การถอนฟัน

ถอนฟัน ถือเป็นทางเลือกสุดท้ายหลังจากทันตแพทย์พิจารณาหรือพยายามรักษาด้วยวิธีอื่นเพื่อเลี่ยงการถอนฟันแล้วแต่ไม่ได้ผล หรือเมื่อมีความจำเป็นต้อง ถอนฟัน ได้แก่ ฟันซ้อนที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดฟัน สำหรับผู้ที่จัดฟันบางราย หากมีฟันซ้อนกันมากเกินไปในช่องปากจนไม่มีที่ให้ฟันขยับตัว ทันตแพทย์จัดฟันจึงต้องถอนฟันบางซี่ออกไป เพื่อให้ฟันสามารถขยับเรียงตัวอย่างสวยงามได้

ถอนฟัน ทำไมต้องถอนฟัน

การมีสุขภาพช่องปากและฟันที่ดี ทำให้สามารถบดเคี้ยวอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีรอยยิ้มที่สวยงาม แต่ในบางครั้งอาจมีปัญหาสุขภาพฟันทำให้มีความจำเป็นต้องถอนฟัน การถอนฟันอาจสร้างความกังวลใจแก่ใครหลาย ๆ คนไม่น้อย ทั้งกลัวเข็มจากการฉีดยาชา กลัวเจ็บจากการถอนฟัน หรืออาจกลัวผลข้างเคียงของยาชา แต่การรักษาทางทันตกรรมบางอย่างก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการถอนฟันไปได้

การถอนฟัน เป็นสิ่งสุดท้ายที่จะเกิดขึ้นหากว่าฟันของท่านยังสามรถรักษาได้ด้วยวิธีอื่น ซึ่งโดยหลักแล้วทันตแพทย์จะทำการตรวจสอบวินิจฉัยก่อนว่า ฟันของท่านนั้นสามารถที่จะทำการรักษาได้หรือไม่ ซึ่งหากว่ายังพอจะรักษาได้ทันตแพทย์จะไม่แนะนำให้ถอนฟัน เพราะ ฟันแท้ตามธรรมชาติดีที่สุดสำหรับช่องปากของคุณ

แต่ถึงอย่างไรก็ตามการถอนฟันก็ยังคงเป็นวิธีการรักษาที่ดีที่สุดเช่นกันเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรค และเพื่อทำการกำจัดฟันซี่ที่เป็นต้นตอเพื่อทำการรักษาขั้นต่อไป เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อตัวคนไข้ โดยทันตแพทย์จะคำนึงในจุดนี้สำคัญมากๆ คือ จะรักษาอย่างไรให้ได้ผลดีและมีประสิทธิภาพที่สุดในการใช้งาน

การถอนฟันเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นกับตัวเอง เพราะหลาย ๆ คนกลัวการถอนฟัน เจ็บปวดและมีแผลในช่องปาก ภายหลังการถอนฟัน อีกทั้งทำให้เป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิตประจำวัน เรามาดูสาเหตุของการถอนฟันจะได้รู้วิธีป้องกันและหากต้องทำการรักษาจะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง เพื่อให้เข้าใจการถอนฟันมากยิ่งขึ้น

 

 

สาเหตุของการถอนฟัน

การถอนฟันถือเป็นทางเลือกสุดท้ายหลังจากที่พยายามรักษาด้วยวิธีอื่นเพื่อเลี่ยงการถอนฟันแล้วแต่ไม่ได้ผล หรือเมื่อมีความจำเป็นต้องถอนฟัน เพราะหากยังสามารถรักษาด้วยการรักษาวิธีอื่น ๆ ได้ ก็จะเลือกวิธีการรักษานั้นก่อน เพราะการถอนฟันคือการสูญเสียฟันธรรมชาติไปอย่างถาวร และอาจจะสร้างปัญหาให้ฟันซี่ข้างเคียงล้มเข้าหาช่องว่าง หากไม่ได้ใส่ฟันปลอม

สาเหตุที่ต้องถอนฟันเกิดขึ้นได้จากหลายอย่างได้แก่

1.ฟันผุเสียหายลามไปถึงโพรงฟัน
ฟันถูกทำลายไปถึงเนื้อฟันด้านใน และเข้าถึงโพรงประสาทฟันจะมีอาการปวดฟันอย่างรุนแรงได้ ไม่สามารถอุดฟันแบบธรรมดาหรือ รักษารากฟันได้ ได้ซึ่งหากปล่อยอาจจะกระจายไปถึงฟันซี่ข้างเคียง ปกติสามารถรักษาได้ด้วยการรักษารากฟัน หรือครอบฟันได้ เพื่อคงฟันซี่นั้นไว้ แต่สำหรับฟันที่เสียหายรุนแรงและสายเกินกว่าจะรักษาด้วยวิธีดังกล่าว การถอนฟันจึงกลายเป็นทางเลือกเดียวเพื่อป้องกันการลุกลามของการติดเชื้อ  สุดท้ายคือต้องถอนฟันและใส่ฟันปลอม

