อุดฟัน

ในสังคมการใช้ชีวิตและพฤติกรรมการทานอาหารในปัจจุบันนี้ มีอัตราเสี่ยงสูงมากที่จะเป็นโรคฟันผุ เนื่องจากลักษณะอาหาร เช่น ขนมหวานที่เหนียว อาหารประเภทแป้งมีขายอยู่ทุกที่ เป็นต้น ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคฟันผุได้ง่าย แล้วถ้าไม่ได้รักษาจนเกิดความสูญเสียฟันก่อนวัยอันสมควร ดังนั้นเมื่อเกิดฟันผุขึ้นมาแล้ว การอุดฟันเป็นวิธีป้องกันไม่ให้ฟันผุเกิดลุกลามเพิ่ม ซึ่งถือว่าเป็นการักษาเบื้องต้นที่ดีที่สุด ประหยัด และไม่เจ็บ

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อทำการรักษาแล้วก็ต้องใส่ใจดูแลช่องปากให้ถูกวิธีร่วมด้วยจึงจะเป็นการป้องกันที่ยั่งยืน ทำให้เรามีสุขภาพช่องปากและฟันที่แข็งแรงต่อไปในอนาคตได้ เมื่อพบฟันผุขนาดเล็ก ยังไม่มีอาการปวด ให้รีบมาอุดฟัน หากปล่อยไว้จนผุลุกลามจนถึงชั้นเนื้อฟันก็จะมีอาการเสียว แต่ถ้าผุจนทะลุโพรงประสาทฟันก็จะมีอาการปวดฟันอย่างรุนแรง และไม่สามารถรักษาด้วยการอุดฟันได้ ซึ่งวิธีรักษาก็จะยุ่งยากขึ้นเช่นการรักษารากฟัน ซึ่งค่าใช้จ่ายหลักหมื่น หรืออาจจะต้องถอนฟันออกไปเลยซึ่งก็ต้องใส่ฟันปลอม ค่าใช้จ่ายก็จะแพงขึ้นตามความยาก และซับซ้อนของการรักษา

การอุดฟันคือวิธีการรักษาฟัน โดยการทดแทนลักษณะโครงสร้างของฟันที่สูญเสียไป

การ อุดฟัน คืออะไร ?

การอุดฟันคือวิธีการรักษาฟัน โดยการทดแทนลักษณะโครงสร้างของฟันที่สูญเสียไป ไม่ว่าสาเหตุจะเกิดจาก

1) การผุ 

2) แตกหักหรือบิ่นเนื่องจากอุบัติเหตุ

3) ฟันสึก หรือ

4) วัสดุอุดเก่าชำรุดหรือบิ่น

5) ปรับเปลี่ยนรูปร่าง หรือปรับเปลี่ยนสี 

ที่มีขนาดไม่ใหญ่มากด้วยวัสดุอุดฟันสามารถใช้งานได้และกลับมารูปทรงเดิม  เพื่อปิดช่องทางไม่ให้แบคทีเรียหรือเศษอาหารตกเข้าไปจนเกิดความเสียหายแก่เนื้อฟัน นอกจากนี้ยัง เพื่อป้องกันการดำเนินต่อของรอยโรคฟันผุ และลดอาการเสียว หรือปวด เพื่อความสวยงาม เพิ่มประสิทธิภาพในการพูดคุย และประโยชน์ของการใช้งานในระยะยาว

เวลาทำการอุดฟัน ทันตแพทย์จะเอาเนื้อฟันที่ผุออกและทำความสะอาด จากนั้นจึงเติมวัสดุอุดฟันลงไป เพื่อให้กลับมามีรูปร่างฟันตามปกติ สามารถใช้บดเคี้ยวอาหารได้ รวมถึงมีความสวยงาม โดยเฉพาะในบริเวณฟันหน้า ทันตแพทย์จะเป็นผู้ตรวจและวินิฉัยว่าควรได้รับการอุดฟันหรือไม่ วัสดุที่ใช้ในการอุดฟันได้แก่ ทอง พอร์เซเลน คอมโพสิตเรซิน (การอุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน) และอมัลกัม (วัสดุอุดฟันทำจากโลหะปรอท เงิน ทองแดง และสังกะสี)

ในกรณีที่โครงสร้างเนื้อฟันหายไปในปริมาณมาก หรือฟันสึกมากๆจากการกัดสบที่หนัก จะทำการรักษาฟันซี่นั้นๆ โดยทำการบูรณะทางอ้อม เช่น การทำครอบ อินเลย์ หรือออนเลย์ เพื่อเพิ่มอายุการใช้งานของฟันซี่นั้นไว้

ทำไมต้อง อุดฟัน ?

หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมที่เวลาเราฟันผุหรือฟันเป็นรูแล้วเราจะต้องอุดฟันด้วย ทั้ง ๆ ที่เป็นรูแค่นิดเดียว ปัญหาเล็กน้อยที่มองข้าม หากปล่อยให้มันเรื้อรังสักวันหนึ่งมันก็กลายเป็นปัญหาใหญ่ได้ แน่นอนว่าจากฟันรูเล็ก ๆ ก็กลายเป็นอาการที่รุนแรง อย่างอื่นตามมา เช่น เหงือกอักเสบ เป็นหนอง รากฟันเสื่อม ฟันล้ม หรือถึงขั้นร้ายแรงจนเป็นโรคมะเร็งในช่องปาก ฟันผุมีการรักษาได้ต่างๆ กันไป ตามระยะการเกิดโรคก็คือ

  • ฟันผุแบบเริ่มต้น (ฟันที่เกือบจะผุ) ลักษณะจะเป็นแบบฟันเพิ่งเริ่มสูญเสียแร่ธาตุแคลเซี่ยม เนื่องจากมีแผ่นคราบจุลลินทรีย์เกาะที่ฟันนานๆ (มากกว่า 24 ชม.) มักพบในพวกคนไข้จัดฟัน คนที่มีการใส่ฟันปลอมชนิดถอดได้ หรือติดแน่น  หรือเด็กที่ไม่แปรงฟันเป็นเวลานาน การใช้ฟลูออไรด์เฉพาะที่ หรือการแปรงฟัน ด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ จะช่วยรักษา ฟันที่เกือบจะผุ ให้กลับสู่ปกติได้ โดยแปรงฟันและทิ้งยาสีฟัน นั้นให้คงอยู่ในช่องปากนานขึ้นไม่น้อยกว่า 2 นาที แล้วค่อยบ้วนทิ้ง ก็จะช่วยให้ฟัน ไม่ผุต่อไปได้ (แต่ สำหรับเด็กเล็กๆ ต้องระวังไม่ให้กลืนยาสีฟัน เพราะอาจเกิดผลเสียได้) คนที่มีการใส่ฟันปลอมชนิดถอดได้ หรือติดแน่น หรือผู้ที่ใส่ เครื่องมือเพื่อการจัดฟัน หากไม่ได้ดูแล ทำความสะอาดฟันอย่างดี จะทำให้เกิดการสะสมของคราบจุลินทรีย์ได้ง่าย เกิดความเสี่ยงต่อ การเป็นโรค ฟันผุ เหงือกอักเสบ และโรคปริทันต์อักเสบได้เช่นเดียวกัน
  • ฟันผุแบบเป็นหลุมกินเข้าไปจนถึงชั้นเนื้อฟัน เมื่อฟันผุเห็นเป็นรูชัดเจน อยู่ในระยะที่มีการทำลายเฉพาะถึงส่วนเนื้อฟัน การอุดฟันจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด ที่จะรักษาเนื้อฟันที่ดีเอาไว้ ไม่ให้ผุลุกลามต่อไป ราคาถูก ทำง่าย ไม่เจ็บ แต่จะมีอาการเสียวบ้าง
  • ฟันผุแบบเป็นหลุมกินเข้าไปลึกมากขึ้น และทำลายจนมีการอักเสบลุกลามถึงโพรงประสาทฟัน  การรักษาโรคฟันผุชนิดนี้ จะยุ่งยาก ซับซ้อน ปวดฟัน ราคาสูง ที่เรียกว่า การรักษารากฟัน ถ้าฟันผุกินเข้าไปจนถึงโพรงประสาทฟัน และเนื้อฟันถูกทำลายไปมาก  ไม่เหลือเนื้อฟันจนไม่สามารถเก็บฟันซี่นั้นๆได้แล้ว วิธีการรักษา คือถอนฟัน

จะเห็นได้ว่า การอุดฟัน เป็นวิธีการรักษาโรคฟันผุ ที่ง่าย สะดวก ไม่เจ็บ ราคาถูก การอุดจึงเป็นการตัดไฟแต่ต้นลม เพื่อไม่ให้โรคฟันผุลุกลามต่อไป

อุดฟัน ฟันผุแบบเริ่มต้น (ฟันที่เกือบจะผุ)ลักษณะจะเป็นแบบฟันเพิ่งเริ่มสูญเสียแร่ธาตุแคลเซี่ยม

ฟันปกติ

อุดฟัน ฟันผุแบบเริ่มต้น (ฟันที่เกือบจะผุ)

ฟันผุแบบเริ่มต้น (ฟันที่เกือบจะผุ)

ลักษณะจะเป็นแบบฟันเพิ่งเริ่มสูญเสียแร่ธาตุแคลเซี่ยม เนื่องจากมีแผ่นคราบจุลลินทรีย์เกาะที่ฟันนานๆ (มากกว่า 24 ชม.) มักพบในพวกคนไข้จัดฟัน คนที่มีการใส่ฟันปลอมชนิดถอดได้ หรือติดแน่น  หรือเด็กที่ไม่แปรงฟันเป็นเวลานาน

