เกลารากฟัน

เกลารากฟัน วิธีแก้ปัญหาฟันโยกจากโรคเหงือกเหงือกจ๋าฟันลาก่อน

สารบัญ

 
 
เกลารากฟัน (Root Planing) คืออะไร?

คือ วิธีการรักษาคนที่เป็นโรคเหงือกอักเสบ โดยกำจัดคราบหินปูนที่เป็นที่อยู่ของจุลินทรีย์ที่ลึกลงไปยังบริเวณผิวรากฟัน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคปริทันต์และเหงือกอักเสบ เพื่อให้เนื้อฟันเรียบหรือที่เรียกว่า “การเกลารากฟัน” โดยการเกลารากฟันนี้การทำความสะอาดผิวรากฟันให้สะอาดและเรียบ (เกลา = ทำให้เรียบ) เพื่อให้คราบจุลินทรีย์สะสมได้ยากขึ้น ฟื้นฟูพื้นผิวรากฟันรวมถึงกระดูกรองรับฟัน ให้กลับมายึดฟันได้อย่างแน่นมากยิ่งขึ้น 

โดยส่วนมากเกิดจากไม่ได้ขูดหินปูนเป็นเวลานานๆ หรือแปรงฟันผิดวิธี ทำให้ปริมาณหินปูนที่เกาะบนเนื้อฟันค่อยๆ ขยายตัวลงไปยังด้านล่างใต้เหงือกลงไปบริเวณรากฟัน จนเหงือกไม่สามารถติดกับฟันโดยตรงเหมือนเดิม ทำให้มีร่องเหงือกที่ลึกกว่าปกติปกติแล้ว ร่องเหงือกจะมีความลึกที่ 1-3 มิลลิเมตร หากเป็นร่องลึกกว่า 4 มิลลิเมตร

ผู้ที่เป็นโรคเหงือกอักเสบรุนแรง มักต้องเข้าพบทันตแพทย์บ่อยครั้งกว่าคนทั่วไป เพื่อดูแลและตรวจเช็คอาการของโรคอย่างสม่ำเสมอ

 

 

ประโยชน์ของการรักษาโรคปริทันต์หรือเหงือกอักเสบ

  • ช่วยแก้ปัญหากลิ่นปาก (เกิดจากมีเชื้อแบคทีเรียในช่องปากจำนวนมาก) และเหงือกบวมอักเสบ
  • เมื่อเกลารากฟันไปแล้ว จะทำให้ผิวรากฟันเรียบ ไม่มีทั้งคราบหินปูนและคราบเชื้อโรคที่เกาะบนรากฟัน ก๋จะช่วยให้เหงือกกลับมายึดหยุ่นได้ดีขึ้น
  • เนื้อเยื่อเหงือกที่ยืดหยุ่นก็สามารถกลับมายึดแน่นติดกับผิวฟันได้เหมือนเดิม เมื่อผิวรากฟันเรียบ
  • ฟันจะแข็งแรงขึ้น ไม่โยก ทำให้สามารถกลับมาเคี้ยวอาหารได้และมีสุขภาพช่องปากที่ดีเหมือนเดิม
  • เมื่อผิวรากฟันเรียบขึ้น การดูแลรักษาสุขภาพแลพทำความสะอาดช่องปากได้ง่ายขึ้น เป็นการช่วยป้องกันการกลับมาของโรคปริทันต์ได้
  • เมื่อตรวจพบว่าเป็นโรคเหงือกอักเสบควรรีบรับการรักษาทันที

 

ขั้นตอนการเกิดโรคปริทันต์ มี 4 ขั้นตอน

 

เกลารากฟัน กับขูดหินปูนต่างกันยังไง?

หลายคนคงคุ้นเคยกับการขูดหินปูนเป็นอย่างดี แต่การเกลารากฟันอาจจะยังไม่เคยได้ยินหรือไม่รู้จัก และไม่ทราบว่าแตกต่างกันอย่างไร