2.ถอนฟันร่วมกับการจัดฟัน

เพื่อให้เกิดช่องว่างในการจัดฟันหรือจัดเรียงตัวของฟันใหม่ ในกรณีผู้ที่กำลังจะจัดฟัน การถอนฟันลักษณะนี้ ทันตแพทย์จัดฟันจะเป็นผู้วางแผนการรักษว่าจะต้องถอนฟันซี่ไหนบ้าง จำนวนกี่ซี่ ซึ่งทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะฟันและรูปหน้า รอยยิ้มของผู้ที่จะจัดฟันแต่ละคน

3.ปัญหาโรคเหงือก

ผู้ที่ประสบปัญหาโรคเหงือกจะมีผลทำให้สูญสียฟันไปได้ เนื่องจากโรคเหงือกอักเสบจะมีอาการเหงือกบวมแดง ถ้าเป็นในระยะที่รุนแรงจะทำให้กระดูกรองรับฟันละลายและฟันโยกได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องจะทำให้ฟันหลุดหรือต้องถอนฟันได้

4.มีถุงน้ำหรือหนองที่ปลายรากฟัน

การมีถุงน้ำหรือหนองที่ปลายรากฟันเกิดจากมีเชื้อแบคทรีเรียลงไปที่โพรงประสาทฟันและไปถึงปลายรากฟันที่อยู่ลึกสุด ทำให้มีหนองที่ปลายรากฟันในกระดูกขากรรไกร จะมีอาการปวด บวม หากไม่รีบรักษาอาจจะทำให้ลุกลามไปฟันซี่อื่น และอาจจะทำลายกระดูกบริเวณปลายรากฟันได้

5.อุบัติเหตุ ฟันบิ่นหรือแตก, ร้าวในแนวดิ่งจนยากที่จะรักษาด้วยวิธีอื่นๆ

ทำให้มีความจำเป็นต้องถอนฟัน เช่น ฟันโดนกระแทกอย่างรุนแรง ฟันหักเนื้อฟันเหลือน้อยเกินไปไม่สามารถแก้ไขด้วยการอุดฟันหรือครอบฟันได้ ฟันร้าวไปถึงรากฟัน ซึ่งลักษณะฟันเหล่านี้จะต้องถูกถอนฟันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

6. ฟันคุดหรือฟันที่ไม่สามารถขึ้นมาในช่องปากตามปกติ

7. ฟันที่มีพยาธิสภาพ เช่น เกิดถุงน้ำหรือเนื้องอก

8. ฟันเกินที่ขึ้นมาในลักษณะที่ไม่เป็นระเบียบ

9. ฟันที่มีรูปร่างผิดปกติหรือฟันที่ขึ้นในตำแหน่งที่ผิดปกติที่ไม่ได้ใช้งาน

10.  มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

ภาวะภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอที่อาจเป็นผลจากการรับยาเคมีบำบัดหรือยากดภูมิคุ้มกันจะทำให้ฟันที่ผุอยู่แล้วมีโอกาสผุยิ่งขึ้น และยังอาจอักเสบติดเชื้อลุกลาม ก่อนการรักษาด้วยยาดังกล่าวแพทย์จึงต้องตรวจดูก่อนว่าผู้ป่วยมีฟันผุหรือไม่ หากมี จึงจำเป็นต้องถอนฟันซี่ที่ผุออกแทนการอุดฟันเหมือนคนปกติทั่วไป

11. ฟันเกที่ไปกระทบต่อเนื้อเยื่ออ่อนนุ่มข้างแก้ม 

12. ฟันที่อยู่ใกล้บริเวณที่ผิดปกติอย่างเนื้องอกหรือมะเร็ง

13. ฟันที่ประชิดกับแผลบางอย่าง หรือเป็นผลจากการต้องเข้ารักษาด้วยการฉายรังสีหรือต้องได้รับยาบิสฟอสโฟเนตผ่านเส้นเลือด

 

 

รูปแบบของการถอนฟันมีอะไรบ้าง ?

