ผ่าฟันคุดก่อนหรือหลังจัดฟัน อันไหนดีกว่ากัน??
การผ่าฟันคุดก่อนจัดฟัน เป็นฝันร้ายของคนที่กำลังจะจัดฟัน (orthodontics treatment) ซึ่งมักเกิดขึ้นกับหลายๆคน ซึ่งกลัวการถอนการผ่า แต่กำลังจัดฟันหรือตัดสินใจจัดฟัน
ฟันคุด คืออะไร
คือฟันที่ขึ้นช้าจนไม่สามารถขึ้นได้ตามปกติเหมือนฟันซี่อื่น บางคนฟันคุดจะโผล่ขึ้นมาเอง แต่บางคนฟันคุดอาจจะฝั่งอยู่ใต้เหงือกต้องเอกซ์เรย์เท่านั้นจึงจะเห็นโดยปกติแล้วฟันคุดจะอยู่กรามซี่ในสุด มีคนไข้จัดฟันไม่น้อยที่ต้องกำจัดฟันคุดออกจากปากไปเสียก่อนหากคิดจะจัดฟัน
ถ้ามี ฟันคุด ที่อยู่ในข้อบ่งชี้ในการผ่า แต่ไม่มีอาการใดๆ ไม่ต้องผ่าฟันคุดก่อนหรือหลังจัดฟันได้หรือไม่
ฟันคุด ที่ไม่มีอาการ แต่อยู่ในข้อบ่งชี้ที่ควรผ่า แนะนำว่าควรผ่าออก เพราะหากไม่ผ่าออกจะเกิดผลเสียในระยะยาว เช่น ทำให้ฟันข้างเคียงที่เราใช้งานเป็นปกติ ต้องมีปัญหาตามมาด้วย ไม่ว่าจะผุ ปวด จนถึงขั้นสูญเสียฟันดีๆ หากเสียฟันข้างเคียง ก็จะทำให้ฟันคู่สบยื่นยาวลงมา และอาจจะต้องถูกถอนต่อไป การไม่ผ่าออก 1 ซี่ในปัจจุบัน อนาคตก็อาจจะต้องผ่าอยู่ดีและมีฟันดีๆ ที่ต้องถูกถอนร่วมด้วยอีก 2 ซี่
ผ่าฟันคุดก่อนหรือหลังจัดฟัน อายุมีผลต่อการผ่า ฟันคุด หรือไม่
เมื่อคนเราอายุมากขึ้น กระดูกจะแข็งขึ้น แต่การซ่อม สร้าง ตลอดจนการหายของแผลจะไม่ดีเท่าในช่วงวัยรุ่น การผ่าจะยากขึ้น และความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียงในการผ่าเพิ่มขึ้น เช่น ฟันที่อยู่ติดกับฟันคุดเป็นโรคเหงือก อายุที่เหมาะสมในการผ่า เฉลี่ยอยู่ที่ 16-20 ปี เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าว จะเอาออกง่ายและ เกิดอาการบวมช้ำจะน้อย
ต่อไปนี้คือเหตุผล ที่คุณควร หรือจำเป็นต้องผ่าเอาฟันคุด ฟันเกิน ฟันฝัง ออก
- ป้องกันอันตรายจากเหงือกอักเสบ
ฟันที่ขึ้นตรง แต่ขึ้นได้ไม่เต็มซี่ เหงือกจึงคลุมฟันบางส่วนไว้ เมื่อมีเศษอาหารเข้าไปติดอยู่ใต้เหงือก แล้วทำความสะอาดไม่ดี เหงือกจะอักเสบ มีกลิ่น ปวดและบวมเป็นหนอง หากทิ้งไว้ไม่ยอมรักษา อาการอาจรุนแรง ถึงขั้นติดเชื้อลามยังใบหน้าและลำคอ หน้าบวม เชื้อโรคสามารถแพร่ไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย แบบนี้อันตราย - ป้องกันฟันซี่ข้างเคียงผุ
