นอนกัดฟัน

นอนกัดฟัน

สารบัญ

 

นอนกัดฟันคืออะไร

10 วิธีเช็คอาการนอนกัดฟัน

วิธีแก้ไขอาการนอนกัดฟัน

9 วิธีป้องกันไม่ให้เกิดการนอนกัดฟัน

สรุป

 

 

 

 

นอนกัดฟันคืออะไร

 

การนอนกัดฟัน (Bruxism) คือ ความผิดปกติในขณะนอนหลับอย่างหนึ่ง เนื่องจากกล้ามเนื้อที่ใช้บดเคี้ยวอาหารมีการหดตัวที่ผิดปกติ จึงเกิดการกัดฟันขึ้น ผู้ที่มีอาการนอนกัดฟันมักจะไม่ทราบสาเหตุของการนอนกัดฟันด้วยตนเองคล้ายกับผู้ที่มีอาการนอนกรน

การนอนกัดฟันที่มีลักษณะขบฟันแน่น ๆ มักไม่มีเสียงดังทำให้ไม่มีผู้ใดได้ยิน คนที่นอนกัดฟันแบบนี้จะไม่รู้ตัวเลยว่าเป็นคนนอนกัดฟัน ดังนั้นการนอนกัดฟันตัวเอง จึงจัดเป็นภัยเงียบที่ท่านอาจไม่รู้ตัวได้ ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาฟันต่างๆ ตามมาเช่น ฟันบิ่น ฟันแตก ฟันร้าว สึกจนทะลุโพรงประสาทฟัน ทำให้ปวดฟันเคี้ยวอาหารไม่ได้ ต้องไปพบทันตแพทย์และต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากในการรักษาฟัน

อย่างไรก็ตามหากทันตแพทย์พบว่ามีนัยสำคัญทางจิตวิทยาที่ทำให้กัดฟันหรือเกิดความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ ผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องปรึกษานักบำบัด ที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับอาจให้ทำการทดสอบ

จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่าประชากรโลกกว่าร้อยละ 45 เคยมีอาการผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่งจากการนอน เช่น นอนละเมอ นอนกรนหรือนอนกัดฟัน ในขณะที่ร้อยละ 35 มีอาการนอนไม่หลับ เมื่อนอนหลับอย่างไม่มีคุณภาพ รู้สึกง่วงและหาวอยู่ตลอดเวลา แน่นอนว่าสิ่งที่ตามมาคือ ประสิทธิภาพในการทำงานหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ในช่วงระหว่างวันลดลง

 

 

การนอนกัดฟัน เกิดจากอะไรกันน่ะ?

 

  1. เกิดจากสภาพจิตใจ เช่น เกิดจากการดำเนินชีวิตประจำวันที่อาจมีความเครียดสะสมระหว่างวัน อาจเกิดจากความเร่งรีบในการเดินทาง และการทำงาน รวมไปถึงการได้รับข้อมูลที่ทำให้เกิดความเคลียด ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ให้เรานอนกัดฟันในเวลานอนหลับได้ โดยที่เราไม่รู้สึกตัว

 

  2. เกิดจากสภาพช่องปากหรือสภาพฟัน ที่มีความผิดปกติ เช่น เป็นโรคปริทันต์ หรือฟันเก มีการเรียงตัวของฟันที่ผิดปกติ ซึ่งในขณะที่หลับ ก็ส่งผลให้นอนกัดฟัน โดยที่ไม่รู้ตัวได้เช่นกัน

 

  3. เกิดจากในคนไข้หรือผู้สูงอายุ ที่มีการสูญเสียฟันแท้ไป โดยที่ไม่ได้ใส่ฟันปลอมทดแทนในการปรับสมดุลช่องปากและฟัน ก็อาจจะทำให้มีช่องโหว่ระหว่างฟัน จำทำให้เกิดอาการนอนกัดฟันได้

 

