ฟันคุด ฟันฝัง
สารบัญ
- ฟันคุดคืออะไร (Impacted or Wisdom tooth)
- จะทราบได้อย่างไรว่ามีฟันคุด
- สาเหตุที่เกิดฟันคุด
- วิธีป้องกันอันตรายจากฟันคุด
- ทำไมถึงต้องผ่าฟันคุด ไม่ผ่าฟันคุดออกได้ไหม
- ข้อห้ามในการผ่าฟันคุด ?
- ขั้นตอนการผ่าฟันคุดมีอะไรบ้าง
- หลังผ่าตัดฟันคุดจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง
- อาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นภายหลังผ่าตัดฟันคุด
- FAQ : คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับฟันคุด (Impacted Tooth) ฟันฝัง (Embedded Tooth)
ฟันคุด คืออะไร (Impacted or Wisdom tooth)
ฟันคุด (Impacted or Wisdom tooth) คือฟันที่ไม่สามารถขึ้นได้ตามปกติในช่องปาก อาจจะโผล่ขึ้นมาได้เพียงบางส่วน หรือฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกรทั้งซี่ก็ได้ ส่วนใหญ่เกิดจากไม่มีที่เพียงพอ (Lack of Spaces) แนวทางการขึ้นของฟัน (Eruption Path) หรือมีสิ่งที่ขัดขวางการขึ้นของฟันซี่นั้น สิ่งขัดขวางการขึ้นของฟัน เช่น เหงือกที่หนา กระดูก ฟันบางซี่ หรือ ทิศทางการขึ้นของปันที่ผิดปกติ
ฟันซี่ที่พบว่าเป็นฟันคุดบ่อยที่สุด คือ ฟันกรามล่างซี่สุดท้าย ซึ่งอยู่ด้านในสุดของกระดูกขากรรไกรล่าง ส่วนใหญ่เกิดจากขนาดของขากรรไกรไม่สัมพันธ์กับขนาดของฟัน ถึงแม้ว่า อาจพบฟันซี่อื่นคุดหือฝังได้บ้างก็ตาม
ความคุดสามารถแบ่งได้ 3 ระดับ
- ฟันคุดที่ฝังตัวอยู่ในกระดูก (Fully Impacted Tooth) ไม่ได้โผล่พ้นขึ้นมาเหนือเหงือก ไม่สามารถมองเห็น ต้องใช้การเอกซเรย์จึงจะห็นได้ และอาจจะไม่มีอาการใดๆเลย บางครั้งอาจจะปวดได้เมื่ออายุมากขึ้น บางคนมาปวดฟันคุดเมื่ออายุ 50 ก็มี ซึ่งสามารถ แบ่งออกได้ เป็น 2 ระดับ คือ ฟันคุดแบบเหงือกคลุมทั้งซี่ (Soft Tissue Impacted Tooth) และ ฟันคุดแบบกระดูกคลุมทั้งซี่ (Bony Impacted Tooth)
- ฟันคุดที่โผล่ขึ้นมาเหนือเหงือกบางส่วน (Partially Impacted Tooth) อาจโผล่ขึ้นอยู่ในลักษณะตั้งตรง เอียง หรือนอนในแนวระนาบ และมักจะอยู่ชิดกับฟันข้างเคียงเสมอ จะขึ้นในลักษณะเอียงหรือเฉ และอาจทำให้เกิดฟันซ้อนได้ ฟันคุดที่ขึ้นแบบนี้ควรจะต้องผ่าออก เพราะอาจก่อให้เกิดปัญหาในช่องปากได้ในอนาคตได้ เช่น ติดเชื้อที่เหงือกบริเวณฟันคุด หรือเกิดการปวดฟัน ดังนั้นควรไปตรวจฟันคุดก่อนอายุ 20 ปีเพื่อให้รู้ว่าฟันคุดของคุณจะขึ้นมาอย่างไร จะขึ้นมาเบียดกับฟันกรามที่อยู่ข้างหน้าหรือไม่ หรือในกรณีที่ฟันขึ้นมาไม่สุด ทันตแพทย์จะทำการเอกซ์เรย์เพื่อดูว่าฟันคุดขึ้นมาโดยมีลักษณะเอียง (Mesioangular Impacted Tooth), ตั้งตรง (Vertical Impacted Tooth) หรือ เอนไปทางด้านหลัง (Distal Impacted Tooth) และหากจำเป็น ทันตแพทย์หรือศัลยแพทย์ช่องปากแนะนำให้ถอนฟันคุดดังกล่าวออก
-
