รักษารากฟัน

ในสถานการณ์ในปัจจุบัน เราต้องทำงานแข่งขันกับเวลา บางครั้งงานยุ่งจนลืมว่านัดอุดฟันกับหมอเอาไว้ หรือ ยุ่งจนไม่มีเวลามาหาหมอฟันเพื่ออุดฟัน แล้วปล่อยให้โรคฟันผุลุกลามต่อไปเรื่อยๆ จนฟันผุจนทะลุโพรงประสาทฟัน  เกิดการอักเสบและมีฝีหรือถุงหนองที่ปลายรากฟัน มีอาการปวดทรมาน ทั้งยังเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรค คอยบ่อนทำลายสุขภาพร่างกายอย่างเรื้อรัง ฟันซี่นี้ก็จะเริ่มแสดงอาการด้วยการเสียวฟัน และปวดฟัน เมื่อถึงเวลานี้แล้ว ครั้นจะมาอุดฟันก็ไม่ได้แล้ว เพราะโรคฟันผุมันลุกลามจนถึงโพรงประสาทฟันแล้ว ต้อง รักษารากฟัน แทน ซึ่งจะต้องเจ็บ ปวดมากขึ้น รักษายากขึ้น แน่นอนค่าใช้จ่ายก็ต้องเสียมากขึ้นด้วย บางครั้งถ้าเสียเนื้อฟันไปเยอะๆ หลังรักษารากฟัน เสร็จ ก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายทำครอบฟันอีกต่อหนึ่ง ดังนั้นถ้าจะให้ดี ถ้ารู้ว่ามีฟันผุก็ควรจะต้องรีบอุดฟันให้เรียบร้อย…..เดี๋ยวจะว่าไม่เตือน

ถึงแม้ว่าทันตแพทย์จะช่วยได้ แต่วิธีการรักษาค่อนข้างยุ่งยากและสลับซับซ้อน ต้องใช้ระยะเวลาและค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะการรักษารากฟันกรามซึ่งมี 3 – 4 ราก ดังนั้นเพื่อให้การรักษาเกิดผลสำเร็จตามความต้องการ จึงจำเป็นต้องเสียเวลาไปพบทันตแพทย์หลายครั้งในการรักษารากฟัน

รักษารากฟัน ฮีโร่ตัวจริงชุบชิวิตฟัน ไม่ต้องถอนฟันออก

 

 

การรักษารากฟัน คืออะไร ?

การรักษารากฟันคือ การตัดเนื้อเยื่อโพรงประสาทฟันที่ติดเชื้อ หรือเนื้อเยื่อขนาดเล็กที่อยู่ใจกลางฟันที่ตายแล้วออก  ซึ่งเมื่อโพรงประสาทฟันที่ถูกทำลาย อักเสบ หรือตายถูกตัดออก พื้นที่ส่วนที่เหลือก็จะถูกทำความสะอาด โดยการใช้เครื่องมือขยายให้คลองรากฟันกว้างขึ้น และสะอาดขึ้น สามารถใช้น้ำยาล้างคลองรากฟัน และยาฆ่าเชื้อใส่ในคลองรากฟันได้ จัดรูปทรง และเมื่อกำจัดเชื้อโรคในคลองรากฟันได้หมดแล้ว จะอุดรากฟัน เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคกลับเข้าไปในคลองรากฟันได้อีก กระบวนการนี้จะเป็นการปิดคลุมรากฟัน ฟันซี่นั้นๆก็จะยังใช้งานได้ต่อไป ไม่ต้องถอนออก

 

สาเหตุที่โพรงประสาทฟันถูกทำลายหรือตายได้

ฟันที่ผุลึกจนถึงโพรงประสาทฟัน และไม่สามารถรักษาด้วยวิธีการอุดฟันแบบธรรมดาได้ จนทำให้ประสาทฟันเกิดอาการอักเสบ หากลุกลามมากขึ้นจะทำให้เนื้อเยื่อในฟันนั้นตาย และเกิดการติดเชื้อในคลองรากฟัน ซึ่งทำให้เกิดอาการปวด อาการเหล่านี้สามารถรักษาได้ด้วยการรักษารากฟัน