การถอนฟันแบบปกติ

การถอนฟันแบบปกติเป็นการถอนฟันที่ไม่มีความยุ่งยากอะไรมากมาย ซึ่งทันตแพทย์ทั่วไปสามารถที่จะทำการถอนฟันแบบปกตินี้ได้ทุกท่าน ทันตแพทย์จะใช้เครื่องมือ โยกฟันอย่างนุ่มนวล ให้หลุดออก โดยไม่ทำให้เส้นประสาทต้องเกิดปัญหาเพียงเท่านี้ก็เป็นการเสร็จสมบูรณ์ในการถอนฟันแบบปกติ

การผ่าตัดเพื่อถอนฟัน

การถอนฟันแบบนี้จะมีความซับซ้อนยุ่งยากมากๆกว่าการถอนฟันแบบปกติ ใช้ในกรณีที่ฟันแตกหักและฝังอยู่ในเหงือก หรือฟันที่มีปัญหาแต่ยังไม่เกิดการงอกขึ้นมาหรืองอกขึ้นมาเพียงนิดเดียวหรือส่วนหนึ่ง เช่น ฟันที่ขึ้นไม่ได้ หรือฟันกรามซี่สุดท้าย หรือ ที่เรียกว่า ฟันคุด ฟันฝัง

ซึ่งการถอนฟันแบบนี้ ไม่ควรรอให้เกิดอาการปวดบวมก่อน เพราะอาจทำให้การรักษายุ่งยากขึ้นไปอีกในรูปแบบนี้นั้นส่วนใหญ่จะต้องเป็นทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง หรือโดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นศัลยแพทย์ช่องปากและใบหน้าขากรรไกรจะเป็นผู้ที่ทำการถอนฟันโดยการผ่าตัด

ซึ่งการผ่าตัดนี้จะมีความยุ่งยากพอสมควร คือทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะต้องทำการกรีดเหงือกตรงบริเวณที่จะทำการถอนฟัน และทำการเกิดปากแผลที่กรีดไว้แล้วจึงนำฟันที่แตกหักฝังอยู่หรือฟันคุดออกโดยการถอนตามขั้นตอน แต่ในบางกรณีอาจจะยากกว่านั้นตรงที่ฟันฝังอยู่ภายในกระดูกขากรรไกรทันตแพทย์อาจำเป็นต้องเอากระดูขากรรไกรส่วนโดยรอบออกด้วย หรืออีกวิธีก็คือแบ่งฟันออกเป็นสองส่วนและจึงทำการเอาฟันออกมาทีละส่วนน

ผู้ป่วยจัดฟันบางคนที่มีฟันเกิน และเป็นอุปสรรค์ต่อการเคลื่อนฟัน หรือหากปล่อยทิ้งไว้ ก็อาจทำให้เกิดถุงน้ำหรือซีสต์ (Cyst) หุ้มรอบฟันเกิน ซีสต์นี้สามารถขยายตัวออก และเบียดทำลายกระดูกขากรรไกรโดยรอบ จนกระดูกหายไปเรื่อยๆ มักรู้ตัวเมื่อเห็นใบหน้าเอียง ปวด หรือกรามข้างหนึ่งใหญ่กว่าอีกข้าง

การเตรียมตัวก่อนถอนฟัน

เตรียมร่างกายให้พร้อมเช่น พักผ่อนหลับนอนให้เต็มที่
จิตใจพร้อมที่จะถอนฟัน หากท่านกลัวหรือเครียดมากควรบอกทันตแพทย์หากมีโรคประจำตัวควรแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบด้วย
รับประทานอาหารแต่พอประมาณ อย่าปล่อยให้หิวมากเกินไปเพราะอาจจะทำให้เป็นลมได้ง่ายในขณะถอนฟัน
ไม่ควรรับประทานอาหารมากเกินไปเพราะอาจเกิดปัญหาภายหลังถอนฟันได้ เช่น ทางเดินหายใจอุดตันจากการสำลักอาหารซึ่งเป็นปัญหาแทรกซ้อนได้

สิ่งที่ควรรู้ก่อนที่จะถอนฟัน

ต้องให้ประวัติสุขภาพ อย่างครบถ้วน หากมีโรคประจำตัว เช่น

  • ลิ้นหัวใจหรือต้องใช้ลิ้นหัวใจเทียม
  • เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
  • โรคระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  • เป็นโรคตับ
  • เคยผ่าตัดใส่ข้อเทียม เช่น ข้อต่อสะโพกเทียม
  • มีประวัติเยื่อบุหัวใจอักเสบจากการติดเชื้อ (Bacterial Endocarditis)
  • เบาหวาน
  • ความดันโลหิตสูง
  • โรคเลือด