ฟันคุดที่โผล่ขึ้นมาทั้งซี่เหมือนฟันซึ่อื่นๆ
จริงๆถ้าขึ้นได้มาเต็มที่เหมือนฟันปกติทั่วไป ก็อาจจะไม่ต้องถอนออกก็ได้ ถ้าสามารถดูแลความสะอาดได้ถึง
นอกจากนี้ฟันซี่อื่น ๆ ก็อาจจะคุดได้ เช่น ฟันเขี้ยว ซึ่งอาจจะแทงทะลุเพดานปากออกมา หรือนอนใต้รากฟันข้างเคียง หรือฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกรไม่โผล่เลยก็ได้ เรียก ฟันฝัง (Embedded tooth)โดยปกติแล้วฟันเขี้ยวซึ่งจะขึ้นประมาณ 11-13 ปี ฟันกรามน้อยแต่พบได้น้อยกว่าฟันกรามล่างซี่สุดท้ายและเขี้ยว
จะทราบได้อย่างไรว่ามีฟันคุด
โดยทั่วไปเมื่อฟันในช่องปากขึ้นมาไม่ครบ สังเกตได้จากการที่มีฟันห่างบางจุด (Spacing) หรือไม่เห็นฟันกรามซี่ที่สามขึ้น ให้สงสัยไว้ก่อนเลยว่าน่าจะมีฟันคุด เพื่อให้แน่ใจก็ควรพบทันตแพทย์เพื่อจะเอกซเรย์ดูเพื่อให้แน่ใจว่า ฟันมันหายไปเลย (Missing Tooth) หรือมันฝังอยู่ใต้เหงือกกันแน่ (Embedded Tooth) และ
ถ้ามันฝังอยู่จะได้รู้ตำแหน่งว่ามันฝังอยู่ตรงไหน หรือ ลักษณะการฝังของฟันเป็นอย่างไร การเอกซเรย์ฟิล์มแบบพานอรามิก (Panoramic X-ray) จะดีที่สุดเพราะเราจะเห็นฟันทั้งหมดในการเอ็กซ์เรย์ในคราวเดียวทั้งขากรรไกรเลยทั้งขากรรไกรทั้งบนและล่าง รวมถึงพยาธิสภาพที่เกิดขึ้นในกระดูกขากรรไกร
สาเหตุที่เกิด ฟันคุด
สาเหตุของฟันคุดยังไม่มีการศึกษาถึงสาเหตุที่แน่นอน แต่ถ้าใช้ทฤษฏีเรื่องการใช้และไม่ใช้ ของดาร์วิน เนื่องมนุษย์ในปัจจุบันมีการเคี้ยวอาหารที่อ่อน ชิ้นเล็ก มีการต้มทำให้อาหารอ่อนนุ่มขึ้น การใช้งานของขากรรไกรจึงออกแรงน้อยลง ใช้งานน้อยลง ธรรมชาติจึงมีการปรับตัวโดยการลดขนาดของขากรรไกรลง
แต่ขณะเดียวกัน ขนาดและจำนวนฟันไม่ลดลงตามด้วย จึงทำให้เกิดขนาดของขากรรไกรไม่สัมพันธ์กับขนาดและจำนวนของฟัน เช่น ถ้าขนาดของขากรรไกรเล็ก แต่ขนาดของฟันโต ฟันจึงไม่สามารถขึ้นมาในช่องปากได้ ทำให้เกิดเป็นฟันคุด ดังนั้น ไม่จำเป็นว่าทุกคนจะต้องมีฟันคุด
[row_inner_3] [col_inner_3 span__sm=”12″]
วิธีป้องกันอันตรายจาก ฟันคุด
พบทันตแพทย์เพื่อตรวจและเอกซเรย์ฟันพาโนรามิก (Panoramic X-ray) ก็จะทราบว่ามีฟันคุดฝังอยู่หรือไม่ ให้ผ่าฟันคุดออกก่อนที่จะมีอาการปวดบวม หรือทำให้ฟันข้างเคียงมีปัญหา การผ่าตัดในช่วงที่อายุยังน้อย (18 – 25 ปี) สามารถทำได้ง่าย แผลหายเร็วและผลแทรกซ้อนน้อย เพราะฉะนั้นมีฟันคุดแล้วให้รีบผ่าตัดออกเสียจะได้ไม่เกิดผลเสียในภายหลัง
[/col_inner_3] [/row_inner_3] [row_inner_3] [col_inner_3 span__sm=”12″]ทำไมถึงต้องผ่าฟันคุด ไม่ผ่าฟันคุดออกได้ไหม
การผ่าตัดฟันคุดมีเหตุผลหลายอย่าง ได้แก่
1. เพื่อป้องกันการอักเสบของเหงือกที่ปกคลุมฟัน (Pericoronitis) เพราะบริเวณที่มีฟันคุดมักจะเป็นที่กักเศษอาหาร ทำความสะอาดลำบาก แปรงฟันไม่ถึงยังส่งผลให้