ฟันแตก จากอุบัติเหตุ หรือการใช้ฟันผิดวัตถุประสงค์ อาการบาดเจ็บของฟัน เช่น การกระแทกอย่างแรงที่ฟัน ไม่ว่าจะเป็นเมื่อไม่นานหรือในอดีต เมื่อโพรงประสาทฟันติดเชื้อหรือตาย ถ้าเราปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษา จะมีการก่อตัวที่ปลายรากฟันในกระดูกขากรรไกร เกิดเป็นฝีได้ และสามารถทำลายกระดูกรอบๆ ฟันทำให้เกิดอาการปวด

นอนกัดฟันรุนแรง มีพฤติกรรมเคี้ยวที่ค่อนข้างรุนแรง การกัดเค้นฟัน หรือใช้ฟันรุนแรง นับเป็นการไปรบกวนโพรงประสาทฟัน ส่งผลให้ฟันมีอาการ ร้าว จนกระทั่งเชื้อโรคสามารถแทรกซึมข้าไปในส่วนของโพรงประสาทฟันได้

มีปัญหาโรคเหงือก ลุกลามไปถึงปลายรากฟัน ทำให้เชื้อโรคสามารถเข้าไปในโพรงประสาทฟันได้ ทำให้มีอาการคล้ายๆกับฟันผุทะลุโพรงประสาทฟัน

ฟันผุทะลุโพรงประสาทฟัน ต้องรักษารากฟัน

ฟันผุ ลุกลามจนทะลุโพรงประสาทฟัน

ฟันแตก ทะลุโพรงประสาทฟัน ต้องรักษารากฟัน

ฟันได้รับอุบัติเหตุ หักจนทะลุโพรงประสาทฟัน

ฟันสึก ทะลุโพรงประสาทฟัน ต้องรักษารากฟัน

ฟันสึกจนทะลุโพรงประสาทฟัน

โรคเหงือก ติดเชื้อที่ปลายรากฟัน ต้องรักษารากฟัน ร่วมกับการรักษาโรคเหงือก

โรคเหงือก ติดเชื้อที่ปลายรากฟัน ต้องรักษารากฟัน ร่วมกับการรักษาโรคเหงือก

เมื่อไร ต้องรักษารากฟัน

  • ฟันผุ ที่ลึกมากจนทะลุโพรงฟัน
  • ฟันแตก หรือหักทะลุโพรงฟัน
  • ฟันแตก หรือหักไม่ทะลุโพรงฟัน แต่เนื้อฟันที่เหลืออยู่ไมาสามารถบูรณะได้
  • มีหนองเกิดขึ้นบริเวณปลายราก แต่ไม่มีอาการปวดเลย
  • ฟันที่ได้รับอุบัติเหตุกระทบกระเทือนอย่างรุ่นแรงจนเกิดการอักเสบ หรือการตายของเนื้อเยื่อในโพรงฟัน
  • เป็นโรคเหงือกมากจยลุกลามไปถึงปลายรากฟัน ทหให้ฟันติดเชื้อจากปลายรากฟันได้
  • เงาดำที่ปลายรากฟัน ทั้งที่ฟันซี่นั้นยังไม่มีอาการอะไรเลย สำหรับบางคนในภาพเอกซเรย์จะเห็นว่า มีเงาดำที่ปลายรากทั้งๆ ที่ฟันซี่นั้นยังไม่มีอาการอะไรเลย บ่อยครั้งที่ เรามักจะพบว่า กรณีที่ทันตแพทย์อุดฟันอยู่ซี่หนึ่งและจะทำการตรวจการผุของฟัน

อาการที่แสดงว่าต้องรับการรักษารากฟัน

  • เจ็บเวลาเคี้ยวหรือกัดอาหาร รู้สึกฟันหลวมหรือโยก
  • ปวดฟันเมื่อดื่มเครื่องดื่มที่ร้อนหรือเย็น
  • ปวดฟันขึ้นมาเอง อาจปวดแบบเป็นๆหายๆ หรือปวดรุนแรงจนนอนไม่หลับ
  • มีน้ำหนองไหลจากฟันที่ติดเชื้อ หรือมีตุ่มหนองขึ้นบนเหงือก คล้ายหัวสิว
  • สีของฟันคล้ำลง บางครั้ง ไม่มีอาการใดๆเลย ก็ต้องรักษารากฟัน
  • มีอาการเหงือกบวม มีตุ่มหนอง หรือบวมบริเวณใบหน้าได้