อุดฟัน ฟันผุแบบเป็นหลุมกินเข้าไปจนถึงชั้นเนื้อฟัน 

ฟันผุแบบเป็นหลุมกินเข้าไปจนถึงชั้นเนื้อฟัน 

เมื่อฟันผุเห็นเป็นรูชัดเจน อยู่ในระยะที่มีการทำลายเฉพาะถึงส่วนเนื้อฟัน การอุดฟันจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด ที่จะรักษาเนื้อฟันที่ดีเอาไว้ ไม่ให้ผุลุกลามต่อไป ราคาถูก ทำง่าย ไม่เจ็บ แต่จะมีอาการเสียวบ้าง

อุดฟัน ฟันผุแบบเป็นหลุมกินเข้าไปลึกมากขึ้น และทำลายจนมีการอักเสบลุกลามถึงโพรงประสาทฟัน 

ฟันผุแบบเป็นหลุมกินเข้าไปลึกมากขึ้น และทำลายจนมีการอักเสบลุกลามถึงโพรงประสาทฟัน 

การรักษาโรคฟันผุชนิดนี้ จะยุ่งยาก ซับซ้อน ปวดฟัน ราคาสูง ที่เรียกว่า การรักษารากฟัน ถ้าฟันผุกินเข้าไปจนถึงโพรงประสาทฟัน และเนื้อฟันถูกทำลายไปมาก  ไม่เหลือเนื้อฟันจนไม่สามารถเก็บฟันซี่นั้นๆได้แล้ว วิธีการรักษา คือถอนฟัน

การอุดฟันมีกี่แบบ ? ชนิดใดดีที่สุด?

คุณจะเหมาะกับการอุดฟันแบบไหนนั้น ขึ้นอยู่กับขอบเขตของการผุ การแพ้วัสดุบางชนิดของแต่ละคน บริเวณที่ต้องการการอุดฟัน และราคา ซึ่งวัสดุในการอุดฟันมีหลายประเภทคือ

การอุดฟันด้วยทอง

ทอง เป็นวัสดุที่มีราคาแพงและใช้ได้ยากสำหรับทันตแพทย์ ซึ่งจะทำขึ้นในห้องปฏิบัติการ ขั้นตอนการอุดฟันยาวนานและยังมีราคาสูงกว่าวิธีอื่น ๆ โดยอินเลย์ทองจะไม่ค่อยระคายเคืองเหงือก และอาจอยู่ได้นานถึง 20 ปีและด้วยเหตุนี้เอง หลายๆ คนจึงเลือกทองให้เป็นวัสดุอุดฟันที่ดีที่สุด อย่างไรก็ตาม การอุดฟันชนิดนี้มีราคาแพงที่สุด และต้องใช้เวลาพบทันตแพทย์หลายครั้ง

 ข้อดีของการอุดฟันด้วยทอง

  • มีความทนทาน
  • มีอายุการใช้งานอย่างน้อย 20 ปี และไม่เป็นสนิม
  • มีความแข็งแรง สามารถทนต่อการบดเคี้ยวได้มาก
  • เรื่องความสวยงาม เพราะผู้ป่วยบางรายจะชื่นชอบมากกว่าการอุดที่ใช้อมัลกัม

 ข้อเสียของการอุดฟันด้วยทอง

  • สีไม่เหมือนฟันธรรมชาติ
  • ไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่แพ้โลหะ
  • ไม่เหมาะสำหรับฟันหน้าที่ต้องการความสวยงาม
  • ขั้นตอนการักษายุ่งยาก หลายขั้นตอน
  • ต้องพบทันตแพทย์ มากกว่า 2 ครั้ง

การอุดฟันด้วยอมัลกัม (เงิน)

เป็นวัสดุอุดฟันที่คงทน แข็งแรง และราคาไม่แพง อย่างไรก็ตาม เนื่องจากวัสดุนี้มีสีเข้ม สีเงิน/สีเทา มองแล้วไม่สวยงาม จึงไม่นิยมใช้ในบริเวณที่มองเห็นได้ง่าย เช่น ฟันหน้า

สำหรับผู้ป่วยที่อุดด้วยวัสดุอุดนี้ ไม่ควรเคี้ยวอาหารด้านที่อุดฟันเป็นระยะเวลา 24 ชั่วโมง เนื่องจากวัสดุที่ใช้ ในระยะแรกยังมีความแข็งแรงไม่เต็มที่ มีโอกาสเสี่ยงต่อการแตกหักได้ อย่างไรก็ตามสามารถเคี้ยวอาหารได้ปกติภายหลัง 24 ชั่วโมง

ข้อดีการอุดฟันด้วยอมัลกัม

  • มีความแข็งแรง รับแรงบดเคี้ยวได้ดี
  • มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน
  • มีค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่า
  • มีขั้นตอนการทำที่ไม่ยุ่งยาก

