ปุ่มกระดูก หรือ กระดูกงอก ฟังแล้วก็คงจะงงว่ามันคืออะไร คนส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยมี ถ้าไม่มีปุ่มกระดูกดังกล่าวก็จะมีเพดานปากที่เรียบโค้งเป็นปกติ และเหงือกด้านล่างก็จะมีส่วนนูนเรียบ แต่บางคนก็จะมีเป็นก้อนอยู่ในช่องปากแต่ไม่รู้ว่ามันคือสิ่งผิดปกติ นึกว่ามันเป็นธรรรมชาติที่ทุกคนต้องมี แล้วก็ไม่คิดว่ามันจะเป็นปัญหาอะไร เพราะก็ไม่เคยรู้สึกว่ามันสร้างความรำคาญอะไรเลย ปุ่มกระดูกของแต่ละคนก็จะมีขนาดไม่เท่ากัน บางคนก็มีขนาดใหญ่ บางคนก็มีขนาดเล็ก ปุ่มกระดูกนี้ไม่ค่อยเป็นอันตราย ไม่กลายเป็นมะเร็งด้วยตัวเอง แต่อาจทำให้เกิดแผลได้ ถ้าเรากินอะไร หรือใช้เครื่องมือไปกระแทก เช่น แปรงสีฟันแข็ง อาหารแข็ง ฯลฯ ก็อาจทำให้เกิดแผลได้ง่าย นอกจากว่าถ้าปุ่มกระดูกนี้มันมาอยู่บริเวณด้านนอก ก็จะทำให้ไม่สวย ดูเหงือกหนาเป็นตะปุ่มตะป่ำน่าเกลียด แต่ก็ไม่เคยคิดว่ามันรักษาให้หายได้ เดี๋ยวเรามาหาคำตอบกันว่ามันคืออะไร มีผลเสียยังไง รักษาได้หรือไม่ และต้องเป็นมากแค่ไหน ถึงจำเป็นจะต้องรักษา
สารบัญ
- ปุ่มกระดูก คืออะไร
- ปุ่มกระดูกงอก เป็นอันตรายหรือไม่
- สามารถรักษาได้หรือไม่
- ปุ่มกระดูกเกิดขึ้นที่ไหนได้บ้าง
- ถ้ามีแล้วไม่รักษาได้หรือไม่
- เมื่อไหร่ถึงจำเป็นต้องรักษาปุ่มกระดูก
- การรักษาปุ่มกระดูกต้องนอนโรงพยาบาลหรือไม่
- สาเหตุที่ทำให้เกิดปุ่มกระดูก
- สรุป
ปุ่มกระดูก คืออะไร
ปุ่มกระดูก หรือ กระดูกงอก คือ ปุ่มกระดูกที่เกิดจากการหนาตัวผิดปกติอย่างช้าๆ ของผิวกระดูก (Intramembranous Bone Remodelling Process) โตขึ้นเรื่อยๆ และจะหยุดโตเมื่อโตถึงขนาดหนึ่ง แล้วแต่บุคคล อาจพบเป็นก้อนเดี่ยวๆ หรือหลายก้อนติดกัน เริ่มพบได้ในวัยหนุ่มสาวขึ้นไป มักสัมพันธ์กับการใช้แรงบดเคี้ยวมาก เช่นกลุ่มคนที่มีพฤติกรรมชอบเคี้ยวอาหารเหนียว แข็ง เป็นประจำทุกวัน หรือกลุ่มที่มีนิสัยชอบเค้นฟันเวลากลางวัน หรือนอนกัดฟันเวลากลางคืนเป็นประจำ นอกจากนี้ยังสามารถในกลุ่มคนที่เคยจัดฟันอีกด้วย
ลักษณะที่พบก็จะมีลักษณะโค้งนูนลงมาเป็นก้อนหรือเป็นปุ่ม ซึ่งอาจจะพบเป็นก้อนเดี่ยวๆ หรืออาจจะเป็นหลายๆก้อนรวมกันแบบเป็นพูก็ได้ คล้ายผิวมะกรูด มีความแข็ง (เพราะเป็นก้อนกระดูก) พื้นผิวของปุ่มดังกล่าวปกคลุมด้วยเหงือกสีชมพู มีลักษณะเช่นเดียวกับเหงือกบริเวณอื่นๆในช่องปากมีชื่อเรียกต่างกันไปตามตำแหน่งที่พบ เช่น