  4. เกิดจาก มีการดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง หรือเครื่องดื่มประเภท คาเฟอีน หรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของ แฮลกอฮอร์ รวมไปถึงการสูบบุหรี่ มวน หรือบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งสารเหล่านี้ก็เป็นสิ่งกระตุ้นที่อาจก่อให้เกิดการนอนกัดฟันได้เช่นกัน

 

 5. เกิดจาก การใช้หรือทานยารักษาโรคบางชนิด เช่น ยากล่อมประสาท ยารักษาหรือระงับอาการทางจิต  ยารักษาโรคซึมเศร้า เป็นต้น

 

 

 

10วิธีเช็คคุณนอนกัดฟันหรือไม่
                               จะรู้ได้ยังไงนะ ว่าเรานอนกัดฟันอะป่าววววว

 

 

 

 

10 เช็คอาการนอนกัดฟัน

 

   1. มีอาการหายใจทางปากเวลานอน

   2.มีอาการฟันแตกหรือฟันร้าวขณะบทเคี้ยวอาหาร

   3.รู้สึกมีอาการที่ติดขัดเวลาอ้าปากหรือเวลาหุบปาก

   4.มีอาการเสียงดังของการขบฟันระหว่างนอน 

   5.มีอาการเจ็บตรงบริเวณกกหู

   6.มีอาการเสียวฟันเมื่อดื่มเครื่องดื่มร้อนหรือเย็น และขณะแปรงฟัน

   7.ได้ยินเสียงที่เกิดจากข้อต่อขากรรไกร

   8.มีอาการปวดศรีษะ

   9.มีอาการสึกกร่อนของเหงือก

   10.มีอาการปวดและอับเสบบริเวณข้อต่อของขากรรไกร

 

 

ปัจจัยอื่นๆที่เพิ่มโอกาสการนอนกัดฟัน ได้แก่

 

1.อายุ การนอนกัดฟันเป็นเรื่องที่ปกติกับเด็ก แต่โดยทั่วไปจะหายเองตอนเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น

2.บุคลิกภาพหรือลักษณะเฉพาะของแต่ละคน เช่นเป็นบุคคลที่มีนิสัยก้าวร้าว สมาธิสั้น

3.สารกระตุ้นต่างๆ เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีน

4.การใช้ยารักษาโรค การนอนกัดฟันสามารถเกิดขึ้นได้จากผลข้างเคียงของยาบางชนิดรวมไปถึงยาจิตเวช

 

 

วิธีการแก้ไขอาการนอนกัดฟัน

 

1.การสวมที่ครอบฟันขณะนอนหลับ ซึ่งผลิตมาเพื่อให้พอดีกับฟันของคนไข้โดยเฉพาะ โดยที่ครอบฟันจะป้องกันไม่ให้ฟันบนบดกับฟันล่าง แม้ว่าจะเป็นการจัดการกับการนอนกัดฟันที่ดี แต่นี่ไม่ใช่การรักษา

2.การหาวิธีผ่อนคลายความเครียดนื่องจากความเครียดจะเป็นสาเหตุหลักของการนอนกัดฟัน อะไรก็ตามที่สามารถลดความเครียดก็จะช่วยลดการนอนกัดฟันได้ อาทิ การเดินเล่นในสวนสาธารณะ การอ่านหนังสือ หรือการแช่น้ำในอ่างอาบน้ำ การหาวิธีจัดการกับความเครียดในสถานการณ์ต่างๆ ก็อาจช่วยได้ นอกจากนี้ การใช้ผ้าอุ่นแนบกับใบหน้าด้านข้างก็สามารถช่วยลดอาการปวดกล้ามเนื้อจากการนอนกัดฟันได้

3.การลดจุดที่สูงสุดของฟัน เพื่อการทำให้ฟันเท่ากัน การบดเคี้ยวที่ผิดปกติโดยที่ฟันไม่สบกันพอดีสามารถแก้ได้โดยการเสริมฟัน การครอบฟัน หรือการจัดฟันได้

