ผ่าฟันคุด จะรอปวดค่อยเอาออกได้ไหม?
ผ่าฟันคุด จะรอปวดค่อยเอาออกได้ไหม ใครได้ยินก็สั่นๆแล้ว อีกอย่างก็ก็กลัวหมออ่าและถ้าปวดแล้วล่ะ? จะเอาออกเลยทันทีได้ไหม? CR.จากเพจ ฟันสวยฟ้าผ่า ไปหาคำตอบกันคะ ก่อนอื่นถ้าคุณคิดว่าบทความนี้เป็นประโยชน์อย่าลืมกด like กดแชร์ กดติดตามเพื่อพบสาระดีๆเรื่องฟันได้ทุกวันคะ
การ ผ่าฟันคุด เชื่อว่าหลายๆ คนในที่นี้ คงต้องเคยได้ยินคำว่า “ฟันคุด” กันมาบ้างแล้วล่ะ บางคนได้ยินเพื่อนหรือคนรอบข้างเล่าเกี่ยวกับประสบการณ์การไปผ่าฟันคุดมา จนทำให้กลัวไม่กล้าไปผ่า วันนี้เรามีข้อมูลดีๆ มาไขข้อสงสัยให้ฟังกันว่า ฟันคุดคืออะไร ทำไมต้องผ่าฟันคุด แล้วถ้าไม่ผ่าจะมีผลอย่างไร?
สารบัญ
ฟันคุด เราป้องกันการเกิดได้ไหม??
ผ่าฟันคุด ฟันคุด คือ อะไร
ผ่าฟันคุด ฟันคุด คือ ฟันที่ไม่สามารถขึ้นได้ตามปกติในช่องปาก อาจจะโผล่ขึ้นมาได้เพียงบางส่วน หรือฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกรทั้งซี่ ฟันซี่ที่พบว่าเป็นฟันคุดบ่อยที่สุด คือ ฟันกรามล่างซี่สุดท้าย ซึ่งอยู่ด้านในสุดของกระดูกขากรรไกรล่าง โดยปกติแล้วฟันซี่นี้ควรจะขึ้นในช่วงอายุ 18 – 25 ปี อาจโผล่ขึ้นอยู่ในลักษณะตั้งตรง เอียง หรือนอนในแนวระนาบ และมักจะอยู่ชิดกับฟันข้างเคียงเสมอ นอกจากนี้ฟันซี่อื่นๆ ก็อาจจะคุดได้ เช่น ฟันเขี้ยว ฟันกรามน้อยแต่พบได้น้อยกว่าฟันกรามล่างซี่สุดท้าย
ผ่าฟันคุด แต่จะทราบได้อย่างไรว่ามีฟันคุด
ก่อน ผ่าฟันคุด เมื่อตรวจในช่องปาก ถ้าพบว่าฟันซี่ใดโผล่ขึ้นมาได้เพียงบางส่วน หรือฟันซี่ใดหายไป ก็ให้สงสัยไว้ก่อนเลยว่าน่าจะมีฟันคุด เพื่อให้แน่ใจก็ควรจะเอ็กซเรย์ดู ก็จะทำให้ทราบว่ามีฟันคุดฝังอยู่ในตำแหน่งไหนบ้าง การเอ็กซเรย์ฟิล์มพานอรามิกจะเห็นฟันทั้งหมดในกระดูกขากรรไกรทั้งบนและล่าง รวมถึงพยาธิสภาพที่เกิดขึ้นในกระดูกขากรรไกร
ทำไมถึงต้องผ่า ฟันคุด
การ ผ่าฟันคุด มีจุดประสงค์หลายประการ ได้แก่
- เพื่อป้องกันการอักเสบของเหงือกที่ปกคลุมฟัน เพราะจะมีเศษอาหารเข้าไปติดอยู่ใต้เหงือก แล้วไม่สามารถทำความสะอาดได้ เชื้อแบคทีเรียที่มาสะสมอยู่จะทำให้เหงือกอักเสบ ปวดและบวมเป็นหนอง ถ้าทิ้งไว้การอักเสบจะลุกลามไปใต้คาง หรือใต้ลิ้น ซึ่งจะทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ง่าย นับว่าเป็นอันตรายอย่างยิ่ง