ข้อเสียการอุดฟันด้วยอมัลกัม

  • สีไม่เหมือนฟันธรรมชาติ
  • ห้ามใช้งานภายใน 24 ชั่วโมงเพราะต้องรอการแข็งตัวของวัสดุ
  • ไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่แพ้โลหะ
  • ไม่เหมาะสำหรับฟันหน้าที่ต้องการความสวยงาม
เปรียบเทียบ วัสดุ อมัลกัม กับ เรซิน

เปรียบเทียบ วัสดุอุดฟัน  อมัลกัม กับ เรซิน

การอุดฟันด้วย คอมโพสิต จะมีลักษณะสวยกว่า และในปัจจุบัน ความแข็งแรงก็เทียบเท่าวัสดุสีเงินอีกด้วย

การปิดช่องว่างด้วย การอุดฟันแบบคอมโพสิต สามารถปิดช่องว่างที่ไม่กว้างมากได้อย่างสวยงาม

อุดฟัน ปิดช่องว่างฟันหน้าห่าง

การปิดช่องว่างด้วย การอุดฟันแบบคอมโพสิต สามารถปิดช่องว่างที่ไม่กว้างมากได้อย่างสวยงาม มีข้อเสีย คืออาจจะหลัดได้ถ้าเผลอไปกัดของแข็ง

เปรียบเทียบการอุดฟันด้วยวัสดุ ทอง กับ คอมโพสิต

เปรียบเทียบการ อุดฟัน ด้วยวัสดุ ทอง กับ คอมโพสิต

ในปัจจุบันวัสดุอุดสีเหมือนฟัน มีความแข็งแรง เพียงพอที่จะนำมาอุดฟันหลังได้ แทน วัสดุที่ทำด้วยทองซึ่งมีราคาแพงและต้องทำหลายขั้นตอน

การอุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน คอมโพสิต (พลาสติก)

เรซิน เป็นวัสดุอุดที่มีสีใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติ จึงมักถูกเลือกใช้สำหรับบริเวณที่ต้องการความเป็นธรรมชาติ และเป็นที่นิยมใช้ในปัจจุบันมากที่สุด สามารถใช้อุดฟันได้ทั้งฟันหน้าและฟันกราม ขั้นตอนในการทำนั้นจะค่อนข้างยุ่งยากกว่าแบบโลหะ เนื่องจากจะต้องทำโดยผ่านการฉายแสงเท่านั้น ส่วนผสมจะมีการเตรียมและใส่ลงในจุดที่ผุโดยตรง ซึ่งขั้นตอนนี้จะทำสลับกับการฉายแสงเพื่อให้วัสดุเกิดการแข็งตัว และหากแข็งตัวแล้วทันแพทย์จะทำการกรอตกแต่งวัสดุอีกครั้งเพื่อตกแต่งฟันให้สวยงาม ซึ่งวัสดุคอมโพสิตนี้อาจจะไม่สามารถใช้อุดฟันในบริเวณกว้างได้ เนื่องจากมีการหักและเสื่อมได้เมื่อเวลาผ่านไป นอกจากนี้ยังเป็นคราบจากชา กาแฟ หรือยาสูบได้ และไม่คงทนเท่ากับวัสดุอื่นๆ

โดยสามารถอยู่ได้ประมาณ 10 ปี
การอุดฟันเวยด้วยพอซเลน หรือเรียกว่า อินเลย์ หรือ ออนเลย์ ทำขึ้นภายในห้องปฏิบัติการและนำมาเชื่อมต่อกับฟัน สามารถทำสีให้เข้ากับสีฟันของคุณได้ และมีความทนทานต่อคราบ การอุดฟันด้วยพอซเลนมักจะครอบคลุมเนื้อที่ฟันส่วนใหญ่ ราคาประมาณเดียวกับการอุดฟันด้วยทอง

ข้อดีการอุดฟันวัสดุสีเหมือนฟัน

  • มีความสวยงามเนื่องจากมีสีที่เหมือนฟันธรรมชาติ
  • ยึดติดกับฟันและทำการซ่อมแซมได้ง่าย สูญเสียเนื้อฟันน้อยในการกรอฟัน
  • สามารถใช้ได้ทั้งฟันหน้าและฟันกราม
  • สามารถใช้งานฟันได้ทันที
  • ปลอดภัยเนื่องจากตัววัสดุไม่มีสารปรอทผสม

ข้อเสียการอุดฟันวัสดุสีเหมือนฟัน

  • มีราคาสูงกว่าแบบโลหะ
  • มีความคงทนน้อยกว่าแบบโลหะ
  • ง่ายต่อการเกิดคราบจากชา กาแฟ หรือบุหรี่

นอกจากนี้ยังมีวัสดุอุดฟันชนิดอื่นๆ เช่น กลาสไอโอโนเมอร์ พอร์ซเลน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในการเลือกใช้ประเภทของวัสดุบูรณะฟันก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ลักษณะโพรงฟันที่ต้องทำการทดแทน การใช้งาน ตำแหน่งในช่องปาก เเละความพึงพอใจของผู้ป่วย และต้องขึ้นอยู่กับดุลพินิจของทันตแพทย์ด้วยเช่นกัน