แจ้งยาที่รับประทานเป็นประจำ เพราะการถอนฟันเป็นการรักษาทันตกรรมที่ต้องใช้ยาชาเฉพาะที่ อีกทั้งยังมีเลือดออกขณะและหลังถอนฟัน รวมถึงการทานยาแก้ปวดหรือยาปฎิชีวนะร่วมด้วย เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดและอักเสบหลังจากถอนฟัน  เพื่อให้ทันตแพทย์วางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

ผู้ที่มีประวัติโรคเลือดออกง่าย แต่หยุดยาก เพื่อเตรียมตัวและป้องกันอันตรายที่อาจจะขึ้นภายหลังการถอนฟัน

ภาวะแทรกซ้อนจากการถอนฟัน ซึ่งผลข้างเคียงระหว่างการถอนฟันที่พบได้บ่อยที่สุด คือ การที่เนื้อเยื่ออ่อนในช่องปากได้รับบาดเจ็บ อาจเกิดจาการทำที่ไม่ถูกต้อง รวมถึงการใช้เครื่องมือที่อันตรายและควบคุมลำบากทำให้เกิดแผลหรือรอยถลอกขึ้นได้

หากฟันกรามอยู่ในบริเวณที่ใกล้กับโพรงกระดูกข้างจมูกบริเวณโหนกแก้ม อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นไซนัสอักเสบได้

ถอนฟันกรามล่างซี่ในสุด ซึ่งอยู่ใกล้เส้นประสาทที่ใช้ควบคุมกล้ามเนื้อใบหน้า ก็อาจส่งผลให้หน้าเบี้ยวได้

ต้องใส่ฟันปลอม เพื่อทดแทนช่องว่างที่เกิดขึ้นจากการสูญเสียฟันดังกล่าวไป หากไม่ใส่ฟันปลอมจะเกิดช่องว่างบริเวณดังกล่าว ส่งผลให้ฟันที่อยู่ใกล้เคียงเอียงและล้มตัวลงได้

การถอนฟันกรามอาจส่งผลต่อการสบฟันและการบดเคี้ยวที่ไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากเมื่อฟันที่ถูกถอนหายไป ฟันคู่สบกันลงมาจะสบได้ไม่ดี ส่งผลให้เหงือกบริเวณนั้นเกิดแผลและการติดเชื้อในช่องปากตามมาได้ด้วย

การปล่อยช่องว่างจากการถอนฟันกรามไปนั้นจะทำให้เศษอาหารเข้าไปติดได้ง่ายขึ้น เกิดเป็นฟันผุและเป็นโรคเหงือก

ขั้นตอนการถอนฟัน

การถอนฟันถือว่าทำได้ง่ายกว่าเมื่อเทียบกับการผ่าหรือถอนฟันคุดซึ่งเป็นฟันที่ยังไม่โผล่พ้นเหงือกหรือขึ้นไม่ปกติ การถอนฟันไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยมีขั้นตอนการถอนฟันดังนี้

1.ตรวจวินิจฉัยลักษณะฟันและเนื้อเยื้อภายในช่องปาก

ในบางรายอาจจะต้องถ่าย X-ray ดูลักษณะฟันและรากฟันที่อยู่ภายในกระดูกขากรรไกร เพื่อวางแผนการรักษาอย่างละเอียดก่อนการถอนฟัน การเอ็กซ์เรย์จะทำให้เห็นถึงความยาว รูปร่างและตำแหน่งของฟันและกระดูกบริเวณรอบๆ ฟัน จากข้อมูลที่ได้ ทันตแพทย์จะสามารถประมาณระดับความยุ่งยากของกระบวนการการถอนฟัน และตัดสินใจว่าจะส่งตัวคุณไปหาผู้เชี่ยวชาญ หรือ ศัลยแพทย์ช่องปาก หรือไม่

2.ซักประวัติด้านสุขภาพเพื่อบันทึกข้อมูล เช่น ประวัติโรคประจำตัว, ประวัติการแพ้ยา, แพ้อาหาร หรือหากมียาที่ต้องใช้เป็นประจำ เป็นต้น

3.เริ่มใช้ยาชา สำหรับการถอนฟันตามปกติธรรมดา ทายาชาเฉพาะที่บริเวณที่จะฉีดยาชา เพื่อให้ตอนฉีดยารู้สึกน้อยที่สุด แต่หากเป็นการถอนฟันหลายซี่ก็อาจจำเป็นต้องใช้ยาสลบที่จะทำให้ร่างกายไม่มีความรู้สึกและหมดสติไปตลอดขั้นตอนการถอนฟัน