 

 

วิธีรักษาแบบใช้ยารักษา

 

1. ยาคลายกล้ามเนื้อ แพทย์อาจให้ใช้ในบางรายด้วยการใช้ยาคลายกล้ามเนื้อก่อนนอน โดยใช้เป็นระยะเวลาสั้นๆ

2. การฉีดโบทอกซ์ (OnabotulinumtoxinA: Botox) การฉีดโบทอกซ์อาจช่วยผู้ที่มีการนอนกัดฟันอย่างรุนแรง และไม่ตอบสนองต่อการบรรเทารักษาอื่น ๆ

นอนกัดฟันรักษาด้วยเฝือกสบฟัน ซี่งเฝือกสบฟัน สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิดได้แก่

 

 

เฝือกสบฟัน
              เฝือกสบฟัน

     

 

 

   1. เฝือกสบฟันแบบนุ่ม ทางงานวิจัยเผยว่า การใส่เฝือกสบฟันแบบนุ่มอาจยิ่งกระตุ้นให้สบฟันมากยิ่งขึ้น

 

   2. เฝือกสบฟันแบบแข็ง ข้างนอกเป็นแบบแข็ง แต่ข้างในอ่อนนุ่ม ทำให้รู้สึกสบายตอนสวมใส่ แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถป้องกันอาการกัดฟันได้จริง ซึ่งทาง Vital Sleep Clinic ได้เลือกอุปกรณ์ชนิดนี้ในการรักษาคนไข้ เฝือกสบฟันแข็ง (Splint) สามารถใช้รักษาอาการนอนกัดฟัน ใส่ตอนนอนเพื่อช่วยให้อาการปริทันต์อักเสบดีขึ้น อุปกรณ์ชนิดนี้ช่วยป้องกันไม่ให้ฟันได้รับบาดเจ็บจากการบดเคี้ยวฟันในช่วงเวลากลางคืน โดยอุปกรณ์ชนิดนี้จะปกคลุมพื้นผิวของฟันทั้งหมด จึงช่วยให้กล้ามเนื้อลดความตึงตัวลง อุปกรณ์สามารถผลิตได้โดยทันตแพทย์หรือห้องแลปที่ดูแลด้านนี้โดยเฉพาะ วัสดุที่นำมาใช้ผลิต splint คือ อะคริลิกใส ที่มีความแข็ง โดยทันตแพทย์มักจะแนะนำให้ใส่อุปกรณ์ครอบแค่ขากรรไกรบนหรือขากรรไกรล่างแค่อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ทั้งนี้ ทันตแพทย์จะแนะนำให้ใส่อุปกรณ์ เพื่อลดการสึกหรอของฟัน ปวดกรามอาการข้อต่อขากรรไกรอักเสบ นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันฟันสึกจากการนอนกัดฟันได้เพราะเมื่อใส่เครื่องมือแล้ว ฟันบนและฟันล่างจะไม่สามารถสัมผัสกันโดยตรง ทั้งนี้แนะนำให้ใช้อุปกรณ์ภายใต้คำแนะนำของทันตแพทย์เนื่องจากจะต้องมีการนัดมาตรวจและดูอาการเป็นระยะด้วย

 

 

 

ยางกัดฟัน
                                                                                                                                                ยางกัดฟัน

 

 

ยางกัดฟัน ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันไม่ให้ฟันถูกทำลายจากการบดเคี้ยว และการขบเน้นฟัน และในขณะที่กำลังหลับ เป็นอุปกรณ์สำหรับคนที่มีอาการนอนกัดฟัน ซึ่งได้รับความนิยมในสังคมเป็นอย่างมาก อีกทั้งหาซื้อง่ายตายร้านขายยา หรือ shop ทั่วไป ซึ่งตัวยางกัดฟันนี้ได้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับครอบฟันในขณะที่พักผ่อนนอนหลับ เพื่อลดอาการสบฟันโดยที่เราไม่รู้ตัว โดยทั่วไปแล้วลักษณะของยางกัดฟันจะเป็นยางใส หรือบางรุ่นก็ผลิตมาจากซิลิโคน แต่งต่างกันออกไป นอกจากฟันยางกันกัดฟัน จะลดอาการกัดฟันได้แล้ว ยังลดอาการสึกหรอของฟัน เมื่อเกิดการบดเคี้ยวขณะหลับได้เช่นกัน