 

 

ข้อดี-ข้อเสียของการรักษารากฟัน

ข้อดี

  • ทำให้หายจากอาการเจ็บปวด โดยไม่ต้องถอนฟันออก
  • สามารถใช้งานฟันซี่นั้นในการบดเคี้ยวอาหารได้เหมือนปกติ
  • ได้เก็บโครงสร้างฟันแท้ไว้ใช้งานซึ่งเป็นฟันธรรมชาติ แทนที่จะสูญเสียฟันไปเลยและทดแทนฟันใหม่ด้วยฟันปลอมแบบ ครอบฟัน

ข้อเสีย

  • การรักษารากฟันเป็นงานที่ซับซ้อนและใช้เวลา
  • ค่าใช้จ่ายในการรักษาสูงกว่าการถอนฟัน
  • เมื่อรักษารากฟันเสร็จแล้วจะต้องมีการใส่เดือยฟัน และทำครอบ ทำให้มีค่าใช้จ่ายตามมาเพิ่มเติมจากค่ารักษารากฟัน
[row_inner_3] [col_inner_3 span__sm=”12″] [/col_inner_3] [/row_inner_3]

การรักษารากฟันมีกี่แบบ ?

การรักษารากฟันแบ่งเป็น 2 วิธี

1.การรักษาด้วยวิธีปกติ
2.การรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดปลายรากฟัน ( หากวิธีที่ 1 ไม่ได้ผล )

1. การรักษารากฟันด้วยวิธีปกติ

วัดความยาวของ คลองรากฟัน โดยการถ่ายเอกซเรย์แล้วจะใช้ File ขนาดเล็กเพื่อรักษารากฟัน และทำความสะอาดภายในคลองรากฟันเพื่อขจัดเนื้อเยื่อที่มีปัญหาและแบคทีเรีย โดยที่ฟันจะไม่ถูกอุดอย่างถาวรจนกว่าจะขจัดจนปลอดเชื้อในโพรงประสาทและคลองรากฟันหลังจากที่มั่นใจว่าภายในโพรงประสาทฟันนั้นปลอดเชื้อแล้ว ก็จะใช้วัสดุอุดคลองรากฟัน ( Gutta percha ) อุดที่คลองรากฟัน เป็นอันเสร็จ

2. การรักษารากฟันด้วยวิธีการผ่าตัดปลายรากฟัน

วิธีการนี้ใช้ เมื่อวิธีที่แรกล้มเหลว โดยจะทำการผ่าตัดเข้าไปที่ตำแหน่งปลายรากฟันที่เป็น หนองทำการตัดปลายรากฟันออกบางส่วน หลังจากนั้นทำการอุดวัสดุเข้าไปใน ส่วนปลายรากฟันที่ทำความสะอาดไว้ โดยวัสดุนี้จะไม่เป็นพิษต่อเนื้อเยื่อ หรือไม่ ทำให้เกิดการหายของเนื้อเยื่อรอบปลายรากฟันขึ้น

ขั้นตอนการรักษารากฟัน

โดยทั่วไปการรักษารากฟันจะใช้เวลาประมาณ 1-2 ครั้ง (ขึ้นกับสภาพการติดเชื้อที่เป็นอยู่) ระยะเวลาห่างกันประมาณ 1-2 สัปดาห์ หลังจากที่ผู้ป่วยมารักษารากฟันในแต่ละครั้ง ขั้นตอนการรักษารากฟันก็จะมีวิธีการ ดังนี้