4.เริ่มการถอนฟัน  ทันตแพทย์จะใช้เครื่องมือที่เรียกว่าเครื่องแซะ ทำให้ฟันหลวมจากเหงือก จากนั้นถอนฟันออกมาด้วยคีมถอนฟันโดยค่อยๆโยกฟันทีละนิดอย่างนุ่มนวล จนฟันหลุดออกมา ปรับสภาพกระดูกที่อยู่ด้านล่างให้มีความเรียบเนียนขึ้น ทั้งนี้ในกรณีที่ฟันที่ถอนยาก ไม่สามารถเอาออกมาได้ในคราวเดียว อาจต้องถอนโดยแยกเป็นชิ้นส่วนหลายครั้ง ส่วนใหญ่ทำในฟันคุดหือฟันฝัง

5.หลังจากถอนฟันเสร็จ  ร่างกายจะสร้างลิ่มเลือดออกมาช่วยในกระบวนการรักษาโดยค่อย ๆ ปิดบาดแผลหรือรูฟันที่ถอน ทันตแพทย์จะอาจจะทำการปิดแผลด้วยการเย็บแผลเพื่อปิดขอบเหงือกเหนือแผลถอนฟันเอาไว้ และให้กัดผ้าก๊อชที่ผ่านการฆ่าเชื้อ ประมาณ 30-60 นาที เพื่อให้เลือดหยุดไหล

6. ให้คำแนะนำ  เกี่ยวกับข้อปฏิบัติและการดูแลแผลที่เกิดจากการถอนฟันรวมทั้งการดูแลทำความสะอาด

7.มาพบทันตแพทย์เพื่อตรวจเช็คแผล ประมาณ 5-7 วันหลังจากวันที่ถอนฟัน

คำแนะนำและวิธีดูแลรักษาหลังถอนฟัน

หลังจากการถอนฟันควรดูแลสุขภาพช่องปากและฟันให้ดี จะช่วยให้แผลหายเร็วขึ้นและไม่เสี่ยงต่อการติดเชื้อหลังถอนฟัน ข้อปฎิบัติหลังถอนฟันมีดังนี้