- เพื่อป้องกันฟันข้างเคียงผุ ซอกฟันระหว่างฟันคุดกับฟันกรามซี่ที่สองที่อยู่ชิดกันนั้น ทำความสะอาดได้ยาก เศษอาหารจะติดค้างอยู่ ทำให้เกิดฟันผุได้ทั้งสองซี่
- เพื่อป้องกันการละลายตัวของกระดูก แรงดันจากฟันคุดที่ พยายามดันขึ้นมา จะทำให้กระดูกรอบรากฟัน หรือรากฟันข้างเคียงถูกทำลายไป
- เพื่อป้องกันการเกิดถุงน้ำหรือเนื้องอก ฟันคุดที่ทิ้งไว้นานไปเนื้อเยื่อที่หุ้มรอบฟันคุด อาจจะขยายใหญ่ขึ้นกลายเป็นถุงน้ำ แล้วโตขึ้นโดยไม่แสดงอาการเลย จนในที่สุดเกิดการทำลายฟันซี่ข้างเคียง และกระดูกรอบๆ บริเวณนั้น
- เพื่อป้องกันกระดูกขากรรไกรหัก เนื่องจากการที่มีฟันคุดฝังอยู่ จะทำให้กระดูกขากรรไกรบริเวณนั้นบางกว่าตำแหน่งอื่น เกิดเป็นจุดอ่อน เมื่อได้รับอุบัติเหตุ หรือกระทบกระแทก กระดูกขากรรไกรบริเวณนั้นก็จะหักได้ง่าย
- วัตถุประสงค์อื่นๆ เช่น ในการจัดฟัน ต้องถอนฟันกรามซี่ที่ สาม ออกเสียก่อนเพื่อให้ง่ายต่อการเคลื่อนฟันซี่อื่นๆ
การตัดสินใจของทันตแพทย์ว่าจะทำการผ่าตัดหรือไม่ จะต้องตรวจดูรูปร่างของช่องปาก และตำแหน่งของฟันคุดก่อน รวมทั้งยังต้องคำนึงถึงอายุด้วย แต่การผ่าฟันคุดอาจไม่เกิดขึ้นในทันทีที่พบฟันคุดเพราะในบางครั้งอาจต้องใช้เวลาหลายเดือนเพื่อติดตามความเปลี่ยนแปลงของฟันคุด เพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจอีกขั้นหนึ่ง แต่ถ้าหากในระหว่างการติดตามอาการผู้ป่วยมีอาการปวด อาการเหงือกบวมที่ผิดปกติ หรือมีกลิ่นเหม็นออกมาจากบริเวณหลังซอกฟัน ก็อาจต้องพิจารณาอย่างเร่งด่วนอีกครั้ง
ขั้นตอนการผ่า ฟันคุด มีอะไรบ้าง น่ากลัวอย่างที่เขาบอกกันหรือเปล่า
การ ผ่าฟันคุด ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด ทันตแพทย์จะใช้ยาชาเฉพาะที่เพื่อระงับความรู้สึก หลังจากนั้นก็จะเปิดเหงือกให้เห็นฟัน แล้วใช้เครื่องกรอตัดฟันออกมา ล้างทำความสะอาดและเย็บแผลปิด เท่านี้ก็เสร็จแล้ว สามารถกลับบ้านได้ไม่ต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาล
หลังผ่าตัดฟันคุดแล้วจะมีอาการอะไรบ้าง จะพูดหรือรับประทานอาหารได้ไห
อาการที่พบได้หลังการผ่าตัดฟันคุดคือ จะมีอาการปวดและบวมบริเวณแก้มด้านที่ทำผ่าตัดสัก 2 – 3 วัน อ้าปากได้น้อยลง ทานยาแก้ปวดและยาปฏิชีวนะที่ได้รับไปอาการก็จะบรรเทาลงได้ เรื่องอาหารคงต้องทานอาหารอ่อนไปก่อนสักระยะหนึ่ง เพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนต่อแผล ส่วนการพูดก็พูดได้ตามปกติ แต่อย่าพูดมากนักเดี๋ยวจะเจ็บแผลได้