ขูดหินปูน (Dental Scaling) คือการกำจัด คราบหินปูนและจุลินทรีย์ ที่สะสมบริเวณเหนือเหงือก ขอบเหงือก และใต้เหงือกลงไปเล็กน้อย โดยใช้เครื่องขูดหินปูน (sonic หรือ ultrasonic scaler) ในการกำจัดหินปูน เครื่องนี้จะมีเสียงดังและมีน้ำเยอะขณะขูด โดยจะขูดหินปูนเหนือเหงือกและอาจร่วมกับการใช้เครื่องมือปริทันต์ เช่น คิวเรตต์ (Curette) และ ซิกเกล (Sickle) ขูดหินปูนที่ยังหลงเหลือที่เครื่องขูดหินปูนเข้าไม่ถึง เช่น บริเวณซอกฟัน หรือใต้เหงือกเล็กน้อย การขูดหินปูนนั้นปกติจะไม่ต้องฉีดยาชา เพราะไม่ได้ทำให้ผู้ป่วยเจ็บมาก แต่อาจจะรู้สึกเสียวฟันและเจ็บเล็กน้อยที่เหงือกซึ่งผู้ป่วยมักจะทนได้ การขูดหินปูนเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีสภาวะเหงือกอักเสบ ซึ่งการอักเสบนั้นเกิดบริเวณเหงือกอย่างเดียว ยังไม่ทำอันตรายต่อ อวัยวะปริทันต์อื่นๆ ได้แก่ เคลือบรากฟัน เอ็นยึดปริทันต์และ กระดูกเบ้าฟัน สามารถขูดหินปูนทั้งปากได้เสร็จในครั้งเดียว

เกลารากฟัน (Root Planing) คือ การกำจัดหินปูนและจุลินทรีย์ ที่สะสมที่ลึกลงไปที่ผิวรากฟันด้านล่าง และเนื้อเยื่ออักเสบที่อยู่ใต้เหงือกลึกๆ ส่วนใหญ่จะต้องเริ่มต้นขูดหินปูนด้านบนๆให้หมดก่อน โดยใช้เครื่องขูดหินปูน (sonic หรือ ultrasonic scaler) ในการกำจัดหินปูน หลังจากนั้นก็จะใช้เครื่องมือปริทันต์โดยเฉพาะ เช่น คิวเรตต์ (Curette) ที่มีขนาดและรูปร่างต่างๆกัน  และ ซิกเกล (Sickle) เพื่อใช้ในการขูดหินปูนที่หลงเหลือออกและเกลารากฟันใต้เหงือก การเกลารากฟันโดยส่วนใหญ่ต้องทำร่วมกับการฉีดยาชาด้วย เพราะเจ็บมาก การเกลารากฟัน นอกจากจะรักษาการอักเสบของเหงือกแล้ว ยังช่วยรักษาอวัยวะปริทันต์อื่นๆ ด้วย เช่น เคลือบรากฟัน (Cementum) เอ็นยึดปริทันต์ (Periodontal Ligament) และ กระดูกเบ้าฟัน (Socket)  โดยทั่วไป การเกลารากฟันมักจะต้องรักษามากกว่าหนึ่งครั้ง ไม่สามารถทำให้เสร็จภายในครั้งเดียว พร้อมทั้งเพื่อคอยตรวจสอบด้วยว่า คนไข้สามารถดูแลทำความสะอาดได้อย่างถูกต้องหรือไม่ ดังนั้นมักมีราคาที่สูงกว่าการขูดหินปูนปกติ เนื่องจากเป็นการรักษาที่ใช้เวลามากกว่า และอาจต้องฉีดยาชาร่วมด้วย ผู้ที่เป็นโรคเหงือกอักเสบรุนแรง มักต้องเข้าพบทันตแพทย์บ่อยครั้งกว่าคนทั่วไป เพื่อดูแลและตรวจเช็คอาการของโรคอย่างสม่ำเสมอ

 

 

เมื่อไหร่ที่คุณควรขูดหินปูนและเกลารากฟัน?

สัญญาณที่แสดงว่าคุณมีปัญหาโรคเหงือกที่รุนแรง (ปริทันต์)

  • ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น
  • คราบหินปูนสะสมมากขึ้นบางครั้งสามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่าว่าเป็นก้อนสีเหลืองๆดำๆ บริเวณขอบเหงือก
  • มีร่องลึกปริทันต์ที่ไม่แข็งแรงและมีขนาดมากกว่า 4 มิลลิเมตร
  • ฟันโยก
  • บางครั้งมีอาการปวดตุ๊บๆ ที่บริเวณฟันที่เป็นมากๆ