  1. ก่อนการลงมือรักษารากฟัน ทันตแพทย์จะทำถ่ายภาพเอกซเรย์ฟันซี่ที่จะทำการรักษา เพื่อให้เห็นภาพของรากฟันบริเวณที่ได้รับความเสียหายได้อย่างชัดเจน รวมถึงพิจารณาว่ามีการติดเชื้อรอบ ๆ กระดูกบริเวณดังกล่าวหรือไม่
  2. ฉีดยาชาเฉพาะที่ในกรณีที่จำเป็น เพื่อให้บริเวณดังกล่าวไร้ความรู้สึก และไม่เกิดความรู้สึกเจ็บหรือระคายเคืองระหว่างการรักษารากฟัน
  3. ใส่แผ่นยางกั้นน้ำลายไว้รอบฟันซี่ที่จะรักษารากฟัน เพื่อให้บริเวณดังกล่าวสะอาด และยังเป็นการป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดจากวัสดุหรือน้ำยาล้างคลองรากฟันไหลลงคอ
  4. เจาะฟันตรงส่วนบนของฟันกำจัดรอยผุ และเปิดทางเข้าสู่โพรงประสาทฟันเปิดช่องเข้าสู่โพรงประสาทฟันและรากฟัน
  5. กำจัดประสาทฟันที่อักเสบ หรือติดเชื้อด้วยการใช้เครื่องมือชิ้นเล็กๆเ ข้าไป
  6. ล้างทำความสะอาดและใช้เครื่องมือขยายโพรงประสาทฟันให้กว้างขึ้น เพื่อให้สามารถเติมเต็มช่องว่างนี้ได้ง่าย ซึ่งฟันแต่ละซี่มีรากฟันจำนวนไม่เท่ากันอาจมีตั้งแต่ 1-4 ราก ยิ่งมีจำนวนรากมากก็จะมีความยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้น
  7. การมีหนองบริเวณปลายรากฟัน ในบางครั้งอาจจำเป็นต้องใช้เวลาหลายครั้งในการทำความสะอาด และเปลี่ยนยาในคลองรากฟัน และอุดวัสดุชั่วคราวไว้ เพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำจนกว่าการอักเสบจนกว่าจะหายเป็นปกติ
  8. อุดรากฟัน เมื่อคลองรากฟันสะอาดดีแล้ว ทันตแพทย์จะทำการอุดรากฟันโดยใช้วัสดุที่ เรียกว่า Gutta-percha เติมลงไปที่คลองรากเพื่อให้โพรงประสาทฟันปิดสนิทและป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อซ้ำ
  9. การบูรณะตัวฟันอาจจะทำได้หลายวิธี เช่นการอุดฟัน การใส่เดือยฟัน ครอบฟัน ทั้งนี้ขึ้นกับสภาพเนื้อฟันที่เหลืออยู่ แต่โดยส่วนใหญ่มักจะต้องได้รับการทำครอบฟันเพื่อป้องกันการแตกหักของตัวฟันการทำครอบฟันเพื่อป้องกันฟันแตกในอนาคตและเป็นการบูรณะฟันให้กลับมาทำหน้าที่ได้ตามปกติ เนื่องจากฟันที่ตายแล้วจะเปราะและกรอบมากกว่าปกติ

เจาะฟันที่มีการติดเชื้อที่โพรงประสาทฟัน เตรียมสำหรับขั้นต่อไป

อุดคลองรากฟัน ด้วยวัสดุคล้ายยาง

อุดคลองรากฟันเรียบร้อยแล้ว ถ้าไม่มีอาการก็เตรียมสำหรับฟันปลอม

ขยายและทำความสะอาดคลองรากฟัน

กำจัดเชื้อโรคและขยายคลองรากฟัน เพื่อกำจัดเชื้อและสร้างรูปทรง

ใส่เดือยฟันหลังรักษารากฟันเสร็จเพื่อใส่ครอบฟันต่อไป

ใส่เดือยเพื่อเพิ่มความแข็งแรงสำหรับเตรียมการใส่ครอบฟัน

อุดคลองรากฟัน หลังจากกำจัดเชื้อในคลองรากฟันหมดแล้ว

ฉีดวัสดุอุดคลองรากฟัน ลักษณะคล้ายยางเข้าไปเติมเต็มคลองรากฟัน

ใส่ครอบฟัน สามารถนำฟันซี่นี้ไปใช้งานได้ต่อไป ไม่ต้องถอนออก

มีผลข้างเคียงอะไรบ้าง หลังการรักษารากฟัน ?

ควรปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้ เพื่อให้การรักษารากฟันที่มีประสิทธิภาพและสามารถใช้งานได้ยืนยาว

  1.  ภายหลังรักษารากฟันใหม่ๆ ในช่วงแรกมักพบอาการเจ็บตื้อ ๆ โดยเฉพาะในครั้งแรกอาจมีอาการเจ็บได้บ้างใน 2-3 วันแรกและจะค่อยๆ จางหายไปเอง สามารถบรรเทาได้ด้วยยาระงับปวดทั่วไปและหายไปได้ใน 2-3 วัน หากมีอาการรุนแรงหรือเจ็บปวดนานกว่านี้ควรรีบแจ้งให้ทันตแพทย์ที่รักษาทราบ
  2. หลังการรักษาควรงดรับประทานอาหารจนกว่าอาการชาที่ปากจะหมดไป เพื่อป้องกันการกัดลิ้นหรือกระพุ้งแก้มโดยไม่ตั้งใจ
  3. ควรระมัดระวังในการใช้งานซี่ฟันที่รักษาราก เนื่องจากปริมาณเนื้อฟันจะเหลือน้อยลงและฟันจะเปราะมากขึ้น เพื่อลดโอกาสเกิดฟันแตกระหว่างที่ยังรักษาไม่เสร็จ
  4. การเคี้ยวอาหารเพียงด้านใดด้านหนึ่ง เป็นวิธีปฏิบัติตนไม่ถูกต้อง
  5. ระหว่างรักษารากฟันหากวัสดุอุดฟันชั่วคราวเกิดหลุดออกมาให้ผู้ป่วยรีบกลับมา หาทันตแพทย์เนื่องจากเชื้อโรคในช่องปากสามารถเขาสู่ภายในคลองรากฟันได้
  6. สามารถรักษาความสะอาดด้วยการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันได้อย่างปกติหมั่นดูแลรักษาสุขภาพช่องปากและฟันให้สะอาดอยู่เสมอ
  7. การรักษาคลองรากฟันเป็นงานที่ต้องทำต่อเนื่อง ตามกำหนดระยะเวลาที่เหมาะสมหากผู้ป่วยละเลยไม่มาตามวันนัด ฟันซี่นั้นอาจจำเป็นต้องถูกถอนออ
  8. การปล่อยฟันที่เป็นโรคทิ้งไว้นาน ๆ ยังทำให้เชื้อโรคออกไปทำลายกระดูกรอบๆ ฟัน ซึ่งทำให้เกิดอาการเคี้ยวเจ็บ หรือ เกิดตุ่มหนองทั้งภายในช่องปาก หรือบริเวณใบหน้า ในกรณีที่กระดูกรองรับฟันถูกทำลายไปเป็นจำนวนมากอาจทำให้ไม่สามารถเก็บรักษาฟันไว้ได้
  9. ควรมาตามนัดแพทย์ เพื่อลดโอกาสเสี่ยงถอนฟันซี่นั้นออกในอนาคต หากละเลย

สาเหตุอาการปวดหลังการรักษา

แบ่งได้ 2 กรณี คือ

  1. การปวดระหว่างการรักษา
  2. การปวดหลังจากการรักษาเสร็จสิ้นไปแล้ว

การปวดระหว่างการรักษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการรักษาครั้งแรก เกิดขึ้นบ่อย ๆ อาจร่วมกับการบวมของเหงือกด้วย ส่วนมากแล้วมักเกิดกับการรักษารากฟันในฟันที่มีอาการปวด หรือเริ่มมีอาการปวด (Acute pulpitis) อยู่แล้ว หรือกำลังเริ่มจะมีการอักเสบ

แต่จะไม่ค่อยเกิดในฟันที่ตายแล้ว (pulp necrosis) หรือฟันที่มีตุ่มหนอง (periapical abscess) หรือฟันที่เพิ่งทะลุโพรงประสาท ส่วนใหญ่อาการปวด

  • เกิดจากกำจัดเส้นประสาทฟันในโพรงประสาทไม่หมด
  • การเกิดแรงดันที่จะทำให้เศษสิ่งสกปรกที่ล้างทำความสะอาดดันเข้าไปในบริเวณปลายราก ขณะขยายและการล้างคลองรากฟัน
  • เปิดโพรงที่กรอทิ้งไว้ก่อน เพื่อช่วยให้การระบายดีขึ้น แต่จะทำให้การรักษาใช้เวลานานขึ้น เนื่องจากการเปิดโพทิ้งไว้จะทำให้เกิดการปนเปื้อนของเชื้อโรคในน้ำลายได้
  • ใส่ยา และปิดโพรงในครั้งต่อไป