ถ้าฟันผุหรือฟันแตกหักได้ทำลายพื้นที่ส่วนใหญ่ของฟัน การครอบฟันอาจมีความจำเป็น การผุที่ไปถึงเส้นประสาทสามารถรักษาได้ด้วย การรักษารากฟัน (กำจัดเส้นประสาทที่ถูกทำลาย)

การเตรียมตัวก่อนการอุดฟัน

เนื่องจากทันตแพทย์จะมีการใช้ยาชาในขั้นตอนการอุดฟัน

  • หากมีโรคประจำตัวหรือรับประทานยาประจำอยู่ ต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่และทันตแพทย์ทราบก่อนเสมอ
  • ควรแปรงฟันและบ้วนปากมาจากที่บ้านเพื่อให้ง่ายต่อการตรวจฟัน
  • ควรทานอาหารมาก่อนเพราะในกรณีที่ทำการอุดฟันแบบโลหะจะต้องรอให้ครบ 24 ชั่วโมงก่อนถึงจะรับประทานอาหารได้

ขั้นตอนการอุดฟัน 

เมื่อคุณหมอตรวจวินิจฉัยแล้วว่าฟันซี่นั้นสามารถอุดได้ ก็จะมีขั้นตอนการอุดฟันดังนี้

ขั้นตอนการอุดฟัน ตรวจบริเวณที่พบรอยผุ จุดบกพร่อง หรือโครงสร้างที่สูญเสียไป สอบถามผู้ป่วยถึงอาการของฟันซี่ที่จะทำการบูรณะ นอกจากนี้ อาจทำการเอกซเรย์ฟันซี่ดังกล่าว เพื่อประเมินสภาพของโพรงประสาทฟัน วางแผนการรักษา โดยคำนึงถึงตำแหน่ง การใช้งาน ลักษณะของฟัน และความพึงพอใจของผู้ป่วย

ทำการกรอแต่งฟันเพื่อเตรียมพร้อมในการบูรณะ ในกรณีที่ฟันผุลึกมาก หรือคนไข้กลัวมาก คุณหมอจะฉีดยาชาเฉพาะที่ให้ เพื่อที่คนไข้จะได้ไม่รู้สึกเจ็บ หรือผู้ป่วยมีอาการเสียวในขั้นตอนการทำ ผู้ป่วยสามารถแจ้งทันตแพทย์ให้ใส่ยาชาเพื่อลดอาการเสียวฟันได้ ซึ่งยาชานี้จะออกฤทธิ์ประมาณ 2-3 ชั่วโมง แต่ถ้าในกรณีที่ฟันผุเพียงเล็กน้อยก็ไม่ต้องฉีดยาชาได้ (ทันตแพทย์จะเป็นผู้แนะนำ)

ทันตแพทย์จะกำจัดเนื้อฟันที่ผุที่มีการติดเชื้อออก เมื่อรอยผุหมดแล้ว ทันตแพทย์จะทำการใส่วัสดุบูรณะเพื่อทดแทนฟัน ทันตแพทย์จะปรับแต่งหลุมบนฟันเพื่อเตรียมการอุดในลักษณะของฟันผุที่แตกต่างกัน

  • ถ้าเป็นวัสดุสีเหมือนฟัน จะมีขั้นตอนการใส่วัสดุเรซิน สลับกับการฉายแสง LED การฉายแสงเพื่อให้วัสดุแข็งตัวเต็มที่และปรับแต่งวัสดุจนได้ขนาดและรูปร่างที่เหมาะสมสวยงามพร้อมใช้งาน
  • กรณีที่อุดฟันด้วยอมัลกัม ทันตแพทย์จะกดวัสดุใส่ในหลุมที่ได้เตรียม ไว้จนแน่นพอดี แล้วปรับแต่งจนได้ขนาดและรูปร่างที่เหมาะสมตามต้องการ
    ขัดวัสดุให้เรียบ มีความเงางามดูเป็นเนื้อเดียวกันกับฟันตามธรรมชาติพร้อมใช้งาน
  • การตรวจการสบฟัน กำจัดวัสดุส่วนเกินทางด้านบดเคี้ยว โดยการให้เคี้ยวกระดาษสีฟ้า แดง เพื่อทราบตำแหน่งที่ต้องกรอแต่ง บริเวณที่มีวัสดุเกินขอบเขตทางด้านบดเคี้ยว ขัดแต่งเพื่อความสวยงามและเรียบมัน ลดการติดของเศษอาหาร และเพิ่มอายุการใช้งาน