ถ้ามีอาการเหล่านี้ ต้องรีบพบทันตแพทย์เฉพาะทางโรคเหงือก เพื่อเข้ารับการรักษาโรคเหงือกไม่ให้ลุกลามไปจนถึงขั้นที่ต้องสูญเสียฟันไปในที่สุด (เหงือกจ๋าฟันลาก่อน) ทั้งนี้ วิธีการรักษาโรคปริทันต์อาจพิจารณาจากหลายปัจจัย เช่น ปริมาณหินปูน และระดับการละลายตัวของกระดูกรองรับฟัน เป็นต้น โดยทันตแพทย์อาจเลือกรักษาด้วยการขูดหินปูนในกรณีที่อาการของโรคปริทันต์ยังอยู่ในระยะเริ่มต้น แต่หากตรวจพบว่าอาการของโรคเสี่ยงต่อการละลายของกระดูกหุ้มรากฟันเพิ่มมากขึ้น…

การเกลารากฟันก็เป็นหนึ่งในวิธีการที่สามารถกำจัดจุลินทรีย์และคราบหินปูน เพื่อฟื้นฟูพื้นผิวรากฟันรวมถึงกระดูกรองรับฟัน ให้กลับมายึดฟันได้อย่างเหนียวแน่นและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

 

ขั้นตอนการรักษาโรคปริทันต์

  • เอ็กซ์เรย์ (X-ray) ฟัน เพื่อทำการประเมินวินิจฉัย เพราะการรักษาโรคปริทันต์จะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของการเกิดโรค
  • ขูดหินปูน (Scaling) เพื่อกำจัดหินปูนและคราบจุลินทรีย์ที่เกาะอยู่บนตัวฟันและบริเวณขอบเหงือกออก โดยทันตแพทย์จะทำการขูดหินปูนทั้งบนตัวฟันและส่วนที่อยู่บนผิวรากฟันภายในร่องปริทันต์
  • เกลารากฟัน (Root Planing) เป็นการทำผิวรากฟันให้สะอาดและเรียบ เพื่อกำจัดหินปูนและคราบจุลินทรีย์ที่เกาะลึกลงไปในผิวรากฟันเป็นการขูดหินปูนที่อยู่ลึกลงไปใต้เหงือกมากๆ มักต้องฉีดยาชาและขูดที่ละส่วนหรือที่ละครึ่งปาก การรักษาโดยการเกลารากฟันนี้ส่วนใหญ่ใช้เวลานาน เพราะเป็นงานละเอียดและยากที่จะกำจัดหินปูนที่อยู่ลึกให้หมดได้ในครั้งเดียว
  • ผ่าตัดเปิดเหงือก (ศัลย์ปริทันต์ : Periodontal Surgery) ในกรณีที่เป็นโรคปริทัต์ชนิดรุนแรง เพื่อทำการรักษาการผ่าตัดเปิดเหงือก ทันตแพทย์จะพิจารณาวางแผนการรักษา ซึ่งจะมีหลายชนิดและหลายลักษณะงาน เช่น การตัดเหงือก, การกรอแต่งกระดูก การร่นเหงือก หรือ ผ่าตัดเพื่อขูดหินปูนบนผิวรากฟันที่ลึกมากๆ ขึ้นอยู่กับระดับการลุกลามของโรค
  • ถอนฟันในกรณีที่ฟันโยกมากๆ หากเป็นโรคปริทันต์รุนแรง จนไม่สามารถเก็บรักษาฟันไว้ได้
  • ต้องมาเข้ารับการรักษาหลายครั้ง เนื่องจากอาจมีการเกลารากฟันเป็นส่วนๆที่ละส่วนไม่ได้ทำทั้งปากในครั้งเดียว ผู้ป่วยจึงต้องมาพบแพทย์ตามนัด และทำความสะอาดช่องปากตามที่ทันตแพทย์แนะนำ
  • ในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะถ้าผู้ป่วยมีโรคประจำตัวร่วมด้วย เช่นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และควรระวังการมีเลือดไหลไม่หยุดในผู้ป่วยที่กินยาละลายลิ่มเลือดเป็นประจำ โดยควรจะปรึกษาแพทย์ประจำตัวผู้ป่วยเพื่อนำข้อมูลต่างๆมาวางแผนการรักษาให้ดีและปลอดภัยมากที่สุด
  • ต้องพบทันตแพทย์ประจำทุก 3-6 เดือน หลังจากรักษาเสร็จแล้ว เพื่อตรวจสอบว่าสุขภาพเหงือกดีขึ้นหรือไม่ และจะตรวจสภาพร่องลึกปริทันต์ด้วย
  • สุขภาพเป็นสีชมพูในกรณีส่วนใหญ่เนื้อเยื่อเหงือกที่เคยบวมแดงนั้นจะกลับมาแข็งแรงและอีกครั้ง อาการเลือดออกลดลงหรือหายไป ส่วนร่องลึกปริทันต์นั้นก็จะมีขนาดเล็กลงด้วย หลังจากนี้ ถ้าคุณดูแลใส่ใจฟันอย่างดี คุณก็อาจไม่ต้องทำการรักษาเพิ่มเติมอีก