ฟันที่ขึ้นไม่ตรง และไปชนกับฟันซี่หน้า ทำให้ตำแหน่งที่ชนเกิดเป็นซอกลึก มักมีเศษอาหารเข้าไปติด ทำความสะอาดยาก นานเข้าฟันที่โดนชนก็ผุ พอเริ่มรู้สึกปวด ฟันที่ถูกชนมักผุมาก ผุจนถึงโพรงประสาทฟัน และจำเป็นต้องรักษารากฟัน เพื่อเก็บฟันไว้ แต่ถ้าการรักษารากล้มเหลว หรือไม่ได้รักษา จนต้องถอนฟันซี่นั้นออก เราก็จะเสียฟันดีๆ ไปอีกหนึ่งซี่ ถ้าเราจัดฟันด้วย แผนการรักษาจะเปลี่ยนทันที อาจทำให้ใช้เวลาจัดฟันมากขึ้น เสียเงินมากขึ้น หรืออาจต้องใส่ฟันปลอม เพราะไม่สามารถจัดฟันเพื่อปิดช่องว่างนี้ได้ - ป้องกันโรคปริทันต์อักเสบ
ฟันที่ขึ้นไม่ตรง และไปชนกับฟันซี่ข้างหน้า ตำแหน่งที่ชนเกิดเป็นซอกลึกและแคบ มักมีเศษอาหารเข้าไปติด และทำความสะอาดยาก เนื่องจากอยู่ในซอกลึก นานเข้าก็กลายเป็นโรคปริทันต์อักเสบ ที่สามารถทำลายกระดูกเบ้าฟันไปเรื่อยๆ จนไม่เหลือกระดูกให้ฟันอยู่ สุดท้ายคงต้องเสียฟันดีๆ เพิ่มอีกหนึ่งซี่ - ป้องกันรากฟันซี่ข้างเคียงละลาย
ฟันที่ขึ้นไม่ตรง และไปชนกับรากฟันซี่ข้างหน้า มันสามารถชนไปเรื่อยๆ จนรากฟันซี่นั้นละลาย ผลคือต้องเสียฟันดีๆ ไปอีกหนึ่งซี่ ยิ่งถ้าจัดฟันด้วย เรื่องจะวุ่นวายขึ้น เหมือนที่ได้บอกไป - ป้องกันอาการปวด
เพราะ ฟัน มีแรงผลักเพื่อที่จะงอกขึ้น แต่มันถูกกันโดยฟันซี่ข้างเคียง ทำให้มีแรงย้อนกลับ ไปกดเส้นประสาทที่อยู่ใกล้เคียง อาการปวดสามารถกระจาย จากตำแหน่งฟันคุด ไปยังบริเวณอื่นของใบหน้า เช่น ปวดเบ้าตา ปวดบริเวณหน้าหู ปวดศีรษะ เป็นต้น - ป้องกันการเกิดถุงน้ำหรือเนื้องอก
ฟันฝังและฟันเกิน ที่ไม่ได้ชนกับฟันซี่อื่น อาจดูเหมือนไม่มีอะไร แต่ถุงหุ้มฟันอาจมีการขยายตัว จนทำให้เกิดเป็นถุงน้ำหรือซีสต์ (Cyst) ซีสต์นี้สามารถขยายตัวออก และเบียดทำลายกระดูกรอบๆ จนหายไปเรื่อยๆ หากไม่เคยเอกซเรย์ ก็จะไม่รู้ว่ามีมันอยู่ ผู้ป่วยมักรู้ตัวเมื่อเห็นใบหน้าเอียง ปวด หรือกรามข้างหนึ่งใหญ่กว่าอีกข้าง ซึ่งถ้าซีสต์มีขนาดใหญ่มากๆ ก็อาจต้องตัดกระดูกขากรรไกรบางส่วนออก การทำศัลยกรรมใบหน้า ให้กลับมาเป็นเหมือนเดิมนั้นเป็นเรื่องยาก ต้องเสียเวลา เสียค่าใช้จ่ายอีกมากมาย อันนี้คงเป็นฝันร้ายแน่ๆ ดังนั้นใครที่มีฟันฝังและฟันเกิน หากยังไม่พร้อมเอาออก ก็ควรเอกซเรย์ดูเป็นระยะๆ หากมีอะไรผิดปกติ ก็จะได้รีบแก้ไขทัน - เพื่อป้องกันกระดูกขากรรไกรหัก