ข้อควรปฎิบัติหลังการอุดฟัน

  1. หลังอุดฟันหากเป็นวัสดุอมัลกัม ห้ามใช้ฟันซี่ที่อุดเคี้ยวอาหารภายใน 24 ชั่วโมง เนื่องจากวัสดุอมัลกัมที่ใช้อุดฟันยังไม่แข็งแรงเต็มที่ ดังนั้น ควรเคี้ยวอาหารข้างที่ไม่ได้อุดไปก่อน ระมัดระวังเรื่องการรับประทานอาหาร เลือกรับประทานอาหารอ่อน ๆก่อน เพื่อรอให้วัสดุอมัลกัมมีความแข็งแรงเต็มที่เสียก่อน จึงจะสามารถใช้บดเคี้ยวได้ตามปกติ แต่หากเป็นวัสดุสีเหมือนฟันสามารถใช้งานได้เลยทันที
  2. ต้องระวังโดยไม่ให้มีการเคี้ยวในการกระทบกับฟันในส่วนที่อุด
  3. หลังจากอุดฟันแล้วควรมาพบทันตแพทย์อีกครั้ง เพื่อขัดแต่งให้สวยงาม และตรวจว่าวัสดุอุดฟัน ยังอยู่ในสภาพที่แข็งแรง ยังมีรูปร่างที่ถูกต้อง ไม่มีการบิ่นหรือแตกหัก
  4. หากมีการแตกของวัสดุที่อุดฟันไป อาจจะมีแตกหักการลุกลามไปจนถึงเนื้อฟันในส่วนที่ดีรอบๆวัสดุอุดฟัน จึงควรมาพบทันตแพทย์
  5. สำหรับผู้ที่มีอาการเสียวฟันภายหลังการอุดฟันเกิน 24 ชั่วโมง ควรงดอาหารที่ร้อนจัดหรือเย็นจัดก่อน กัดของแข็ง โดยเฉพาะการอุดฟันด้วยวัสดุสี้หมือนฟัน หรือ ฟันผุลึก อาการเสียวฟันจะลดลงเรื่อย ๆ ตามระยะเวลา และถ้าหากเกิน 1 เดือน ยังมีอาการเสียวฟัน ควรพบทันตแพทย์ เพราะอาจจะมีปัญหาอย่างอื่นแทรกซ้อน

การดูแลตัวเองหลังการอุดฟัน

เพื่อเป็นการรักษาสภาพฟันหลังจากการอุดฟันให้ดี ควรปฏิบัติตนเพื่อดูแลสุขอนามัยของช่องปากให้สะอาดอยู่เสมอ

  • ควรแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง หรืออาจจะเพิ่มการแปรงฟันหลังรับประทานอาหาร ด้วยก็ดี
  • ควรทำความสะอาดด้วยไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละ 1 – 2 ครั้ง
  • ควรใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ก่อนเข้านอนทุกวัน อมไว้ประมาณ 1 นาที และไม่ควรดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารภายใน 30 นาที
  • ควรพบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน
  • ในกรณีที่มีอาการเสียวฟันหรือปวดฟัน หรือมีการแตกและหลุดของวัสดุอุดฟัน ควรพบทันตแพทย์ทันที
  • แม้การอุดฟันจะเป็นวิธีการรักษาสำคัญที่ช่วยคงสภาพฟันให้ยังสามารถใช้งานอยู่ได้อีกนานเป็นสิบปี แต่วิธีดีที่สุดคือ การทำความสะอาดฟัน เหงือก และช่องปากให้สะอาดทุกวัน

สรุป

การอุดฟันจะเป็นวิธีที่ทันตแพทย์เลือกรักษาสำหรับผู้ที่มีปัญหาฟันผุเป็นส่วนใหญ่ การอุดฟัน เป็นเพียงการแก้ไขปัญหาการสูญเสียเนื้อฟันเท่านั้น แต่การป้องกันที่ดีที่สุด คือ การดูแลรักษาสุขภาพช่องปากของตนเอง ด้วยการแปรงฟันที่ถูกวิธี ลดพฤติกรรมการกินอาหารที่เหนียวติดฟัน การใช้ฟันผิดหน้าที่ ชอบเคี้ยวของแข็ง ฯลฯ และมาพบทันตแพทย์เป็นประจำ ปีละ 1-2 ครั้ง เพื่อตรวจสุขภาพช่องปาก ถ้าฟันผุ ก็ควรจะพบทันตแพทย์ เพื่อที่ว่าหากผุน้อยๆ ก็จะอุด ง่าย ไม่แพง ราคาถูก แต่ถ้าหากผุเยอะจนรักษาโดยการอุดฟันไม่ได้ ก็จะต้องรักษาโดยการทำรักษารากฟัน และทำครอบฟัน ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นไปอีก

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการอุดฟัน

มีโอกาสเจ็บ หรือเสียวฟันได้ในขั้นตอนของการกรอฟัน เพราะถ้าฟันผุลึก ตำแหน่งที่ฟันผุอาจอยู่ใกล้โพรงประสาท แต่ไม่ต้องกลัว เพราะหมอจะให้ยาชาเฉพาะที่ก่อนการกรอฟัน เพื่อป้องกันเสียวฟันที่อาจเกิดขึ้น แต่สำหรับบางท่านที่ฟันผุเพียงเล็กน้อยอาจไม่ต้องฉีดยาชาเลยก็ได้