- ถ้าพบในบริเวณกึ่งกลางเพดานของขากรรไกรบนลักษณะของเพดานปาก เรียกว่า Torus palatinus
- ถ้าพบที่บริเวณด้านชิดลิ้นของขากรรไกรล่าง ซึ่งจะพบได้ทั้ง 2 ข้าง ทั้งซ้ายและขวา มักจะขึ้นแถวๆบริเวณฟันเขี้ยวไปจนถึงฟันกรามน้อยทั้งสองข้าง เรียกว่า Torus mandibularis
- ถ้าพบว่าอยู่บริเวณด้านนอกชิดแก้ม ส่วนใหญ่ที่พบจะมีผิวที่ขรุขระโดยรอบของกระดูกขากรรไกร เรียกว่า Exostosis
[row_inner_3] [col_inner_3 span__sm=”12″]
ปุ่มกระดูกงอก เป็นอันตรายหรือไม่
ปุ่มกระดูกงอกเหล่านี้ไม่ก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรง หากแต่ก่อความรำคาญ หรือเมื่อได้รับแรงกระแทกจากอาหารแข็งหรือจากแปรงสีฟัน ทำให้เกิดแผลสร้างความเจ็บปวดได้ ในกรณีที่มีหลายก้อนติดกันมีซอกให้เศษอาหารตกค้างได้ เกิดการบูดเน่า เป็นสาเหตุของการมีกลิ่นปากอย่างหนึ่งหรือทำให้เหงือกอักเสบได้ หรืออาจจะเกี่ยวข้องกับความสวยงาม ถ้าปุ่มกระดูกมาขึ้นบริเวณกระดูกด้านนอก ซึ่งจะเห็นเมื่อยิ้ม โดยเฉพาะพวกที่ยิ้มแล้วเห็นเหงือกเยอะ ก็จะเห็นเหงือกเป็นปุ่ม เหมือนผิวมะกรูด ซึ่งดูน่ากลัว ไม่สวยงาม บางคนเป็นมากถึงกับไม่กล้ายิ้ม หรือเข้าสังคมเลยกันที่เดียว
[row_inner_4] [col_inner_4 span__sm=”12″]
ถ้าเป็นแล้ว สามารถรักษาได้หรือไม่
ในด้านการรักษานั้น ถ้าปุ่มกระดูกเหล่านี้มีขนาดเล็กและไม่ก่อให้เกิดปัญหาอะไร ก็ไม่จำเป็นต้องทำการรักษา แต่ถ้าก่อให้เกิดปัญหาดังที่กล่าวมาแล้ว เช่น เป็นแผลบ่อย เป็นที่เก็บเศษอาหาร ไม่สวยเวลายิ้ม หรือกรณีที่ต้องการใส่ฟันปลอมชนิดถอดได้ แล้วตำแหน่งของโครงสร้างฐานฟันปลอมจะต้องวางพาดผ่านปุ่มกระดูกเหล่านี้ ซึ่งอาจทำให้เป็นแผลจากแรงกดทับของฟันปลอม ก็ควรพิจารณาผ่าตัดตกแต่งเอาปุ่มกระดูกนี้ออกก่อนที่จะทำฟันปลอมถอดออกได้ โดยเฉพาะฟันปลอมทั้งปากถอดออกได้แบบดั้งเดิม
[row_inner_5] [col_inner_5 span__sm=”12″]
ปุ่มกระดูกเกิดขึ้นที่ไหนได้บ้าง
เราสามารถเจอได้ทุกที่ที่เป็นกระดูกรอบๆรากฟัน ที่เป็นทำหน้าที่เป็นตัวรับแรงบดเคี้ยวที่ส่งต่อมาจากฟัน ที่พบบ่อยมีดังนี้