อาการปวดหลังการรักษา ถ้าไม่ปวดมากนัก ซึ่งเกิดจากคลองรากฟันยังไม่สะอาดแล้วอุด ขยายคลอง รากฟันไม่หมดหรือฟันแตก การรักษาอาจต้องมีการรื้อและรักษาใหม่

ทันตแพทย์จะทำการล้างทำความสะอาด ขยายรากฟันหรือกำจัดเส้นประสาทให้หมด ซึ่งจะทำให้หายปวดได้ หากมีอาการบวมด้วย อาจต้องเปิดระบายและให้ยาแก้อักเสบร่วมด้วย

อาจเกิดจากหลายสาเหตุ? เช่น คลองรากฟันยังไม่สะอาดแล้วอุด ขยายคลองรากฟันไม่หมดหรือฟันแตก การรักษาอาจต้องมีการรื้อและรักษาใหม่ หรือผ่าตัดปลายรากฟันหรือถ้ารักษาไม่ได้ อาจต้องถอนฟันในที่สุด

อย่างไรก็ตาม การรักษารากฟันเป็นการรักษาที่ยุ่งยากซับซ้อนโดยเฉพาะในฟันกรามซึ่งมีจำนวน 3-4 คลองรากฟัน ทำให้ยากต่อการรักษา ทั้งหมดต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากผู้ป่วยในการมาตามนัด และทันตแพทย์ที่เชี่ยวชาญ มีความละเอียดรอบคอบ

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการรักษารากฟัน

อาจจะมีอาการปวด หรือเสียวฟันได้ ประมาณ 2-5 วัน ภายหลังการรักษา ให้ทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการปวดและอาการปวดจะค่อยๆ ทุเลาจนหายไปเอง

บางกรณีที่รักษารากฟันเสร็จแล้วยังปวด อาจเกิดจาก

  • การที่กำจัดเชื้อใม่หมดได้ในครั้งแรก หรือ
  • มีการผุเพิ่มหรือเกิดการแตกหักของตัวฟันในภายหลัง ทำให้เกิดการติดเชื้อซ้ำกลับเข้าไปในคลองรากฟัน

ราคาค่ารักษารากฟัน ขึ้นอยู่กับความยาก และ ซับซ้อน เช่น

  • ลักษณะของรูปร่างของคลองรากฟัน ถ้าตีบแคบ หรือตัน หรือ ยิ่งโค้งมาก ราคายิ่งสูง แลัวยังมีโอกาสเสียได้ง่ายด้วย
  • จำนวนคลองรากฟัน ฟันหน้ามีรากเดียว ค่ารักษาก็จะถูกกว่าฟันกราม ที่มีจำนวนคลองรากฟัน 3-4 ราก
  • สามารถ ติดต่อเพื่อเข้ารับการปรีกษาฟรี ได้ที่ลิงค์ด้านล่าง

    LINE  SRIRACHA

    TEL  SRIRACHA

    LINE  PATTAYA

    TEL  PATTAYA

การรักษารากฟันหน้า เป็นสิ่งที่ควรรักษาไว้อย่างยิ่ง เนื่องจาก อัตราความสำเร็จสูง ทำง่าย ราคาถูก นอกจากนี้รากฟันหน้ายังช่วยพยุงกระดูกให้ดูอิ่ม รูแหน้าจะดูไม่แก่

ผู้ป่วยอาจมีการอาการปวดหรือเสียวฟันซี่ที่รักษาไปโดยจะมีอาการได้ประมาณ 2-5 วัน ภายหลังการรักษาผู้ป่วยสามารถทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการปวดที่จะเกิดขึ้นนี้ได้และอาการปวดจะค่อยๆ ทุเลาจนหายไปเอง

การรักษารากฟัน สามารถเก็บรักษาฟันไว้ใช้งานได้ต่อไป ดีกว่าการใส่ฟันปลอม เพราะฟันที่รักษารากแล้วก็เหมือนฟันในปากซี่อื่นๆ คือ มีเบ้ากระดูกยึดให้ฟันแน่นมั่นคงแข็งแรง และให้ความรู้สึกที่ดีกว่าการใส่ฟันปลอม