เพราะการที่มี ฟันคุด งอยู่ ทำให้กระดูกขากรรไกรบริเวณนั้น บางกว่าตำแหน่งอื่น กลายเป็นจุดอ่อน เพราะกระดูกขากรรไกรและฟันคุดนั้นเป็นคนละส่วนกัน หากเกิดอุบัติเหตุหรือโดนกระแทก กระดูกขากรรไกรบริเวณนั้นจะหักง่าย การรักษา อาจใช้วิธีผ่าตัดเล็ก เปิดเหงือกให้เห็นฟันคุด ทันตแพทย์จัดฟันจะติดเครื่องมือลงบนฟันคุด จากนั้นจะค่อยๆ ดึงฟันคุดให้ขึ้น ร่างกายก็จะค่อยๆ สร้างกระดูกตามธรรมชาติขึ้นมาทดแทน อย่างไรก็ตาม ในกรณีนี้ หากประเมินแล้วว่า คงไม่สามารถดึงฟันคุดให้งอกขึ้นได้ และการผ่าออกก็เสี่ยงจนเกินไป การปล่อย ฟันคุด ไว้อย่างนั้น ก็คงเป็นทางเลือกสุดท้าย ที่อาจเสี่ยงน้อยที่สุด
ข้อบ่งชี้ในการผ่า ฟันคุด
- การติดเชื้อ มักพบกับฟันที่กำลังจะขึ้นหรือขึ้นบางส่วน มีอาการอักเสบรอบๆ ของเนื้อเยื้อฟันที่จะขึ้น เรียกว่า “ฝาเหงือกอักเสบ” มักจะมีอาการเป็นๆหายๆ บางครั้งอาจเกิดการติดเชื้อ ทำให้บวมบริเวณแก้มได้ **ดังนั้นฟันคุดที่ขึ้นได้บางส่วน ส่วนมากมีความจำเป็นต้องผ่าออก**
- ผุ หรือมีอาหารยัดบริเวณฟันคุดขึ้น ซึ่งจะทำให้ฟันข้างเคียงผุตามไปด้วย
- ขัดขวางการขึ้นของฟันซี่อื่น
- เป็นจุดอ่อนทำให้ขากรรไกรล่างหักได้ง่าย
- เป็นสาเหตุให้เกิดถุงน้ำ
ผ่าฟันคุดก่อนหรือหลังจัดฟัน และ ทำไมจัดฟันถึงต้องผ่าฟันคุด ?
โดยปกติคนไข้ที่จะจัดฟัน จะมีข้อบ่งชี้ในการผ่าฟันดังกล่าวออกคล้ายกับคนไข้ทั่วไป ยกเว้นแต่แผนของการจัดฟันจะสามารถทำให้นำฟันคุดมาใช้งานได้ หรือทำให้ฟันคุดขึ้นได้ง่ายขึ้น ทำให้การผ่าตัดง่ายขึ้นคนไข้อายุช่วง 10-14 ปี ส่วนใหญ่จะยังไม่จำเป็นต้องเอาฟันคุดออก หากไม่ต้องเคลื่อนฟันกรามไปด้านหลังตรงตำแหน่งที่มีฟันคุดและยังอยู่ในกระดูกทั้งซี่ แข็งแรงและไม่เบียดเบียนใคร
ส่วนผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 25 ปี ที่ต้องการจัดฟันและตรวจพบว่ามีฟันคุด อาจต้องเอาออกก่อนจัดฟัน ซึ่งควรสอบถามจาก ทันตแพทย์จัดฟันที่ทำการรักษาให้ มีคนไข้จัดฟันบางท่านที่คุณหมอวินิจฉัยว่าต้องกำจัดฟันคุดออกจากปากไปเสียก่อนเพื่อการจัดฟันที่ง่าย ไร้อุปสรรคมากขึ้น ข้อดีในการผ่าฟันคุด มีดังนี้
- ง่ายต่อการเรียงตัวของฟัน ในกรณีที่ต้องใส่เครื่องมือจัดฟัน
- ลดโอกาสในการเกิดเหงือกอักเสบ
- ลดโอกาสผุในอนาคต
- ลดโอกาสในการเกิดกลิ่นปาก
- ง่ายต่อการดูแลรักษาความสะอาด
- ตัดปัญหาอาการปวดฟันจากแรงผลักของฟันคุด
- ป้องกันอาการรากฟันของฟันซี่ข้างเคียงละลายจากฟันคุด
- ช่วยไม่ใหเกิดโอกาสในการเกิดปัญหาฟันล้มน้อยลง
ไม่ใช่ทุกคนต้องผ่าฟันคุดก่อนการจัดฟัน