สามารถ ติดต่อเพื่อเข้ารับการปรีกษาฟรี ได้ที่ลิงค์ด้านล่าง

LINE  SRIRACHA

TEL  SRIRACHA

LINE  PATTAYA

TEL  PATTAYA

การอุดฟันนั้น สามารถทำและเสร็จภายในวันเดียว แต่สำหรับกรณีทีผู้ป่วยมีจำนวนฟันที่ต้องเข้ารับการอุดหลายๆซี่นั้น อาจทำได้โดยการทยอยเข้ารับการอุดฟัน

โดยส่วนใหญ่อุดได้เกือยทุกกรณี ยกเว้นในกรณีที่ฟันผุ หรือแตกมากๆ ควรรักษาด้วย วีเนียร์ หรือ ครอบฟันจะดีกว่า มาดูว่าฟันแบบไหนอุดได้บ้าง

  • ฟันกรามเป็นรู สามารถอุดได้ค่ะและควรอย่างยิ่งที่จะต้องไปอุด เพราะฟันกรามจะทำหน้าที่หลักในการบดเคี้ยวอาหาร ถ้าเสาหลักเกิดมีบาดแผลก็จะทำงานได้ไม่ดีใช่ไหมล่ะ
  • ฟันมีรอยแตก ฟันบิ่น ฟันแตก ฟัน หัก
  • ฟันห่าง

โดยทันตแพทย์จะทำการอุดร่องฟันโดยการใช้วัสดุอุดฟันสีเหมือนฟันมาอุดตามขนาดของฟันแต่ละซี่ หรือใครที่มีงบประมาณขึ้นมาหน่อยก็สามารถทำวีเนียร์เพื่อปิดช่องว่างระหว่างฟันได้เช่นกัน

โดยทั่วไป การเสียวฟันหลังการรักษาจึงเกิดขึ้นได้น้อยมาก การอุดฟันสามารถทำและเสร็จภายในวันเดียว

ปัญหา ฟันห่างบริเวณฟันหน้า  ทำให้เกิดความไม่มั่นใจ ไม่กล้ายิ้ม เสียบุคคลิก และไม่อยากจัดฟัน เพราะต้องใช้ระยะเวลานาน หรือ ไม่อยากทำวีเนียร์เนื่องจากค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง การอุดฟัน สามารถช่วยแก้ปัญหาฟันห่างได้ หรือที่เราเรียกว่า การอุดปิดช่องว่างระหว่างฟัน

การอุดปิดช่องว่างระหว่างฟัน คือ ทันตกรรมเพื่อความงาม โดยใช้วัสดุอุดฟันคอมโพสิตเรซินสีเหมือนฟันมาอุดปิดเข้าไปบริเวณช่องว่างระหว่างฟัน โดย เลือกสีของวัสดุอุดฟันให้ใกล้เคียงกับสีฟันเดิม และปรับแต่งรูปร่างให้เข้ากับฟันธรรมชาติ เหมือนกับฟันข้างเคียง

แต่ข้อจำกัด คือ ไม่สามารถทำในบริเวณที่ใหญ่มากได้ อาจจะต้องใช้วิธี การจัดฟัน การทำวีเนียร์ น่าจะดีหว่า

สามารถ ติดต่อเพื่อเข้ารับการปรีกษาฟรี ได้ที่ลิงค์ด้านล่าง

LINE  SRIRACHA

TEL  SRIRACHA

LINE  PATTAYA

TEL  PATTAYA

ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น

1. ชนิดของวัสดุอุดที่ใช้
2. การบดเคี้ยว การใช้งาน การเลือกรับประทานอาหาร ที่ไม่แข็ง และเหนียวเกินไป
3. การดูแลรักษาความสะอาดช่องปากที่ดี
4. พฤติกรรมของแต่ละบุคคล เช่น นอนกัดฟัน การแปรงฟันแรงเกินไป เป็นต้น

จะมีความเสี่ยงกับ

ผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ ทันตแพทย์อาจให้ยาปฏิชีวนะตามใบสั่งแพทย์ก่อนจะเริ่มขั้นตอนการอุดฟัน เนื่องจากบางขั้นตอนสามารถทำให้แบคทีเรียในช่องปากเข้าสู่กระแสเลือดได้และทำให้เกิดการติดเชื้อในร่างกายได้ เข่น เยื่อบุหัวใจอักเสบ ซึ่งการให้ยาปฏิชีวนะก่อนขั้นตอนการรักษาจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดเยื่อบุหัวใจอักเสบโดยเฉพาะที่ลิ้นหัวใจได้

โรคความดันโลหิตสูง บางครั้งการอุดฟันจำเป็นต้องฉีดยาชา ก็จะมีคงามเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนได้เช่นกัน