  • ควรกัดผ้าก๊อชที่สะอาด ปราศจากเชื้อ ที่ได้รับจากทันตแพทย์ กัดให้แน่นแต่ไม่รุนแรงเกินไปเพื่อให้เลือดหยุดไหล และให้เลือดบริเวณแผลแข็งตัวเป็นลิ่มเลือด โดยใช้เวลากัดประมาณ 30-60 นาที หรือตามที่ทันตแพทย์แนะนำ ในกรณีที่เลือดยังไม่หยุดไหลสามารถเปลี่ยนผ้าชิ้นใหม่ได้ แต่ถ้าเลือดหยุดแล้วไม่ต้องกัดผ้าก๊อชเพิ่ม ห้ามพูดคุยหรือรับโทรศัพท์ เพราะจะทำให้ผ้าก๊อซหลุดจากที่เดิมและเลือดออกไม่หยุด
  • รับประทานอาหารที่อ่อนนุ่มเคี้ยวง่ายหรือไม่ต้องเคี้ยว เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม แล้วค่อย ๆ รับประทานอาหารเป็นปกติขึ้นเรื่อย ๆ ในวันต่อไป ควรใช้ฟันข้างที่ไม่ได้ถูกถอนเคี้ยวแทนในวันแรก ๆ ไม่ควรรับประทานอาหารหรือ เครื่องดื่มร้อนหลังจากถอนภายใน 24 ชั่วโมง เพราะจะทำให้เลือดแข็งตัวช้า
  • ห้ามใช้ลิ้นดุนหรือดูดแผลเล่น เพราะอาจทำให้ลิ่มเลือดเคลื่อนที่ออกจากแผลถอนฟันจนเลือดไหลและจะทำให้เลือดไม่หยุดไหล
  • ห้ามบ้วนน้ำหลังจากถอนฟันไปแล้ว 2-5 ชั่วโมง
  • ประคบเย็น ที่แก้มตรงกับบริเวณที่ถอนฟัน เพื่อลดอาการเจ็บปวดและอาการบวม จะช่วยให้เลือดหยุดเร็วขึ้น ให้ประคบบ่อยๆจนกระทั่งเลือดหยุด
  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่ เพราจะทำให้แผลหายช้า
  • ไม่ควรใช้หลอดดูดน้ำเพราะจะทำให้ลิ้มเลือดหลุดออกมาได้
  • ควรนอนหมอนสูง เพื่อให้ศีรษะสูงกว่าลำตัว ป้องกันไม่ให้เลือดไหลจากแผล
  • อย่าทำกิจกรรมที่ต้องออกกำลังหลังการถอนฟันเป็นเวลาอย่างน้อย 24 ชั่วโมง เพื่อป้องกันไม่ให้เลือดไหลออกมาอีก
  • ห้ามกลั้วปากหรือบ้วนปากแรงภายใน 24 ชั่วโมงหลังถอนฟัน เพราะจะทำให้เลือดไม่หยุดไหล
  • กลั้วน้ำเกลือ หากมีอาการเจ็บปวดหลังจากถอนฟัน 1 วัน โดยผสมเกลือกับน้ำอุ่นในปริมาณ เกลือ 1 ช้อนชา และน้ำ240 มิลลิลิตร เพื่อลดอาการปวดและบวมได้ ระวังอย่ากลั้วแรงเกินไปจนทำให้ลิ่มเลือดปากแผลที่แข็งตัวแล้วหลุดออก ซึ่งจะส่งผลให้แผลหายช้า
  • รับประทานยาแก้ปวดตามที่ทันตแพทย์แนะนำ และใช้น้ำแข็งประคบประมาณ 15-30 นาที เพื่อลดอาการเจ็บปวดและอาการบวม
  • แปรงฟันได้ตามปกติ หลังจากเลือดหยุดแล้ว แต่หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีแผลถอนฟัน เพื่อป้องกันการติดเชื้อในช่องปาก
  • ถ้าคนไข้เป็นเด็กเล็ก หลังจากถอนฟันไปแล้ว ผู้ปกครองต้องระวังไม่ให้เด็กกัดริมฝีปากเล่น เนื่องจากเด็กจะรู้สึกบวมๆชาๆที่ริมฝีปาก เพราะยาชายังคงออกฤทธิ์อยู่ต่อไปอีกประมาณ 2-3 ชั่วโมงหลังการถอนฟัน
  • หากมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เป็นไข้ หนาวสั่น ไอ หายใจหอบ หรือเจ็บหน้าอก รวมถึงมีเลือดไหลไม่หยุด มีอาการเจ็บปวดหรือบวมรุนแรงอย่างต่อเนื่องเกินกว่า 4 ชั่วโมงหลังการถอนฟัน ควรไปพบแพทย์ทันที
  • ใส่ฟันปลอมเมื่อแผลหายดีแล้ว  เพื่อหลีกเลี่ยงฟัน จะล้มเอียงเข้าหาช่องว่าง และอาจเป็นสาเหตุของความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกรได้ ทันตแพทย์จึงอาจแนะนำให้ใส่วัสดุเสริมแทนฟันซี่ที่ถูกถอน ได้แก่ ฟันปลอม หรือสะพานฟัน เป็นต้น

ภาวะแทรกซ้อนจากการถอนฟัน

  • การได้รับบาดเจ็บของเนื้อเยื่ออ่อนในช่องปาก รวมถึงการใช้เครื่องมือที่อันตรายและควบคุมการใช้ลำบากจนเกิดอันตรายต่อคนไข้ เช่น เกิดรอยถลอกหรือแผลไหม้ด้านในปากจากเครื่องมือ
  • อันตรายต่อโครงสร้างกระดูก เช่น การแตกหักของเพดานเหงือก ไปจนถึงฟันกราม และฟันตัดล่าง  กรณีที่เกิดการแตกหักของกระดูก ทันตแพทย์จะนำกระดูกนั้นออกมาอย่างระมัดระวัง ทำให้กระดูกและเนื้อเยื่ออ่อนประสานกันจนแผลจากการถอนเริ่มปิดลงได้
  • การถอนฟันกรามซี่ที่อยู่ใกล้กับโพรงกระดูกข้างจมูกบริเวณโหนกแก้มนั้นอาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดไซนัสอักเสบและเกิดรูทะลุ
  • การถอนฟันกรามล่างซี่ในสุดซึ่งอยู่ใกล้เส้นประสาทควบคุมกล้ามเนื้อใบหน้าเองก็อาจส่งผลให้หน้าเบี้ยวได้