 

เจ็บไหม

จะเจ็บมากกว่าการขูดหินปูนธรรมดา เพราะการเกลารากฟันคิอการทำความสะอาดพื้นผิวรากฟันด้านใต้เหงือก เครื่องมือก็จะโดนหรือบาดบริเวณเหงือกมากกว่าการขูดหินปูน แต่หมอก็จะฉีดยาชา เพื่อระงับความเจ็บปวดบริเวณเหงือก ดังนั้นก็จะเจ็บแค่ในยามฉีดยาเท่านั้นเพราะหลังจากยาชาเริ่มออกฤทธิ์แล้ว ผู้เข้ารับการรักษาก็จะไม่รู้สึกอะไรอีกจนกว่าจะเกลารากฟันเสร็จ โดยอาจมีอาการปวดบวมเล็กน้อยในหลังจากรักษาเสร็จ แต่ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับสุขภาพช่องปากของคนไข้แต่ละคนร่วมด้วย

 

การดูแลเหงือกให้แข็งแรง

หลังจากที่รักษาปัญหาโรคปริทันต์หรือโรคเหงือกแล้ว ไม่ว่าจะด้วยด้วยวิธีใดก็ตาม การดูแลสุขภาพอนามัยช่องปากเป็นประจำ ทำความสะอาดฟันแบบล้ำลึกนั้น อาจจะต้องไปพบทันตแพทย์ทุกๆ 3-6 เดือนเพื่อ

  • ช่วยตรวจสอบดูแลว่า เราดูแลสภาพช่องปากและความสะอาดได้ถูกต้องและสม่ำเสมอหรือไม่ เพราะคราบจุลินทรีย์เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคปริทันต์ ดังนั้นถ้าสามารถกำจัดคราบจุลินทรีย์ได้ทุกวันและสม่ำเสมอ เพราะแผ่นคราบจุลลินทรีย์ที่อ่อนๆจะเปลี่ยนเป็นแผ่นคราบหินปูนได้ภายใน 24  ชม.
  • ตรวจสุขภาพเหงือกอย่างละเอียดและวัดระยะของร่องลึกปริทันต์ว่ามีภาวะเหงือกร่นหรือไม่ ก็จะสามารถป้องกัน โรคปริทันต์ได้
  • อาการที่พบหลังการเกลารากฟันอาจมีการปวดระบมสามารถอมย้ำเกลือเพื่อลดอาการหรือทานยาตามทพ.สั่ง

การดูแลฟันของคุณเริ่มต้นขึ้นที่บ้านและในกิจวัตรประจำวันของคุณเอง ลองดูเคล็ดลับต่าง ๆ ในการดูแลช่องปากด้านล่างนี้เพื่อช่วยคุณเริ่มต้นสุขภาพฟันที่ดีได้เองที่บ้าน โดยปฏิบัติตามคำแนะนำเพื่อป้องกันการเป็นโรคปริทันต์ ดังนี้ 

  • ควรแปรงฟันและทำความสะอาดซอกฟันอย่างถูกวิธีเพื่อกำจัดคราบจุลินทรีย์ ให้ได้อย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 2 ครั้งด้วยยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์
  • เปลี่ยนแปรงสีฟันเมื่อพบว่าขนแปรงบานหรือเสียหายแล้ว
  • ขัดฟันด้วยไหมขัดฟันระหว่างซอกฟัน สะพานฟัน ครอบฟัน หรือรากฟันเทียมเป็นประจำทุกวัน อย่างน้อยวันละครั้ง
  • ใช้น้ำยาบ้วนปากเพื่อช่วยลดการเกิดคราบแบคทีเรีย
  • งดสูบบุหรี่

 

 