- ฟันข้างเคียงที่ถูกชนผุได้ แทนที่จะถอนฟันคุดซี่เดียว ก็ต้องถอนฟันที่อยู่ข้างเคียงด้วยเนื่องจากฟันที่ถูกชนผุไปด้วย
-
มีอาการปวดฟันอย่างรุนแรง
เพราะตัวฟันคุดเองมีแรงผลักเพื่อจะงอกขึ้นมาในขากรรไกร แต่ถูกขวางไว้โดยฟันข้างเคียง ทำให้มีแรงย้อนกลับไปกดที่เส้นประสาทของขากรรไกร อาการปวดมาก บางครั้ง อาการปวดแบบส่งต่อหลังจากตำแหน่งฟันคุดไปยังบริเวณอื่นของใบหน้า (Referred Pain) เช่น ปวดหน้าหู ปวดตา ปวดศีรษะ เป็นต้น - มีการอักเสบรุนแรง เหงือกอักเสบ บวม กลิ่นปากเหม็น แก้มบวม อ้าปากไม่ขึ้น
- มีการละลายตัวของขากรรไกรที่ถูกชน แรงดันจากฟันคุดที่พยายามดันขึ้นมา จะทำให้กระดูกรอบรากฟัน หรือรากฟันข้างเคียงถูกทำลายไป จะทำให้กระดูกขากรรไกรบริเวณนั้นบางกว่าตำแหน่งอื่น เมื่อได้รับอุบัติเหตุ หรือกระทบกระแทก กระดูกขากรรไกรบริเวณนั้นก็จะหักได้ง่าย
-
กลายเป็นถุงน้ำ หรือเนื้องอก
ฟันคุดที่ทิ้งไว้นานไปเนื้อเยื่อที่หุ้มรอบฟันคุด อาจจะขยายใหญ่ขึ้นกลายเป็นถุงน้ำ แล้วโตขึ้นโดยไม่แสดงอาการเลย จนในที่สุดเกิดการทำลายฟันซี่ข้างเคียง และกระดูกรอบ ๆ บริเวณนั้น หากไม่เคยมาหาหมอฟันมักจะรู้ตัวอีกทีเมื่อเห็นใบหน้าเอียงหรือขากรรไกรข้างหนึ่งใหญ่กว่าอีกข้าง ซึ่งถ้าพบต้องรีบผ่าตัดออกได้เร็วเพื่อลดโอกาสการสูญเสียอวัยวะขากรรไกร และเพื่อรักษารูปหน้าให้เหมือนเดิม แต่ถ้าถุงน้ำหรือเนื้องอกมีขนาดใหญ่มากๆ ก็อาจต้องตัดขากรรไกรบางส่วนออก การรักษารูปใบหน้าให้เหมือนเดิมก็ทำได้ยากขึ้น - การอักเสบจะลุกลามไปใต้คาง หรือใต้ลิ้น ถ้าทิ้งไว้นานไม่ได้รักษาก็ก่อให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ง่าย นับว่าเป็นอันตรายอย่างยิ่ง
2. วัตถุประสงค์อื่น ๆเช่น ในการจัดฟัน ต้องถอนฟันกรามซี่ที่ สาม ออกเสียก่อนเพื่อให้ง่ายต่อการเคลื่อนฟันซี่อื่นๆ และแรงดันของฟันคุดยังมากพอที่จะผลักให้ฟันข้างเคียงรับแรงกระทบต่อๆ กันไปจนฟันบิดซ้อนเกได้ ในการจัดฟันทันตแพทย์จึงมักแนะนำให้ถอนฟันคุดออกก่อนใส่เครื่องมือ
3. ทำให้เกิดปัญหาฟันล้มเกฟันคุดยังอาจทำให้เกิดปัญหาฟันล้มเก เนื่องจากฟันคุดจะมีแรงดันให้ฟันซี่อื่นๆ ขยับขึ้นมาข้างหนาและเบียดกัน ทำให้เกิดฟันเกได้ (ไม่ได้เป็นสาเหตุหลัก)
4.เป็นสาเหตุให้เกิดรอยทะลุระหว่างช่องปากและโพรงไซนัสได้ระหว่างถอนฟันคุดขากรรไกรบน เพราะโพรงไซนัสย้อยต่ำลงมาเมื่ออายุมากขึ้น การผ่าฟันคุดฟันบนออกเมื่อมีอายุมากขึ้นอาจทำให้เกิดรอยทะลุระหว่างช่องปากและโพรงไซนัสได้
5.ใส่ฟันปลอมถอดได้ ไม่ได้โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่ต้องด้านท้ายฟันปลอมจะไปกดทับกระดูก บริเวณที่มีฟันคุดฝังอยู่ ทำให้กระดูกละลายไปทำให้เจ็บบริเวณด้านท้ายฟันเทียม
[/col_inner_3] [/row_inner_3] [row_inner_3] [col_inner_3 span__sm=”12″]ข้อห้ามในการผ่าฟันคุด ?
