก็จะยากขึ้นด้วย ซึ่งอาจทำให้ฟันผุ หรือในผู้ใหญ่ ก็เสี่ยงที่จะเป็นโรคเหงือก ซึ่งถือเป็นอุปสรรคสำคัญ สำหรับผู้ป่วยจัดฟันที่อายุมาก แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะจัดฟันแบบไหนฟันก็ผุได้ (ไม่จัดฟัน ฟันก็ผุได้) ดังนั้นน่าจะขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากมากกว่า ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าจัดฟันแบบไหน

FAQ : คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการจัดฟันโลหะ

เครื่องมือทั้ง 2 แบบ แตกต่างกันอย่างมาก เครื่องมือจัดฟันโลหะเป็นแบบติดแน่น ส่วน เครื่องมือจัดฟันแบบใส (invisalign) เป็นแบบถอดออกได้

เป็นเครื่องมือตัวเดียวกันครับ เพียงแต่ถูกเรียกต่างกัน เช่น  จัดฟันโลหะ จัดฟันเหล็ก การจัดฟันแบบรัดยาง หรือ จัดฟันยางสี เป็นต้น

การจัดฟันแบบโลหะถือว่าราคาถูกที่สุด ถ้าเปรียบเทียบราคาการจัดฟันแบบอื่นๆ ในความผิดปกติเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีประสิทธิภาพดีกว่าอีกด้วย

เชน คือ ยางดึงฟันที่มีลักษณะคล้ายๆโซ่ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ช่วยในการขยับฟัน (Power Chain) จัดฟันแบบเชน น่าจะหมายถึงใส่เชนระหว่างการจัดฟัน ซึ่งในบางขั้นตอนของการจัดฟันก็ต้องใส่เชนอยู่แล้วแต่ไม่ใช่ว่าจะใส่เชนได้ตลอด เพราะ อาจจะทำให้ฟันล้มได้

การจัดฟันเซรามิก จะมีลักษณะคล้ายๆกับการจัดฟันแบบโลหะ ต่างกันเพียงแค่วัสดุที่ใช้ทำตัวแบร็คเก็ต (Bracket) คือ การจัดฟันเซรามิกจะเลือกใช้แบร็คเก็ตที่ใช้เซรามิกเป็นวัสดุในการขึ้นรูปแบร็คเก็ต ส่วนวัสดุที่ใช้ทำแบร็คเก็ตแบบโลหะ จะทำด้วยสแตนเลส (Stainless Steel)

จัดฟันโลหะ กับจัดฟันดามอน ต่างกันที่ ลักษณะการออกแบบแบร็คเก็ต คือ เครื่องมือดามอนได้ออกแบบแบร็คเก็ตแบบมีบานเลื่อนเปิดได้ สำหรับใส่ลวด และปิดได้สำหรับล็อคลวดให้อยู้ในร่องของแบร็คเก็ตโดยไม่ต้องใช้ยางรัดลวดแบบโลหะซึ่งทางบริษัทดามอนเคลมว่าทำให้ไม่มีแรงเสียดทานเกิดขึ้นระหว่างเคลื่อนฟัน ซึ่งไม่จริง แรงเสียดทานอาจจะน้อยกว่าเครื่องมือแบบโลหะแต่ถ้าเรามีความรู้มากพอ เราก็สามารถควบคุมให้การจัดฟันแบบโลหะให้เกิดแรงเสียดทานเกิดขึ้นระหว่างจัดฟันน้อยได้เช่นกัน

ลวดจัดฟันมีหลายแบบ หลายชนิด ตามขนาด (เล็กมาก เล็ก ปานกลาง ใหญ่) รูปร่าง (สี่เหลี่ยม กลม) และวัสดุที่ใช้ผลิดลวด ( NiTi, Stainless Steel) ซึ่งแต่ละชนิดก็จะผลิตออกมาเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อใช้ในการจัดฟัน  เช่น

  • ลวดกลม ขนาดเล็ก ไนไท ก็ผลิตขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับการเรียงฟันในระยะเริ่มต้นที่ยังมีฟันเกอยู่มาก สามารถ เคลื่อนฟันได้เพียง 2 มิติ
  • ลวดสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดใหญ่ NiTi ก็ผลิตขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับการเคลื่อนฟัน ฟันในระยะกลางถึงปลาย สามารถ เคลื่อนฟันได้เพียง 3 มิติ  เป็นต้น

ราคาจัดฟันแบบโลหะ จะมีราคาถูกที่สุดในบรรด่เครื่องมือจัดฟันทั้งหมด แถมยังมีประสิทธิภาพในการเคลื่อนฟันได้ดีอีกด้วย

ราคาจัดฟันแบบโลหะ จะมีราคาถูกที่สุดในบรรดาเครื่องมือจัดฟันทั้งหมด แถมยังมีประสิทธิภาพในการเคลื่อนฟันได้ดีอีกด้วย

สามารถหารีวิวของโมเดิร์นสไมล์ ได้ที่ หน้า HOME

 

ทันตแพทย์ผู้ชำนาญการด้านการจัดฟันแบบโลหะ

ทพ.วิสิทธิ์ ชัยจินดารัตน์ (หน่อง)

ประวัติการศึกษา

ทันตแพทย์ศาสตร์ บัณฑิต ม.ขอนแก่น
ประกาศนียบัตรชั้นสูง สาขาทันตกรรมจัดฟัน มหาวิทยาลัย เทล อาวิฟ
เทคนิกการใช้ Mini Implant ในการจัดฟัน Dentaplex Company
การจัดฟัน แบบ Invisalign, Align Technology
MPPM NIDA
เจ้าของ Facebook Page : หมอวิสิทธิ์ สอนจัดฟัน ระบบ AVS in Orthodontics

เจ้าของ Orthodontic Course Online Teachable

ทันตแพทย์เฉพาะทางจัดฟัน | ท.8272

ทพญ.สุจิตรา ไชยสังข์ (อ้อ)

ประวัติการศึกษา

ทันตแพทย์ศาสตร์ บัณฑิต ม.สงขลา
ปริญญามหาบัณฑิต (สาขาทันตกรรมจัดฟัน) ม.ขอนแก่น

ทันตแพทย์เฉพาะทางจัดฟัน | ท.7639

ทพญ.ธวัลรัตน์ เตชะเจริญโรจน์(น้ำ)
ประวัติการศึกษา

ทันตแพทย์ศาสตร์ บัณฑิต ม.จุฬาลงกรณ์
ทันตแพทย์จัดฟัน Siam Orthodontic Center