ดังนั้นจะผ่าฟันคุดก่อนหรือ หลังจัดฟัน ก็ขึ้นอยู่กับ การวินิจฉัยของทันตแพทย์ว่าฟันคุดนั้น ซึ่งเป็นไปตามแผนการจัดฟันที่เหมาะสมของคนไข้แต่ละคนคะ
ผ่าฟันคุดก่อนจัดฟัน บางทีก็มีประโยชน์
บางกรณี เราอาจดึงฟันเหล่านี้ขึ้นมาใช้ได้ ไม่จำเป็นต้องผ่าออก เช่น คนที่ฟันหาย เพราะฟันถูกฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกร ขึ้นเองไม่ได้ เราอาจใช้เครื่องมือจัดฟันดึงฟันฝังให้ขึ้นมาได้ ช่วยให้คนผู้ป่วยไม่ต้องใส่ฟันปลอม
ผ่าฟันคุดก่อนการจัดฟัน อาจจะไม่จำเป็น เพราะเราสามารถจัดฟันเพื่อดึงฟันคุด
ฟันซี่ในสุด ที่ไม่ได้เอียงมาก ก็อาจใช้เครื่องมือจัดฟันดึงให้ขึ้นมาได้ เพื่อที่ผู้ป่วยจะได้มีฟันดีๆ ใช้มากขึ้นอีกหนึ่งซี่ หรือบางคนที่ถอนฟันกรามออกไป เราก็อาจดึงฟันซี่สุดท้ายมาปิดช่อง แต่การทำแบบนี้ ก็จะเพิ่มความยุ่งยาก เพิ่มเวลาในการจัดฟันขึ้น และไม่ใช่ทุกคนจะทำได้
จัดฟัน ผ่าฟันคุดตอนไหน
โดยทั่วไป เราสามารถผ่าฟันคุด ผ่าฟันเกิน ภายหลังจากติดเครื่องมือจัดฟันไปแล้ว ไม่จำเป็นต้องผ่าออกให้หมด ก่อนติดเครื่องมือ สำหรับเด็กวัยรุ่น เนื่องจากฟันกรามล่างซี่ในสุด ซึ่งมีโอกาสกลายเป็นฟันคุด จะขึ้นในช่วงอายุ 16-25 ปี ดังนั้นเด็กวัยรุ่นมัธยมต้นบางคน ที่ฟันกรามซี่ดังกล่าวยังไม่ขึ้น อาจต้องรอดูจนถึงช่วงมัธยมปลาย หากมันกลายเป็นฟันคุด ทันตแพทย์ก็อาจแนะนำให้ผ่าออก
ควรผ่าฟันคุดตั้งแต่อายุยังน้อย
ฟันคุด ฟันเกิน และฟันฝัง แม้วันนี้จะยังไม่มีอะไร แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า มันจะสงบแบบนี้ไปตลอดชีวิต หากมันไปสร้างเรื่องตอนเราอายุมาก ก็อาจกลายเป็นปัญหา เนื่องจากคนอายุมากมักมีโรคยอดฮิต เช่น หัวใจ เบาหวาน ความดัน ซึ่งอาจทำให้การรักษายุ่งยากซับซ้อนขึ้นไปอีก ดังนั้นหากเลือกได้ ก็ควรผ่าออกตอนอายุยังน้อย ขณะที่ร่างกายยังแข็งแรง โอกาสที่จะเกิดผลแทรกซ้อนจึงมีน้อยกว่า จริงไหม วัยรุ่นทั้งหลาย
จริงๆ แล้วเราโชคดีกว่าอีกหลายคน เพราะหากเราไม่จัดฟัน ก็แทบไม่มีโอกาสได้เอกซเรย์ฟิล์มใหญ่ ที่สามารถมองเห็นฟันฝังหรือฟันเกิน คงต้องรอให้เกิดปัญหาก่อนเราจึงจะรู้ตัว แต่มันอาจช้าไปแล้วก็ได้
ผลข้างเคียงจากการผ่าฟันคุด
ผลข้างเคียงหรืออาการแทรกซ้อน ของการผ่ามีหลายอย่าง เช่น อาการปวด บวม อักเสบบริเวณแผลผ่าตัด เหมือนการผ่าตัดเล็กโดยทั่วไป ซึ่งก็ไม่ใช่อาการร้ายแรง โดยอาการเหล่านี้จะค่อยๆ ดีขึ้นได้เอง แต่หากมีไข้หรือติดเชื้อ หลังผ่าตัด 2-3 วันแล้วอาการปวดบวมยังไม่บรรเทา แต่กลับมีอาการเพิ่มมากยิ่งขึ้น แบบนี้ก็ควรรีบกลับไปพบทันตแพทย์ทันที เพื่อหาทางแก้ไข