- เพดานของขากรรไกรบน (Torus palatinus) ลักษณะของเพดานปากที่นูนลงมาเป็นก้อน คล้ายลูกอม หรือ เป็นปุ่มๆ คล้ายๆผิวมะกรูด มีความแข็ง พื้นผิวของปุ่มดังกล่าวปกคลุมด้วยเหงือกสีชมพู ที่มีลักษณะเช่นเดียวกับเหงือกบริเวณอื่นๆ ในช่องปาก มีขนาดและรูปร่างแตกต่างกันในแต่ละคน และอาจมีขนาดใหญ่ขึ้นเมื่อมีอายุมากขึ้น หรือมีสิ่งกระตุ้นอย่างอื่น เช่น พฤติกรรมการเคี้ยว การกัดเค้นฟัน การนอนกัดฟัน การจัดฟัน เป็นต้น
- กระดูกด้านในของขากรรไกรล่าง (Torus mandibularis) เป็นปุ่มกระดูกออกมาทางด้านในลิ้น ออกมาทั้ง 2 ข้าง ซ้าย ขวา จะมีลักษณะคล้ายๆปุ่มประดูกที่เพดาน คือ อาจจะเป็นก้อนใหญ่ 1-2 ก้อนต่อข้าง หรือ อาจจะเป็นปุ่มๆ คล้ายๆผิวมะกรูด มีความแข็ง พื้นผิวของปุ่มดังกล่าวปกคลุมด้วยเหงือกสีชมพู ที่มีลักษณะเช่นเดียวกับเหงือกบริเวณอื่นๆ ในช่องปาก มีขนาดและรูปร่างแตกต่างกันในแต่ละคน และอาจมีขนาดใหญ่ขึ้นเมื่อมีอายุมากขึ้น หรือมีสิ่งกระตุ้นอย่างอื่น เช่น พฤติกรรมการเคี้ยว การกัดเค้นฟัน การนอนกัดฟัน การจัดฟัน เป็นต้น
- ด้านนอก (ชิดแก้ม) ของกระดูกขากรรไกรทั้งบนและล่าง (Exostosis) เป็นปุ่มกระดูกออกมาทางด้านแก้ม ออกมาโดยรอบ โดยส่วนใหญ่จะมีลักษณะอาจจะเป็นปุ่มๆ คล้ายๆผิวมะกรูดขึ้นโดยรอบ มีความแข็ง พื้นผิวของปุ่มดังกล่าวปกคลุมด้วยเหงือกสีชมพู ที่มีลักษณะเช่นเดียวกับเหงือกบริเวณอื่นๆ ในช่องปาก มีขนาดและรูปร่างแตกต่างกันในแต่ละคน และอาจมีขนาดใหญ่ขึ้นเมื่อมีอายุมากขึ้น หรือมีสิ่งกระตุ้นอย่างอื่น เช่น พฤติกรรมการเคี้ยว การกัดเค้นฟัน การนอนกัดฟัน การจัดฟัน เป็นต้น
[row_inner_6] [col_inner_6 span__sm=”12″]
ถ้ามีแล้วไม่รักษาได้หรือไม่
ได้..ถ้าปุ่มกระดูกหากมีขนาดเล็ก และไม่มีผลกระทบกับการใช้งานในชีวิตประจำวัน เช่น พูอได้ปกติ ชัดเจน ไม่รู้สึกว่าทำให้เคี่ยวอาหารยากขึ้น หรืออื่นๆที่มีผลต่อการทำงานของอวัยวะในช่องปากก็อาจจะไม่จำเป็นต้องรักษา แต่ถ้าหากปุ่มกระดูกมีขนาดใหญ่ก็อาจจะต้องผ่าตัดออก โดยสังเกตได้จากอาการเหล่านี้ได้ เช่น
- การใช้งานในชีวิตประจำวัน อาจจะทำให้การวางของลิ้นไม่เหมือนเดิม ดังนั้น การพูด การกลืน การหายใจ ทำได้ลำบากมากขึ้น