ระยะเวลาในการรักษารากฟันขึ้นกับความซับซ้อนและการติดเชื้อของฟันที่รักษา บางกรณีสามารถทำการรักษาให้เสร็จภายในครั้งเดียวได้ แต่ในกรณีที่คลองรากฟันมีความซับซ้อน หรือมีการติดเชื้อในคลองรากฟันรุนแรง ก็จำเป็นต้องใช้เวลารักษา 2-4 ครั้งภายหลังการรักษารากฟัน

ไม่มีวิธีการรักษารากฟันด้วยตัวเอง ต้องให้ทันตแพทย์เป็นผู้รักษาให้เท่านั้น

ฟันที่ได้รับการรักษาหรือฟื้นฟูสามารถอยู่ได้ตลอดชีวิตถ้ามีการดูแลอย่างเหมาะสม เพราะฟันผุยังสามารถเกิดขึ้นได้อีกในฟันที่รับการรักษาแล้ว สุขอนามัยของปากและฟันที่ดีตลอดจนการพบทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอ ฟันที่รักษารากฟันแล้วจะ ไม่มีโพรงประสาทฟันเหลือ อาจมีความเปราะและแตกได้ง่าย ดังนั้น ฟันที่รักษารากฟันเสร็จแล้วควรทำครอบฟันเพื่อป้องกันฟันแตกหักได้

บางครั้งฟันดูแล้วไม่ผุ แต่มีการนอนกัดฟันรุนแรง หรือมีการเคี้ยวที่ค่อนข้างรุนแรง กัดเค้นฟัน ใช้ฟันรุนแรงมาก ซึ่งเป็นการไปรบกวนโพรงประสาทฟัน ฟันจะเริ่มร้าวก่อน แล้วก็มีการแทรกซึมของเชื้อโรคเข้าไปในส่วนของโพรงประสาทฟันตามรอยร้าวนั้นๆ แบบนี้ก็อาจจะต้องทำการรักษารากฟัน

ถ้าหากว่าฟันซี่นั้นเราไม่สามารถแก้ไขสิ่งที่มากระตุ้นได้ทันท่วงที เช่น มีจุดสบสูง และสบฟันกระแทกอย่างรุนแรง การเอาสิ่งกระตุ้นเหล่านี้ออกไปได้ทันท่วงที ก็สามารถลดการแทรกซึมของเชื้อโรคได้

เพราะฉะนั้นให้ทันตแพทย์เป็นผู้วินิจฉัยจะดีที่สุด? ถ้าหากมีอาการใดๆ เช่น เสียวฟัน หรือกัดแล้วเจ็บ หรือเคาะแล้วรู้สึกคันๆ นั่นแสดงว่า “ควรรีบไปพบทันตแพทย์”

ฟันตาย ก็คือ ฟันที่ไม่มีชีวิต ไม่มีอาการ ฟันเปลี่ยนสี หรืออาจมีตุ่มหนองด้วย ต้องรักษารากฟันทุกกรณี

ส่วนฟันที่ยังมีชีวิตอยู่ ถ้ามีอาการแบบปวดตุบๆ เวลากลางคืน ก่อนนอน และอาการปวดทวีความรุนแรงมากขึ้น เป็นอาการประสาทฟันอักเสบที่ไม่สามารถกลับคืนเป็นปกติได้ ก็ต้องรักษารากฟัน เช่นกัน

ควรรีบกลับไปพบทันตแพทย์คนเดิม เพื่อทำการรักษาต่อให้เสร็จ แต่ถ้าไม่สะดวก ก็ลองไปปรึกษากับทันตแพทย์ใกล้บ้านท่าน หรือจะมาปรึกษากับเราก็ได้ ที่โมเดิร์นสไมล์ ปรึกษา..ฟรี

ทันตแพทย์ที่ชำนาญการรักษารากฟัน

ทันตแพทย์เฉพาะทางรักษาราก | ท.9755

1) ทพ.พร้อมเทพ ตระกูลวงศ์งาม (พร้อม)
ประวัติการศึกษา

ทันตแพทย์ศาสตร์ บัณฑิต ม.จุฬาลงกรณ์
ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาทันตกรรมคลินิก ม.ศรีนครินทรวิโรฒ

2) ทพ.รัฐพล จงกลรัตน์ (บอม)
ประวัติการศึกษา

ทันตแพทย์ศาสตร์ บัณฑิต ม.สงขลานครินทร์
ทันตกรรมรากเทียม ม.มหิดล