การผ่าฟันคุดถือเป็นข้อห้ามสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการป่วยร้ายแรง เนื่องจากอาการป่วยเหล่านี้จะทำให้การผ่าตัดเป็นไปได้ยาก หรืออาจส่งผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ดังนี้
- บุคคลที่มีสภาวะกระดูกตายจากการฉายแสงรักษาโรคมะเร็ง
- บุคคลที่มีโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมได้
- บุคคลที่มีโรคไตวายระยะสุดท้าย
- บุคคลที่มีโรคตับ
- บุคคลที่มีมะเร็งเม็ดเลือดขาวระยะสุดท้าย
-
บุคคลที่มีมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
- บุคคลที่มีความดันโลหิตสูง
- บุคคลที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
- บุคคลที่ใช้การรักษาด้วยสเตียรอยด์ หรือผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ต้องใช้การรักษาด้วยเคมีบำบัด หากต้องทำการผ่าตัดก็จะต้องได้รับการดูแลมากเป็นพิเศษ หากผู้ป่วยมีอาการติดเชื้อที่บริเวณฟันคุดต้องทำการรักษาอาการอักเสบและติดเชื้อบริเวณแผลเสียก่อน
- บุคคลที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบโลหิต เช่น โรคโฮโมฟีเลีย ซึ่งเป็นความผิดปกติในการแข็งตัวของเลือด ไม่ควรทำการผ่าตัดจนกว่าจะได้รับการรักษา
- สตรีมีครรภ์ที่อยู่ในช่วงการตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 1 หรือ 3 อาจจะหลีกเลี่ยงการผ่าฟันคุดไปก่อนจนกว่าจะคลอดบุตร แต่ถ้าหากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ก็ควรปรึกษาทันตแพทย์ก่อนทำการผ่าตัด
ขั้นตอนการผ่าฟันคุดมีอะไรบ้าง
การผ่าตัดฟันคุดไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด ทันตแพทย์จะใช้ยาชาหรือยาสลบเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดและช่วยให้การผ่าตัดเป็นไปได้ง่ายขึ้น หลังจากนั้นก็จะเปิดเหงือกให้เห็นฟัน แล้วใช้เครื่องกรอตัดฟันออกมา ล้างทำความสะอาดและเย็บแผลปิด เท่านี้ก็เสร็จแล้ว สามารถกลับบ้านได้ไม่ต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาล
[row_inner_4] [col_inner_4 span__sm=”12″] [/col_inner_4] [/row_inner_4] [/col_inner_3] [/row_inner_3] [row_inner_3] [col_inner_3 span__sm=”12″]
หลังผ่าตัดฟันคุดจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง
การผ่าฟันคุดเป็นการผ่าตัดเล็ก สามารถกลับบ้านได้หลังจากทำการผ่าตัดเสร็จ คำแนะนำหลังการผ่าตัดฟันคุดมีดังนี้
- กัดผ้าก๊อซให้แน่นพอดี ไม่เบาหรือแรงเกินไป นาน 1 ชั่วโมง กลืนน้ำลายตามปกติ วิธีนี้จะช่วยให้เลือดหยุดและเกิดเป็นลิ่มเลือดขึ้นภายใน ซึ่งจะช่วยให้แผลสมานเร็วขึ้น