- มีเศษอาหารติดบริเวณร่อง ซอก ของปุ่มกระดูกเป็นประจำทำความสะอาดยากมาก โดยเฉพาะกระดูกงอกที่มีรูปร่างแบบเป็นพู หรือหลายก้อน ทำให้มีเศษอาหารเข้าไปติดบริเวณกระดูกงอกได้ง่าย จนส่งผลให้เกิดแบคทีเรียในช่องปาก มีกลิ่นปาก ต้องคอยแคะอยู่ตลอด ทำให้มีกลิ่นเหม็นจากเศษอาหารที่ตกค้าง หรืออาจจะทำให้ฟันผุได้ง่ายขึ้นอีกด้วย
- ทำให้เกิดแผลอักเสบ เจ็บ ในช่องปากเป็นประจำ เนื่องจากเกิดการกระทบกระแทกกับสิ่งต่างๆ เช่น แปรงสีฟัน อาหารบางประเภท เช่น กระดูก น้ำแข็ง เป็นต้น และเมื่อเป็นแผลในบริเวณนี้ก็จะเจ็บมาก และหายช้า ทานอาหารได้ลำบาก และอาจจะมีผลข้างเคียงได้ เช่น ขาดสารอาหาร
- ขัดขวางการใส่ฟันปลอมชนิดถอดได้ เพราะ โครงฐานฟันปลอมต้องพาดผ่านตรงส่วนที่มีกระดูกงอกนี้ จึงต้องผ่านตัดออก เพราะ ถ้าหากว่าไม่ผ่าตัดออกแล้วใส่ฟันปลอมทับกระดูกงอกไปเลย จะส่งผลให้เกิดการกดทับและทำให้เกิดแผลเรื้อรังได้
- กังวลว่าปุ่มกระดูกป็นเนื้องอกชนิดร้ายแรง (มะเร็ง) ในช่องปาก ซึ่งจริงๆแล้วมันเป็นเพียงเนื้องอกธรรมดา ไม่อันตราย โดยปุ่มกระดูกบริเวณเพดานปากจะมีลักษณะที่แตกต่างจากเนื้องอกชนิดร้ายแรง อย่างไรก็ดี หากสังเกตพบว่ามีปุ่มนูนหรือลักษณะผิดปกติในช่องปากใดๆ ควรรีบเข้ามารับมาปรึกษาทันตแพทย์
อาการต่างๆที่กล่าวมาข้างบน เนื้องอกปุ่มกระดูกนี้จะค่อยๆ โตขึ้นอย่างช้าๆ ทำให้เราไม่รู้สึกหรือสังเกตถึงความผิดปกติได้ยาก อาจจะไม่ส่งผลอันตรายใดๆ แค่ก็อาจจะส่งผลข้างเคียงได้ เพราะกล้ามเนื้อในช่องปากก็จะค่อยๆปรับตัวตามไปด้วย โดยส่วนใหญ่จะมารู้อีกทีเมื่อมาทำฟัน เช่น ใส่ฟันปลอม หรือจัดฟัน แล้วทันตแพทย์ก็จะแจ้งให้ทราบว่ามีปุ่มกระดูกอยู่ในช่องปาก และจำเป็นต้องผ่าตัดเอากระดูกงอกนี้ออกหรือไม่
[row_inner_7] [col_inner_7 span__sm=”12″]
เมื่อไหร่ถึงจำเป็นต้องรักษาปุ่มกระดูก
ถ้ามีปุ่มกระดูกนี้ก็ ไม่ต้องกังวลหรอกคะ ถ้ามันไม่มีขนาดใหญ่จนรบกวนการดำเนินชีวิตที่ปกติของเรา ก็ดูแลเขาดีๆ และก็ระวังสุขภาพช่องปากให้ดีด้วย แต่เราจำเป็นต้องรักษาปุ่มกระดูกนี้ก็ต่อเมื่อ
- ผู้ป่วยต้องการกำจัดปุ่มกระดูกดังกล่าว
- ส่งต่อการรักษาเพื่อกำจัดปุ่มกระดูกก่อนการทำฟันปลอมแบบถอดได้ โดยทันตแพทย์ใส่ฟันปลอม
[row_inner_8] [col_inner_8 span__sm=”12″]