 

 

9 วิธีป้องกันไม่ให้เกิดการนอนกัดฟัน

 

1. ตรวจสุขภาพช่องปากประจำปี ปีละ 2 ครั้ง หรือทุกๆ 6 เดือน

2. ตระหนักถึงความเครียดและความวิตกกังวลและหาวิธีการผ่อนคลาย

3. ลดปริมาณเครื่องดื่มที่ผสมแฮลกอฮอร์เพื่อไม่ให้สุขภาพของฟันแย่ลง

4. ลดปริมาณหรือเลิกการสูบบุหรี่

5. หลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติดทุกชนิด

6. หลีกเลี่ยงการกัดสิ่งของเช่น ปากกา ดินสอ หรือของที่เป็นของแข็ง

7. สังเกตุพฤติกรรมของการนอน ถ้าหากว่ามีอาการกัดฟัน ก็ควรหาวิธีการหลีกเลี่ยง และหาวิธีการป้องกัน

8. ฝึกนิสัยการนอนหลับอยู่เสมอ การนอนหลับที่ดีจะช่วยให้ลดอาการ นอนกัดฟัน

9.สอบถามจากคนรอบข้างระหว่างนอน มีเสียงที่เกิดจากการนอนกัดฟันที่ออกจากตัวเราหรือไม่ หากมี ควรแนะนำพบแพทย์ หรือหาแนวทางรักษา

 

 

 

สรุป

การนอนกัดฟันเป็นเรื่องเล็กที่ไม่ควรมองข้าม เมื่อมีอาการนอนกัดฟันแล้วเราสามารถรักษาให้หายได้ด้วยตนเอง โดย ลดความเครียด ความเครียดเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการนอนกัดฟัน เพราะฉะนั้นควรลดความเครียด ด้วยการหาแพทย์แนะนำให้ปรึกษาเรื่องความเครียด ออกกำลังกาย หรืออาจจะไปทำสมาธิ นอกจากนั้นอาจจะหาสิ่งที่ช่วยเยียวยา เช่น ใช้ชาคาโมไมล์หรือลาเวนเดอร์ ที่สามารถทำให้สงบผ่อนคลายได้ก่อนนอน หยุดดื่มเครื่องเดิมที่มีคาเฟอีน เช่นกาแฟ และรวมถึงเครื่องดื่มให้พลังงาน พยายามอย่าทานช็อกโกแล็ตมากเกินไป คาเฟอีนเป็นสารที่กระตุ้นอาจทำให้เกิดความเครียดไม่ผ่อนคลาย
หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ เพราะแอลกอฮอล์เป็นตัวที่ทำให้เราซึมเศร้าซึ่งทำให้นอนหลับยากกว่าเดิม แต่ในกลุ่มบางคนส่วนใหญ่อาจทำให้การนอนหลับง่ายขึ้น เติมแคลเซียมเข้าไปในอาหาร แคลเซียมนั้นจำเป็นต่อการทำงานของกล้ามเนื้อและระบบประสาทถ้าปริมาณไม่เพียงพอ อาจจะทำให้เกิดอาการเกร็งตึง หรือปัญหากล้ามเนื้ออื่นๆ

 

 

 

ปรึกษาหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทันตกรรมโมเดิร์นสไมล์ คลินิกศรีราชา และพัทยา

 

085-2471333 สาขาศรีราชา

085 – 2471222  สาขาพัทยา

Line : สาขาศรีราชา

Line :สาขาพัทยา 

Instagram Modernsmile

WEBSITE