อาการชา จากการผ่าฟันคุด
ผลข้างเคียงบางอย่างที่อาจพบได้ แต่น้อยมากๆ ก็คือ อาการชา ในบางรายที่อยู่ลึกมาก จนใกล้เส้นประสาทในกระดูกขากรรไกรล่าง บางครั้งเส้นประสาทอยู่ใกล้ฟันมาก จนแทบแยกออกจากกันไม่ได้ หลังผ่าตัด จึงอาจมีอาการชาบริเวณริมฝีปาก หรือบริเวณแผลที่ผ่าตัด เนื่องจากเส้นประสาทบริเวณนั้นถูกกระทบกระเทือน อาการชานี้จะค่อยๆ ดีขึ้น แต่ต้องใช้เวลา อาจอยู่เป็นวัน เดือน หรือเป็นปี ขึ้นอยู่กับระดับการบาดเจ็บของเส้นประสาทในระหว่างการผ่าตัด แต่อาการชานี้ไม่ได้ทำให้อ้าปากไม่ขึ้น ลิ้นด้าน หรือกินอาหารไม่อร่อย ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงอาการชา ที่อาจเกิดขึ้น จึงแนะนำให้ผ่าในช่วงวัยรุ่น อายุประมาณ 18-25 ปี เนื่องจากรากฟันจะยังไม่ยาว จนไปชิดกับเส้นประสาทดังกล่าว
ผ่าฟันคุดก่อนหรือหลังจัดฟัน อย่ากลัวจนเกินเหตุ
ผลข้างเคียงเหล่านี้พบได้น้อยมาก จึงไม่ต้องกังวลจนเกินเหตุ จนไม่ยอมไปผ่าออก เพราะถ้าเก็บไว้ ผลัดวันประกันพรุ่ง ไม่ยอมผ่าออกเสียที กลับจะมีอันตรายมากกว่าผลข้างเคียงเหล่านี้เสียอีก สรุปคือ หากพบว่ามีฟันคุด และทันตแพทย์แนะนำให้เอาออก ไม่ว่าเราจะจัดฟันหรือไม่ ก็ควรรีบเอาออก ก่อนที่มันจะสร้างปัญหาให้เรา
😻😻และพิเศษสุดตอนนี้กับแคมเปญสุดชิค กับ MODERN SMILE ฟันสวยพักฟรี เริ่มแล้ววันนี้ทุกสาขา ฝากกดไลน์กดแชร์เพื่อรับไปเลย 1แต้มง่ายๆ#ฟันสวย #ฟันขาว #จัดฟัน #โปรโมชั่นทำฟัน #ทำฟันศรีราชา #ทำฟันพัทยา
ต้องบอกก่อนคะว่าไม่ได้มาเล่นๆกับแคมเปญที่มีอายุการเก็บสะสมแต้มถึง 3 ปี อ่านไม่ผิดคะ 3ปีแบบยาวๆให้การทำฟันของคุณคือความคุ้มค่า สำหรับลูกค้าคนพิเศษ
ทุกๆการชำระค่าบริการทันตกรรมหรือสินค้าใดๆก็ตาม 400บาทจะได้รับไปเลย 1แต้ม ยอดชำระยิ่งมากยิ่งมีสิทธิ์ได้ของรางวัลเร็ว ไม่ต้องลุ้นไม่ต้องจับสลากใครก็มีสิทธิ์ได้รับ ของรางวัลจากแคมเปญสุดพิเศษนี้!!!
#หากลูกเพจ พี่ๆน้อง เห็นว่าข้อความนี้เป็นประโยชน์อย่าลืมช่วยแอดฝาก กดlike กดshare กดติดตามเพื่อพบสาระเรื่องฟันดีๆได้ทุกวันคะ⭐️⭐️
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
085 – 2471333 สาขาศรีราชา
085 – 2471222 สาขาพัทยา
รีบเลย!!! โปรนี้ไม่ควรพลาด