- ห้ามบ้วนเลือดและน้ำลาย เพราะลิ่มเลือดที่ปิดปากแผลอาจจะหลุดออกมาได้และอาจทำให้เลือดไหลไม่หยุดได้
- หลังคายผ้าก๊อซแล้ว ถ้ามีเลือดซึมจากแผลผ่าตัด ให้ใช้ผ้าก๊อซที่สะอาดกัดใหม่อีกประมาณ 1/2 – 1 ชั่วโมง
- ประคบน้ำแข็งบริเวณแก้มด้านนอกหลังผ่าตัดวันแรก และเปลี่ยนประคบร้อนด้วยกระเป๋าน้ำอุ่นในวันถัดไป ต่อไปอีก 1-2 วัน หรือจนกว่าจะรู้สึกปกติ เพื่อลดอาการบวม ห้ามอมน้ำแข็งในปากเด็ดขาด
- รับประทานยาให้ครบตามที่ทันตแพทย์สั่ง
- รับประทานอาหารอ่อน ไมมีรสจัด หลีกเลี่ยงการใช้หลอดดูดน้ำ
- หลีกเลี่ยงการใช้งานด้านที่ผ่า ไปก่อนระยะหนึ่งจนกว่าจะรู้สึกปกติ
-
งดออกกำลังกาย หรือ เล่นกีฬา
- หลีกเลี่ยงการใช้งานด้านที่ผ่า ไปก่อนระยะหนึ่งจนกว่าจะรู้สึกปกติ
- แปรงฟันทำความสะอาดในช่องปากตามปกติ แต่ห้ามโดนแผล
- ตัดไหมหลังผ่าตัด 7 วัน ถ้ามีการเย็บ แต่ถ้าเป็นไหมละลายก็ไม่ต้องตัด ไหมชนิดนี้จะละลายไปตามธรรมชาติพร้อม ๆ กับการสมานตัวของปากแผลภายในเวลาประมาณ 3-5 วัน
- หากมีอาการปวดมากขึ้นเรื่อยๆ หรือเลือดไม่หยุดไหล ให้กลับมาพบทันตแพทย์ทันที โดยไม่ต้องรอให้ถึงวันนัด
[row_inner_4] [col_inner_4 span__sm=”12″]
อาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นภายหลังผ่าตัดฟันคุด
- อาการบวมที่แก้มด้านที่มีการผ่าตัด โดยเฉพาะวันแรก ๆ หลังจากผ่าตัด จากนั้นจะค่อย ๆ ดีขึ้น ซึ่งสามารถประคบเย็นทันทีหลังการผ่าตัด เพื่อช่วยลดอาการบวมได้
อาการเจ็บบริเวณขากรรไกร อาการจะค่อย ๆ ลดลงภายใน 7-10 วัน แต่เหงือกบริเวณขากรรไกรจะยังคงมีรอยช้ำต่อไปอีกประมาณ 2 สัปดาห์ - อาการปวด หากการผ่าฟันคุดมีความซับซ้อนก็จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดค่อนข้างมาก
- รู้สึกถึงรสชาติแปลกๆภายในช่องปาก เช่น มีกลิ่นคาวเลือดที่ออกจากแผลซึ่งยังคงตกค้างอยู่
- อาการเจ็บจิ๊ดๆหรือชาที่ใบหน้า แก้ม ริมฝีปาก หรือลิ้น โดยอาจเกิดขึ้นจากยาชาที่ตกค้างแต่เกิดขึ้นได้น้อย หรือเกิดจากการฉีกขาดที่บริเวณปลายประสาท ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในกรณีที่ฟันคุดอยู่ลึกใกล้กับเส้นประสาท
- ควรรีบกลับมาพบทันตแพทย์ หากมีอาการผิดปกติ ดังนี้ มีไข้ กลืนไม่ได้ หายใจลำบาก มีเลือดออกมากผิดปกติ มีหนองออกมาบริเวณเบ้าฟัน เกิดอาการชา หรือกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าอ่อนแรง
[/col_inner_4] [/row_inner_4] [row_inner_4] [col_inner_4 span__sm=”12″]
FAQ : คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับฟันคุด (Impacted Tooth) ฟันฝัง (Embedded Tooth)
ฟันคุดมีกี่ซี