หรือมีโรคประจำตัวอื่นๆก็ต้องแจ้งทันตแพทย์ให้ทราบทุกครั้ง ไม่ใช่เฉพาะการอุดฟัน

จริงๆแล้วอุดฟันที่ไหนก็ได้ ตามคลินิกทันตกรรมทั่วๆไป ยกเว้นในกรณีที่รอยผุหรือแตก บิ่น ก็ควรจะให้หมอที่มีความชำนาญเฉพาะทาง น่าจะดีกว่า ซึงทาง Modern Smile เรามีแพทย์ที่มีความชำนาญเฉพาะทาง ไว้คอยบริการ โทร เพื่อปรึกษาฟรี ได้ตามคลิกด้านล่าง

สามารถ ติดต่อเพื่อเข้ารับการปรีกษาฟรี ได้ที่ลิงค์ด้านล่าง

LINE  SRIRACHA

TEL  SRIRACHA

LINE  PATTAYA

TEL  PATTAYA

ราคาไม่แพงราคาประมาณ 500-3,000 บาท ขึ้นอยู่กับคงามยากง่ายและความซับซ้อนในการทำ สนใจโทร เพื่อปรึกษาได้ ฟรี ตามลิงค์ด้านล่าง

การอุดฟัน สามารถทำได้ในฟันผุที่ใหญ่ แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับเนื้อฟันดีที่เหลือด้วยว่า เหลือมากน้อยแค่ไหน และมีผนังล้อมรอบกี่ด้าน ทาวที่ดี มาปรึกษากับหมอเลยดีกว่า จะได้รู้ว่าทำได้หรือไม่ และราคาเท่าไหร่ โทรเลย ปรึกษา..ฟรี

การฉีดยาชาเพื่อการอุดฟัน โดยส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับรูฟันผุ ว่าลึกแค่ไหน ถ้าลึกจนถึงชั้นเนื้อฟัน หรือใกล้โพรงประสาทฟัน หมอก็จะฉีดยาชาให้อยู่แล้ว แต่ในบางกรณีที่คนไข้กลัวการอุดฟันมากๆ ก็สามารถแสดงความประสงค์กับหมอได้ว่า ต้องการฉีดยาชาเพราะกลัวการทำฟัน

ในปัจจุบัน วัสดุอุดฟันสีเหมือนฟัน มีความแข็งแรง ทนทาน เทียบเท่า สีโลหะ ดังนั้นการอุดฟันสีเหมือนฟันจึงไม่ได้นิยมเฉพาะฟันหน้าเท่านั้น แต่ในฟันหลัง ตอนนี้คนก็นิยมการอุดฟันสีเหมือนฟันเช่นกัน

มีอยู่ประมาณ 3 แบบ

อุดฟันแบบสีเหมือนฟัน

อุดฟันสีโลหะ

อุดฟันแบบออนเลย์ โดยส่วนใหญ่ใช้วัสดุจำพวก ทอง หรือ พอร์เซอร์เลน

ระยะเวลาในการอุดฟันจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับตำแหน่งฟัน สภาพฟันที่ผุ และความร่วมมือของคนไข้ ซึ่งโดยปกติใช้เวลา 30 – 45 นาที/ซี่

ทันตแพทย์ผู้ชำนสญการเกี่ยวกับการ อุดฟัน

ทพ.สุกิจ ศุภวรางกูล (กอล์ฟ)

ทพญ.อิศราภรณ์ ยังสูงเนิน (น้ำ)

ทพญ.ประไพ จงเสถียร(ไพ)

ทพ.ณภัทร หรุ่นลี (ตุล)

ทพญ.กชพร มงคลลิขิต (ใบเฟิร์น)

ทพญ.พิชญ์ธิดา เอื้อวิบูลย์กิจ (แน็ต)

ทพญ.มนัสชนก เกษมราษฎร์(แฮ็คส์)

ทพญ.อัญสิภกรณิ์ ตั้งทวี (กิฟท์)

ทพญ.รุจิรา ซิงห์ (แองเจิ้ล)

ทพญ.วศินี เหลืองวัฒนะพงศ์ (ปิ๊ง)

ทพญ.มาลินี สมิทช์ (มา)

ทพ.รัฐพล จงกลรัตน์ (บอม)

ทันตแพทย์ฉพาะทางอุดฟันและรากเทียม | ท.9393

ทพ.สุทธินาถ ชมเชย (เบิร์ด)
ประวัติการศึกษา

ทันตแพทย์ศาสตร์ บัณฑิต ม.มหิดล
วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาทันตกรรมหัตถการ ม.มหิดล
ประกาศนียบัตร สาขาทันตกรรมรากเทียม University of Frankfurt, Germany

ทันตแพทย์เฉพาะทางอุดฟัน | ท.13586

ทพญ.ฐิมาพร บูชากรณ์ (มีน)
ประวัติการศึกษา

ทันตแพทย์ศาสตร์บัณฑิต ม.จุฬาลงกรณ์
ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาทันตกรรมหัตถการ ม.จุฬาลงกรณ์