การรักษาปุ่มกระดูกต้องนอนโรงพยาบาลหรือไม่
ผู้ป่วยสามารถรับการรักษาผ่าตัดปุ่มกระดูกเป็นการผ่าตัดเล็กภายใต้ยาชาเฉพาะที่ แต่ผู้ป่วยสามารถขอรับการผ่าตัดปุ่มกระดูกภายใต้ยาสลบได้ ทั้งนี้ แนะนำให้ปรึกษากับทันตแพทย์ผู้รับผิดชอบก่อน เพื่อจะได้วางแผนการรักษา อธิบายขั้นตอนต่างๆ และอธิบายถึงผลดี ผลเสีย และผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นให้เข้าใจก่อนรับการรักษาต่อไป
[row_inner_9] [col_inner_9 span__sm=”12″]
สาเหตุที่ทำให้เกิดปุ่มกระดูก
ปุ่มกระดูก หรือกระดูกงอกนี้มักไม่พบเจอในเด็ก แต่จะเห็นเด่นชัดในช่วงวัยรุ่นขึ้นไป โดยทั่วไป จากการศึกษาพบว่า ปุ่มกระดูกในช่องปาก จะโตขึ้นตามช่วงอายุ คือจะโตขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น และยังทราบอีกด้วยว่าคนทั่วไปนั่น จะมีกระดูงอกในช่องปากโป่งนูนได้ประมาณ 10-20% โดยทั้งเพศชายและหญิง เท่าๆกัน
โดยปกติ กระดูกรอบๆรากฟันและเพดานปากจะมีการเจริญเติบโตเปลี่ยนแปลงโดยการร่างกายจะกำจัดกระดูกเก่าออกและสร้างกระดูกใหม่มาแทนที่อยู่ตลอดเวลาที่เรียกว่า รีโมเดลลิ่ง (Remodelling Process) ซึ่งขบวนการนี้จะเกิดขึ้นตลอดชีวิต แต่สำหรับบางคนขบวนการดังกล่าวนี้ ในขั้นตอนการสร้างกระดูกใหม่มาแทนที่นั้นอาจจะไม่สมดุลย์กับการเอากระดูกเก่าออกไป คือมีการดูกใหม่มาแทนที่มากกว่า จึงทำให้เกิดการหนาตัวของผิวกระดูกรอบๆรากฟันและเพดานปาก โดยค่อยๆโตของผิวกระดูกอย่างช้าๆ ค่อยๆเป็นค่อยๆไป ไม่มีอาการ หรือความรู้สึกบ่งบอกใด จึงทำให้ไม่ค่อยมีใครทราบถึงความผิดปกติของผิวกระดูกนี้
โดยมีปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความไม่สมดุลย์ของการรีโมเดลลิ่ง ทำให้เห็นเป็นกระดูกงอกในช่องปากก็คือ
การใช้งานหนักของช่องปาก กล่าวคือ ขากรรไกรบนและล่าง จะสัมพันธ์กับการบดเคี้ยวอาหาร ในการศึกษาได้พบว่า บุคคลที่บดเคี้ยวอาหารอย่างรุนแรง หรือหนักเกินไป จะทำให้ฟันด้านบดเคี้ยวสั้นลง และเกิดเป็นสันกระดูกหนางอกออกมาอย่างเห็นได้ชัด
ด้านพฤติกรรมส่วนบุคคล เช่น คนที่นอนกัดฟัน คนที่ชอบเค้นฟันในเวลากลางวัน คนที่ชอบเคี้ยวตลอดเวลา เช่น ขอบเคี้ยวปลาหมึก หมากฝรั่ง เป็นต้น เพราะเป็นการใช้ฟันกรามในการบดกัดอย่างหนัก ทำให้เกิดความไม่สมดุลย์ของการรีโมเดลลิ่งของกระดูกขากรรไกร ก็จะมีกระดูกงอกในช่องปาก ด้านข้างขากรรไกรได้