การป้องกันการเกิดโรคปริทันต์หรือเหงือกอักเสบ

สาเหตุหลักของโรคเหงือกอักเสบ โรคปริทันต์ เกิดจากแผ่นคราบจุลลินทรีย์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในระหว่างวันที่เราใช้ช่องปากตามปกติประจำวัน ดังนั้นการป้องกันโรคดังกล่าวก็คือการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกวิธีให้เป็นกิจวัตน์ประจำวัน เพราะอย่างที่เคยแจ้งไปแล้วว่า ถ้าเราทิ้งแผ่นคราบจุลลินทรีย์เกินกว่า 24 ชม. มันจะเริ่มแข็งตัวและเปลี่ยนไปเป็นคราบจุลลินรีย์ที่แข็งขึ้นและจะแปรงออกยากขึ้น นอกจากนี้จุลลินทรีย์ก็จะเริ่มทำร้ายเหงือกและผิวเคลือบฟัน นอกจากจะทำให้เป็นโรคเหงือกแล้วยังเป็นต้นเหตุของโรคฟันผุอีกด้วย ดังนั้นเรามาดูวิธีการป้องกันโรคดังกล่าวว่าจะต้องทำอย่างไร?

  • แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งด้วยยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ และอย่าแปรงแรงเกินไป
  • เปลี่ยนแปรงสีฟันเมื่อแปรงบานออก
  • ใช้ไหมขัดฟันอย่างถูกวิธีเป็นประจำทุกวัน อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เพื่อขจัดคราบแบคทีเรียไม่ให้สะสม
  • พบทันตแพทย์เพื่อทำความสะอาดฟันอย่างสม่ำเสมอ
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
  • เมื่อพบว่าเหงือกมีเลือดออกและเจ็บเล็กน้อยเวลาแปรงฟัน อาจจะเป็นอาการเบื้องต้นของโรคเหงือกอักเสบ ให้รีบพบทันตแพทย์ทันที

 

เกลารากฟัน ขูดหินปูน เบิกประกันสังคมได้ 900 บาท

 

สรุป

การรักษาโรคเหงือก โรคปริทันต์โดยการขูดหินปูนหรือเกลารากฟันนั้นป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ มันจะดีกว่าไหมถ้าเราไม่ให้แผ่นคราบจุลลินทรีย์มันเกิดขึ้นมาเลยโดยการกำจัดมันทิ้งทุกวัน (ไม่ให้อยู่เกิน 24 ชม.) ซึ่งก็คือการป้องกันโรคเหงือก โรคปริทันต์ไปโดยปริยายเราสามารถป้องกันโรคดังกล่าว ได้โดยการทำความสะอาดซอกฟันด้วยไหมขัดฟัน หรือแปรงซอกฟัน เป็นประจำทุกวันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้าและก่อนเข้านอน ก็จะป้องกันไม่ให้เกิดหินปูนและเหงือกอักเสบตามมาได้ ซึ่งถ้าหลังจากรักษาโรคเหงือกเรียบร้อยแล้ง แต่รักษาทำความสะอาดไม่ดี ไม่แปรงฟัน โรคดังกล่าวก็จะกลับมาเป็นเหมือนเดิมหรือรุนแรงกว่าเดิม

หลังจากรักษาโรคเหงือกแล้วแล้ว รอยโรคก็จะยังคงอยู่ การขูดหินปูนนั้นควรทำทุก 6 เดือน แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการประเมินช่องปากของทันตแพทย์ อาจเป็นทุก 3 เดือน ปีละ 1 ครั้งตามแต่ปริมาณหินปูนที่เกิดขึ้นใหม่และสภาวะการอักเสบของผู้ป่วยเอง

 

 

FAQ : คำถามที่เกี่ยวกับเกลารากฟัน

ทำเสร็จกี่วันหายปวด

เนื่องจากมีการใช้เครื่องมือเกลารากฟันล้วงลงไปใต้เหงือกเพื่อทำความสะอาดผิวรากฟัน ดังนั้นอาจจะรู้สึกปวด และระบมได้ในวันแรก หลังจากหมดฤทธิ์ยาชา แพทย์อาจจะให้ทานยาแก้ปวดได้ จำพวก พาราเซตามอน

เบิกประกันสังคมได้ไหม

การเกลารากฟัน คือการรักษาโรคเหงือก ดังนั้นสามารถเบิกปรพกันสังคมได้แต่ไม่เกิน 900 บาท