ถ้าหมายถึง ฟันคุดของฟันซี่ที่สาม ก็จะมีประมาณ 4 ซี่ แต่ไม่เสมอไป บางคนฟันอาจจะหายไปเองโดยธรรมชาติ แต่ฟันซี่อื่นๆก็มีโอกาสคุดได้เหมือนกันที่พบบ่อย คือเขี้ยว และฟันกรามน้อย
อาการที่พบได้หลังการผ่าตัดฟันคุดคือ จะมีอาการปวดและบวมบริเวณแก้มด้านที่ทำผ่าตัดสัก 2 – 3 วัน อ้าปากได้น้อยลง ทานยาแก้ปวดและยาปฏิชีวนะที่ได้รับไปอาการก็จะบรรเทาลงได้ เรื่องอาหารคงต้องทานอาหารอ่อนไปก่อนสักระยะหนึ่ง เพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนต่อแผล ส่วนการพูดก็พูดได้ตามปกติ แต่อย่าพูดมากนักเดี๋ยวจะเจ็บแผลได้
ถ้าหมายถึง ฟันคุดของฟันซี่ที่สาม ก็จะมีประมาณ 4 ซี่ แต่ไม่เสมอไป บางคนฟันอาจจะหายไปเองโดยธรรมชาติ แต่ฟันซี่อื่นๆก็มีโอกาสคุดได้เหมือนกันที่พบบ่อย คือเขี้ยว และฟันกรามน้อย
สำหรับบางคน ที่ฝังอยู่ในขากรรไกร มันอาจจะไม่มีอาการใดๆเลยก็ได้ แต่บางคนฟันคุดหรือฟันฝังนั้นอาจจะกลายเป็นถุงน้ำ (Cyst) หรือมะเร็ง กัดกินกระดูกขากรรไกรได้ ซึ่งอันตรายมาก ดังนั้น เอาออกจะดีกว่า
โดยทั่วไปควรผ่าออกทุกซี่ที่มีอยู่ในช่องปาก โดยเฉพาะฟันซี่ที่ฟันคุดโผล่ขึ้นมาในช่องปากจะมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย ดังนั้นควรผ่าออกอย่างยิ่ง
ถ้าแบ่งตามลักษณะที่ฝัง ก็จะแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ ฟันคุดแบบฝังในกระดูกทั้งหมด (Fully Impacted Tooth) ฟันคุดแบบฝังในกระดูก (Partially Impacted Tooth) ฟันคุดแบบขึ้นมาทั้งซี่
ที่พบบ่อย ก็จะมีอาการปวดฟันอย่างรุนแรง แก้มบวม เป็นไข้ บางครั้งอาจลุกลามไปที่ใต้ตา อ้าปากไม่ขึ้น
โดยส่วนใหญ่ต้องผ่าออก ยกเว้นในกรณี แพทย์จัดฟันมีการวางแผนการรักษาที่จะดึงฟันคุดมาใช้งานแทนฟันกรามที่ถูกถอนออกไป
ขึ้นอยู่กับปริมาณเหงือกหรือกระดูกที่คลุมฟันคุดอยู่ ต้องมีการผ่าเหงือกหรือกรอกระดูกเพื่อให้สามารถเอาฟันคุดออกมาได้ และ ทิศทางการขึ้นของฟันคุด ถ้าทิศทางการขึ้นของฟันคุดเอียงมากๆ ก็จะต้องมีการแบ่งฟันให้ชิ้นเล็กลงเพื่อจะได้นำฟันออกมาได้
ฟันคุดคือฟันที่ไม่สามารถขึ้นมาในช่องปากได้เอง อาจจะเกิดจากมีเนื้อที่น้อยไป หรือ ทิศทางการขึ้นของฟันไม่เหมาะสม
เป็นสัญญาณอย่างนึงที่เราควรจะถอนฟันคุดออก เพราะมีโอกาสทำให้ติดเชื้อได้
ฟันคุดคือฟันที่ไม่สามารถขึ้นมาในช่องปากได้เอง อาจจะเกิดจากมีเนื้อที่น้อยไป หรือ ทิศทางการขึ้นของฟันไม่เหมาะสม ให้รีบมาพบแพทย์ เพื่อการวางแผนการรักษาต่อไป
ควรจะเอาออก ถึงแม้ไม่มีอาการ ยกเว้นกรณีที่ฟันคุดนั้นขึ้นได้เต็มซี่ และเราสามารถทำความสะอาดได้ทั่วถึง