กรรมพันธุ์ ถ้าคนในครอบครัวมีกระดูกงอกออกมา แนวโน้มเราก็จะมีด้วย กล่าวคือความไม่สมดุลย์ของการรีโมเดลลิ่งของกระดูกขากรรไกร อาจจะมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
การจัดฟัน ขบวนการการจัดฟันจะมีการกระตุ้นให้เกิดการรีโมเดลลิ่งของกระดูกขากรรไกรในระหว่างการเคลื่อนฟัน ดังนั้นถ้าคนไข้ที่จัดฟันอยู่มีปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดกระดูกงอกอยู่แล้ว เช่น มีกรรมพันธ์มาอยู่แล้ว การจัดฟันก็อาจจะทำให้เกิดปุ่มกระดูกงอกได้ง่ายขึ้นหรืออาจจะรุนแรงขึ้นได้
[row_inner_10] [col_inner_10 span__sm=”12″]
สรุป
จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ จะเห็นได้ว่า ปุ่มกระดูกเป็นเพียงเนื้อกระดูกที่งอกออกมา เกิดจากความไม่สมดุลย์ของขบวนการเจริญเติบโตและซ่อมแซมของร่างกายโดยการรีโมเดลลิ่งเท่านั้น ไม่ใช่เป็นเนื้องอกทีมีอันตรายแต่อย่างไร ส่วนใหญ่จะสร้างความรำคาญแก่เจ้าของดังที่ได้กล่าวมาแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม บางครั้งถ้ามีก้อนใหญ่มากๆ ปุ่มกระดูกงอกออกมาในบริเวณที่เห็นได้ชัดขณะยิ้ม เช่น บริเวณเหงือกบนด้านหน้า หรือ มีความจำเป็นต้องใส่ฟันปลอม ก็จะต้องผ่าออกเพื่อสุขภาพช่องปากที่ดีและความสวยงามต่อไป
[/col_inner_10] [/row_inner_10] [row_inner_10] [col_inner_10 span__sm=”12″]ทันตแพทย์เฉพาะทางศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล
ทพญ.พรทิพย์ ฟองเจริญ (มุก) | ท.7118
ประวัติการศึกษา
- ทันตแพทย์ศาสตร์ บัณฑิต ม.เชียงใหม่
- ประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาศัลยศาสตร์ช่องปาก ม.จุฬาลงกรณ์
- ทันตแพทย์ประจำบ้าน สาขาศัลยศาสตร์ช่องปาก และ แม็กซิลโลเฟเชียล ม.จุฬาลงกรณ์
ทพ.อานนท์ ท้าวประยูร(นนท์) | ท.10302
ประวัติการศึกษา
- ทันตแพทย์ศาสตร์ บัณฑิต ม.ธรรมศาสตร์
- วุฒิบัตร สาขาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล ทันตแพทยสภา
- ประกาศนียบัตร สาขาทันตกรรมรากเทียมขั้นพื้นฐาน สมาคมทันตกรรมรากเทียมแห่งประเทศไทย