คำถามที่พบบ่อย

ถอนที่ไหนก้ได้ ที่มีทันตแพทย์ปริญญาประจำอยู่ แต่ถ้าเเป็นการถอนฟันที่ยาก เช่นฟันคุดหรือฟันฝัง ก็ควรจะหาทันตแพทย์เฉพาะทางศัลยกรรมช่องปาก หรือทันตแพทย์ที่มีที่มีความชำนาญและมีประสบการณ์มากๆ ก็น่าจะถอนฟันให้ได้เช่นกัน อย่างเช่นที่ โมเดิร์นสไมล์ เรามีทันตแพทย์เฉพาะทางศัลยกรรมช่องปาก ที่มีที่มีความชำนาญและมีประสบการณ์มากๆ ประจำอยู่ ทุกวันเสาร์ สามารถ ติดต่อเพื่อเข้ารับการปรีกษาฟรี ได้ที่ลิงค์ด้านล่าง

LINE  SRIRACHA

TEL  SRIRACHA

LINE  PATTAYA

TEL  PATTAYA

ราคาจะขึ้นอยู่กับ ความยากง่าย และความซับซ้อนในแต่ละเคส ดังนั้นควรจะมาปรึกษาและสอบถามราคาค่าใช้จ่าย แล้วค่อยไปตัดสินใจภายหลังได้ แต่เราไม่ควรใช้ราคาเป็นตัวตัดสินใจอย่างเดียง เราควรต้องคำนึงถึง ความชำนาญและประสบการณ์ของทันตแพทย์ เครื่องมือที่ใช้ ด้วย เพื่อประโยชน์สูงสุดของตัวท่านเอง สามารถโทรนัดได้ตาท ลิงค์ด้านล่าง

LINE  SRIRACHA

TEL  SRIRACHA

LINE  PATTAYA

TEL  PATTAYA

ในที่นี่น่าจะหมายถึง ฟันที่เรายังใช้อยู่แต่ถูกถอนออกไป ก็จะเกิดผลกระทบคือ ไม่มีไว้ใช้งาน

ถ้าเป็นฟันหลังก็จะเกี่ยวข้องกับการใช้เคี้ยวอาหาร ทำให้เคี้ยวอาหารไม่สะดวกเหมือนเดิม เคี้ยวอาหารไม่ละเอียด ก็จะส่งผลถึงระบบย่อยอาหารได้ เกิดท้องอืด ท้องเฟ้อได้

แต่ถ้าเป็นฟันหน้า ก็จะเกี่ยวข้องกับความสวยงาม ทำให้เราขาดความมั่นใจในตัวเอง ไม่กล้าพบปะผู้คน ทำให้เราเสียบุคคลกภาพ เสียโอกาสในการติดต่อสื่อสาร ทั้งในชีวิตส่วนตัว และชิวิตในการทำงาน

LINE  SRIRACHA

TEL  SRIRACHA

LINE  PATTAYA

TEL  PATTAYA

ถอนฟันทุกซี่ อันตรายทุกซี่ ถ้าเป็นการกระทำที่ไม่รอบครอบ เช่น ไม่มีการซักประวัติ หรือ  X-ray ฟันเป็นต้น ดังนั้น ถ้าทันตแพทย์ปฏิบัติตามหลักวิชาการแล้ว อันตรายที่จะเกิดชึ้นจากการถอนฟันก็จะน้อยลง หรือแทบไม่มีเลย แต่ทั่งนี้ทั้งนั้น ก็ขึ้นอยู่กับตัวคนไข้ด้วยว่าจะให้ความร่วมมือปฏิบัติตามคำแนะนำของทันตแพทย์ ทั้ง ก่อน และหลังการถอนฟันได้ดีแค่ไหน

ภายใน 24 ชม. แรก ควรจะทานอาหารที่มีลักษณะอ่อนนิ่ม หรืออาหารที่ไม่ต้องเคี้ยว เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม น้ำซุป ไม่ควรทานอาหารที่มีรสจัดทุกชนิด

โดยทั่วไป ก็จะมีเริ่มต้นด้วย อาการปวด อาจจะบวมได้ มีเลือดซึมประมาณ 1-2 ชม.แรก ถ้าปฏิบัติตามที่ทันตแพทย์แนะนำ อาการเหล่านี้จะไม่รุนแรงและจะค่อยๆเบาลงและหายได้ภายใน 3-7 วัน แต่ถ้าเกิดอาการที่รุนแนงมากขึ้น เช่นเลือดไม่หยุดไหล บวมมากขึ้น ปวดมากขึ้นทั้งที่ทานยาและปฏิบัติตามคำแนะนำทุกอย่างแล้ว ให้รีบกลับมาพบแพทย์ทันที

โดยส่วนใหญ่ อาการข้างเคียงต่างๆ จะคล้ายๆกับถอนฟันทั่วไป แต่จะมีอาการที่รุนแรงกว่า