ให้รีบมาพบแพทย์ เพื่อการวางแผนการรักษาต่อไป ต้องผ่าหรือไม่ขึ้นอยู่กับปริมาณเหงือกหรือกระดูกที่คลุมฟันคุดอยู่ ต้องมีการผ่าเหงือกหรือกรอกระดูกเพื่อให้สามารถเอาฟันคุดออกมาได้ และ ทิศทางการขึ้นของฟันคุด ถ้าทิศทางการขึ้นของฟันคุดเอียงมากๆ ก็จะต้องมีการแบ่งฟันให้ชิ้นเล็กลงเพื่อจะได้นำฟันออกมาได้
ไม่จำเป็นต้องมีทุกคน บางคนฟันคุดสามารถขึ้นมาในช่องปากได้อย่างดี ถ้าดูแลได้ทั่วถึงก็สามารถใช้งานได้เหมือนฟันซี่อื่นๆ
ถ้ามีอาการเหงือกบวม เนื่องจากฟันคุด เป็นสัญญาณที่อันตรายแล้วว่า ถ้าไม่รีบถอนออกอาจเกิดผลร้านที่รุนแรงมากขึ้นภายหลัง ดังนั้นถ้ามีอาการแบบนี้ให้รีบพบทันตแพทย์ เพื่อรับการรักษาต่อไป
สาเหตุของฟันคุดยังไม่มีการศึกษาถึงสาเหตุที่แน่นอน แต่ถ้าใช้ทฤษฏีเรื่องการใช้และไม่ใช้ ของดาร์วิน เนื่องมนุษย์ในปัจจุบันมีการเคี้ยวอาหารที่อ่อน ชิ้นเล็ก มีการต้มทำให้อาหารอ่อนนุ่มขึ้น การใช้งานของขากรรไกรจึงออกแรงน้อยลง ใช้งานน้อยลง ธรรมชาติจึงมีการปรับตัวโดยการลดขนาดของขากรรไกรลงแต่ขณะเดียวกัน ขนาดและจำนวนฟันไม่ลดลงตามด้วย จึงทำให้เกิดขนาดของขากรรไกรไม่สัมพันธ์กับขนาดและจำนวนของฟัน เช่น ถ้าขนาดของขากรรไกรเล็ก แต่ขนาดของฟันโต ฟันจึงไม่สามารถขึ้นมาในช่องปากได้ ทำให้เกิดเป็นฟันคุด ดังนั้น ไม่จำเป็นว่าทุกคนจะต้องมีฟันคุด
ถ้ามีอาการเหงือกบวมและมีหนอง เนื่องจากฟันคุด เป็นสัญญาณที่อันตรายแล้วว่า ถ้าไม่รีบถอนออกอาจเกิดผลร้านที่รุนแรงมากขึ้นภายหลัง ดังนั้นถ้ามีอาการแบบนี้ให้รีบพบทันตแพทย์ เพื่อรับการรักษาต่อไป
ควรจะรีบมาถอนออกเพราะการที่ฟันคุดผุ โดยส่วนใหญ่ฟันซี่ที่ถูกฟันคุดชนก็จะผุตามด้วย บางคนอาจจะต้องถอนฟันออก 2 ซี่พร้อมกันเลย แทนที่จะถอนเฉพาะฟันคุด
ถ้ามีอาการเหงือกบวม ปวดเหงือก เหงือกอักเสบ ปวดขากรรไกร เนื่องจากฟันคุด เป็นสัญญาณที่อันตรายแล้วว่า ถ้าไม่รีบถอนออกอาจเกิดผลร้านที่รุนแรงมากขึ้นภายหลัง ดังนั้นถ้ามีอาการแบบนี้ให้รีบพบทันตแพทย์ เพื่อรับการรักษาต่อไป
ฟันคุดสามารถขึ้นมาในช่องปากได้อย่างดี ถ้าดูแลได้ทั่วถึงก็สามารถใช้งานได้เหมือนฟันซี่อื่นๆ
คือฟันคุดที่มีทิศทางการขึ้นที่เอียงมากๆ บางคนนอน 90 องศา หรือฟันที่มีกระดูกคลุมทั้งซี่ หรือฟันคุดที่ฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกรแบบลึกมากๆ
ในผู้หญิงจะขึ้นประมาณ 16-18 ปี ส่วนในผู้ชายจะขึ้นประมาณ 18-20 ปี
คือฟันคุดทีเอียง 90 องศา
เป็นอาการที่เริ่มรุนแรง มีการเติดเชื้อบริเวณที่มีฟันคุด ถ้าบวมมากอาจจะต้องมีการผ่าเพื่อระบายหนองร่วมด้วย
จริง อาจจะเกิดจากการติดเชื้อในช่องปาก หรือ ทำความสะอาดไม่พอเนื่องจากมีอาการปวดฟันคุดอยู่
ถ้ามีติ่งเนื้อในขณะที่ฟันคุดขึ้นได้ตามปกติ สามารถตัดแค่ติ่งเนื้อออกได้ แต่ถ้าทิศทางการขึ้นของฟันคุดเอัยงด้วย ก้ควรจะถอนฟันคุดออกด้วยเลย