เกลารากฟัน แล้วเลือดไหลไม่หยุด

ให้รีบกลับมาพบทันตแพทย์ โดยด่วน

เกลารากฟันทั้งปากได้หรือไม่

การเกลารากฟัน เป็นการรักษาที่ต้องใช้ความละเอียด และต้องค่อยๆทำทีละซี่ ซึ่งต้องใช้เวลานาน โดยส่วนใหญ่จะแบ่งการรักษาออกเป็น 2-6 ครั้ง แล้วแต่ความรุนแรงของโรค

เกลารากฟัน ที่ไหนดี

สามารถเข้ารับการรักษาได้ทุกที่ ที่มีหมอเฉพาะทางทางด้านรักษาโรคเหงือก หรือ หมอที่มีประสบการณ์ทางด้านการรักษาโรคปริทันต์มาอย่างดี

เกลารากฟันเพื่ออะไร

เพื่อให้ผิวรากฟันเรียบ โดยกำจัดหินปูนและคราบจุลินทรีย์ที่เกาะลึกลงไปในผิวรากฟันเป็นการขูดหินปูนที่อยู่ลึกลงไปใต้เหงือกมากๆ (เกลา = ทำให้เรียบ) เพื่อให้คราบจุลินทรีย์สะสมได้ยากขึ้น ฟื้นฟูพื้นผิวรากฟันรวมถึงกระดูกรองรับฟัน ให้กลับมายึดฟันได้อย่างแน่นมากยิ่งขึ้น นอกจากจะรักษาการอักเสบของเหงือกแล้ว ยังช่วยรักษาอวัยวะปริทันต์อื่นๆ ด้วย เช่น เคลือบรากฟัน (Cementum) เอ็นยึดปริทันต์ (Periodontal Ligament) และ กระดูกเบ้าฟัน (Socket) 

ข้อดีของการ เกลารากฟัน

ช่วยแก้ปัญหากลิ่นปาก (เกิดจากมีเชื้อแบคทีเรียในช่องปากจำนวนมาก) และเหงือกบวมอักเสบ
จะทำให้ผิวรากฟันเรียบ ไม่มีทั้งคราบหินปูนและคราบเชื้อโรคที่เกาะบนรากฟัน ก๋จะช่วยให้เหงือกกลับมายึดหยุ่นได้ดีขึ้น
เนื้อเยื่อเหงือกที่ยืดหยุ่นก็สามารถกลับมายึดแน่นติดกับผิวฟันได้เหมือนเดิม เมื่อผิวรากฟันเรียบ
ฟันจะแข็งแรงขึ้น ไม่โยก ทำให้สามารถกลับมาเคี้ยวอาหารได้และมีสุขภาพช่องปากที่ดีเหมือนเดิม
เมื่อผิวรากฟันเรียบขึ้น การดูแลรักษาสุขภาพแลพทำความสะอาดช่องปากได้ง่ายขึ้น เป็นการช่วยป้องกันการกลับมาของโรคปริทันต์ได้

เกลารากฟัน กินข้าวได้ไหม

ในวันแรกๆ แนะนำให้ทานอาหารอ่อนๆ ไม่มีรสจัด

เกลารากฟัน กี่วันหาย

จะมีอาการเจ็บที่เหงือกและอวัยวะรอบๆ ประมาณ 1-2 วัน

เกลารากฟัน จัดฟันได้ไหม

ควรจะรักษาโรคเหงือกให้หายก่อน ที่จะเริ่มจัดฟัน เพราะการจัดฟันอาจจะทำให้โรคเหงือกมีอาการรุนแรงมากขึ้น

ทันตแพทย์เฉพาะทางโรคเหงือก | ท.2479

ทพญ.มาลินี สมิทช์ (มา)

ประวัติการศึกษา

  • ทันตแพทย์ศาสตร์ บัณฑิต ม.มหิดล
  • ประกาศนียบัตรชั้นสูง (ปริทันต์) ม.มหิดล
  • เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต ม.จุฬาลงกรณ์

 

ทันตแพทย์ชำนาญรักษาโรคเหงือก | ท.5579

ทพ.รัฐพล จงกลรัตน์ (บอม)

ประวัติการศึกษา

  • ทันตแพทย์ศาสตร์ บัณฑิต ม.สงขลานครินทร์
  • ทันตกรรมรากเทียม ม.มหิดล