ราคาจะแปรผันตามความยากง่ายของฟันที่คุดในแต่ละซี่ ดังนั้นแนะนำให้มาปรึกษากับทันตแพทย์ก่อนเพื่อประเมินค่ารักษา ยังไม่ต้องทำก็ได้ ถ้ายังไม่พร้อม แต่เราไม่ควรใช้ราคาเป็นตัวตัดสินใจอย่างเดียง เราควรต้องคำนึงถึง ความชำนาญและประสบการณ์ของทันตแพทย์ เครื่องมือที่ใช้ ด้วย เพื่อประโยชน์สูงสุดของตัวท่านเอง

สามารถโทรนัดได้ตาท ลิงค์ด้านล่าง

LINE  SRIRACHA

TEL  SRIRACHA

LINE  PATTAYA

TEL  PATTAYA

ดื่มได้ แต่ในปริมาณที่ไม่มากเกินไป เช่น วันละแก้ว และกาแฟต้องไม่ร้อนเกินไป อย่าใช้หลอดดูด เพราะจะทำให้เลือดไม่หยุดไหลได้

ให้เลือกทานอาหารอ่อนๆที่ไม่มีรสจัด และใช้ข้างที่ไม่ถูกถอนเคี้ยวอาหาร

ก็จะมีอาการเจ็บ ปวด บวม บ้างโดยเฉพาะในวันแรกๆ ให้ปฏิบัติตามที่แพทย์แนะนำหลังการถอนฟัน และไม่มีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ อาการเหล่านี้ก็จะหายได้ภายใน 3-5 วัน

การถอนฟันกรามบน ฟันกรามบนจะอยู่ใกล้กับไซนัส ข้างจมูก ดังนั้นภาวะแทรกซ้อนที่อาจ้กิดขึ้นได้ ก็คือ ไซนัสอักเสบ แต่เกิดขึ้นน้อยมาก

ถ้ารอจนปวด มันอาจจะสายเกินไป บางครั้งเชื้ออาจจะลุกลามไปบริเวณอื่นๆบนใบหน้า อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้เลย ดังนั้นเมื่อรู้ว่ามีฟันคุด ควรจะรีบมาปรึกษาแพทย์ ว่าควรถอนออกหรือไม่เพราะบางครั้งมันอาจจะขึ้นมาปกติและไม่ต้องถอนออกก็ได้

หน้าบวมจากฟันฟุมีการติดเชื้อ เนื่องจากปล่อยทิ้งไว้นานเกินไป
หน้าบวมจากฟันฟุมีการติดเชื้อ

 

เพื่อประโยชน์สูงสุดของตัวท่านเองสามารถโทรนัดได้ตาท ลิงค์ด้านล่าง

LINE  SRIRACHA

TEL  SRIRACHA

LINE  PATTAYA

TEL  PATTAYA

 

ทันตแพทย์ผู้ชำนาญการด้านการ ถอนฟัน

ทันตแพทย์เฉพาะทางศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล | ท.7118

ทพญ.พรทิพย์ ฟองเจริญ (มุก)
ประวัติการศึกษา

ทันตแพทย์ศาสตร์ บัณฑิต ม.เชียงใหม่
ประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาศัลยศาสตร์ช่องปาก ม.จุฬาลงกรณ์
ทันตแพทย์ประจำบ้าน สาขาศัลยศาสตร์ช่องปาก และ แม็กซิลโลเฟเชียล ม.จุฬาลงกรณ์

ทันตแพทย์เฉพาะทางศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล | ท.10302

ทพ.อานนท์ ท้าวประยูร(นนท์)
ประวัติการศึกษา

ทันตแพทย์ศาสตร์ บัณฑิต ม.ธรรมศาสตร์
วุฒิบัตร สาขาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล ทันตแพทยสภา
ประกาศนียบัตร สาขาทันตกรรมรากเทียมขั้นพื้นฐาน สมาคมทันตกรรมรากเทียมแห่งประเทศไทย

ทันตแพทย์เฉพาะทางรากเทียม | ท.5579

ทพ.รัฐพล จงกลรัตน์ (บอม)
ประวัติการศึกษา

ทันตแพทย์ศาสตร์ บัณฑิต ม.สงขลานครินทร์
ทันตกรรมรากเทียม ม.มหิดล

ทันตแพทย์ทั่วไป | ท.7828

ทพ.สุกิจ ศุภวรางกูล (กอล์ฟ)
ประวัติการศึกษา

ทันตแพทย์ศาสตร์ บัณฑิต ม.เชียงใหม่
ประกาศนียบัตรบัณฑิต ทันตกรรมทั่วไป ม.มหิดล