คือฟันคุดที่ฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกรแบบลึกมากๆ และอยู่ใกล้เส้นประสาท
โดยส่วนใหญ่จะหมายถึงฟันกรามซี่ที่สาม แต่สามารถเกิดกับฟันซี่อื่นๆได้ด้วย เช่น เขี้ยว ฟันกรามน้อย
การบ้วนปากสามารถช่วยคุณบรรเทาอาการปวดฟันคุดได้ อย่างการผสมน้ำอุ่นหนึ่งแก้วกับเกลือป่น 1 ช้อนชา คนให้เข้ากัน กลั้วส่วนผสมน้ำเกลือนั้นในปากของคุณประมาณ 30 ถึง 60 วินาที แล้วบ้วนทิ้ง คุณสามารถทำซ้ำวิธีนี้ได้เท่าที่ต้องการ
ถ้าหน้าเบี้ยวระหว่างที่มีอาการปวดฟันคุด อาจจะเกิดจากการบวมของแก้ม วึ่งเป็นอาการที่มีการติดเชื้อในช่องปากแล้ว ต้องรีบเข้าปรึกษาทันตแพทย์ด่วน
ถ้ามีอาการปวดหัว เนื่องจากฟันคุด เป็นสัญญาณที่อันตรายแล้วว่า ถ้าไม่รีบถอนออกอาจเกิดผลร้านที่รุนแรงมากขึ้นภายหลัง ดังนั้นถ้ามีอาการแบบนี้ให้รีบพบทันตแพทย์ เพื่อรับการรักษาต่อไป
ฟันคุดบางครั้งจะไม่แสดงอาการเลย จนในที่สุดเกิดการทำลายฟันซี่ข้างเคียง และกระดูกรอบ ๆ บริเวณนั้น หากไม่เคยมาหาหมอฟันมักจะรู้ตัวอีกทีเมื่อเห็นใบหน้าเอียงหรือขากรรไกรข้างหนึ่งใหญ่กว่าอีกข้าง ซึ่งถ้าพบต้องรีบผ่าตัดออกได้เร็วเพื่อลดโอกาสการสูญเสียอวัยวะขากรรไกร และเพื่อรักษารูปหน้าให้เหมือนเดิม แต่ถ้าถุงน้ำหรือเนื้องอกมีขนาดใหญ่มากๆ ก็อาจต้องตัดขากรรไกรบางส่วนออก การรักษารูปใบหน้าให้เหมือนเดิมก็ทำได้ยากขึ้น ดังนั้น ไม่ปวดฟันคุดไม่ได้แปลว่าไม่เป็นอะไร
ฟันคุด ประคบร้อนได้หรือไม่
ไม่ควรอย่างยิ่งเพราะอาจจะยิ่งทำให้บวมมากขึ้น
ถอนฟันคุดสามารถนำไปเบิกประกันสังคมได้ แต่อาจจะไม่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายทั้งหมด เพราะโดยส่วนใหญ่ราคาจะเกิน 900 บาท
ยังไม่มีเหตุผลมาอธิบายได้ว่า ถอนฟันคุดออกแล้วหน้าจะเรียวขึ้น
ทันตแพทย์เฉพาะทางศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล
ทพญ.พรทิพย์ ฟองเจริญ (มุก)
ประวัติการศึกษา
ทันตแพทย์ศาสตร์ บัณฑิต ม.เชียงใหม่
ประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาศัลยศาสตร์ช่องปาก ม.จุฬาลงกรณ์
ทันตแพทย์ประจำบ้าน สาขาศัลยศาสตร์ช่องปาก และ แม็กซิลโลเฟเชียล ม.จุฬาลงกรณ์
ทพ.อานนท์ ท้าวประยูร(นนท์)
ประวัติการศึกษา
ทันตแพทย์ศาสตร์ บัณฑิต ม.ธรรมศาสตร์
วุฒิบัตร สาขาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล ทันตแพทยสภา
ประกาศนียบัตร สาขาทันตกรรมรากเทียมขั้นพื้นฐาน สมาคมทันตกรรมรากเทียมแห่งประเทศไทย
ทพ.รัฐพล จงกลรัตน์ (บอม)
ประวัติการศึกษา
ทันตแพทย์ศาสตร์ บัณฑิต ม.สงขลานครินทร์
ทันตกรรมรากเทียม ม.มหิดล