วิธีการผ่าตัด ฟันคุด
การผ่าฟันคุดจำเป็นจะต้องใช้ยาชาหรือยาสลบเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดและช่วยให้การผ่าตัดเป็นไปได้ง่ายขึ้น ซึ่งในการผ่าตัดทางช่องปากมียาชาหรือยาสลบที่แพทย์มักใช้อยู่ 3 ชนิด ได้แก่
- ยาชาเฉพาะที่ ทันตแพทย์จะฉีดยาชาเฉพาะที่เข้าไปยังจุดใกล้เคียงบริเวณที่ผ่าตัด โดยอาจฉีดเพียง 1 เข็ม หรือมากกว่า ขึ้นอยู่กับผู้ป่วย ซึ่งก่อนฉีดนั้นแพทย์ก็จะทำให้บริเวณเหงือกที่จะทำการฉีดยานั้นเกิดความรู้สึกชา โดยการใช้ยาชาเฉพาะจุดจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกตัวตลอดการผ่าตัด แต่จะไม่รู้สึกเจ็บบริเวณที่ผ่าตัด จะมีก็แต่เพียงความรู้สึกถึงแรงดันหรือการเคลื่อนไหวของอุปกรณ์ภายในช่องปาก
- ยาชาชนิดกล่อมประสาท ยาชาชนิดนี้ทันตแพทย์แพทย์จะให้ผ่านการฉีดเข้าทางสายน้ำเกลือที่บริเวณแขน ยาชาชนิดกล่อมประสาทจะทำให้สติสัมปะชัญญะลดลงในขณะผ่าตัด จนทำให้ไม่รู้สึกเจ็บและมีความทรงจำเกี่ยวกับการผ่าตัดที่จำกัด โดยการใช้ยาชาชนิดนี้ อาจใช้ร่วมกับการใช้ยาชาเฉพาะที่
- ยาสลบ ในบางกรณีที่จำเป็น แพทย์อาจพิจารณาให้ใช้ยาสลบในการผ่าตัดด้วยวิธีการดมยาสลบ หรือการฉีดเข้าที่สายน้ำเกลือบริเวณแขน บางครั้งอาจใช้ทั้ง 2 วิธี ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยหมดสติ จากนั้นทีมผ่าตัดจะเริ่มทำการผ่าตัดพร้อม ๆ กับการเฝ้าระวังผลการใช้ยาสลบ การหายใจ ชีพจร ของเหลว และความดันโลหิตอย่างใกล้ชิด ซึ่งผู้ป่วยจะไม่รู้สึกเจ็บและไม่มีความทรงจำเกี่ยวกับการผ่าตัด ทั้งนี้การใช้ยาสลบจะมีการใช้ยาชาเฉพาะจุดร่วมด้วยเพื่อช่วยลดอาการเจ็บปวดหลังจากการผ่าตัด
เมื่อยาชาหรือยาสลบออกฤทธิ์จนทำให้ผู้ป่วยไม่มีความรู้สึกบริเวณที่จะทำการผ่าตัดแล้ว ทันตแพทย์จะเริ่มลงมือทำการผ่าตัดด้วยการใช้มีดกรีดที่เนื้อเยื่อเหงือกเพื่อเปิดให้เห็นกระดูกและฟันคุด จากนั้นจะค่อย ๆ ตัดกระดูกที่ขวางรากฟันคุดออก และแบ่งฟันคุดออกเป็นส่วน ๆ เพื่อให้ง่ายต่อการนำออกมา ก่อนจะค่อย ๆ นำเศษฟันออกจากบริเวณแผล ล้างทำความสะอาดบริเวณแผล และนำเศษฟันหรือกระดูกที่ตกค้างอยู่ออกจนหมด แล้วจึงเย็บปิดแผล แต่ในบางกรณีก็ไม่จำเป็นต้องทำการเย็บปิดปากแผล จากนั้นในขั้นตอนสุดท้าย ทันตแพทย์จะนำผ้าก๊อซมาปิดบริเวณปากแผลเพื่อควบคุมให้เลือดหยุดไหล
การเตรียมตัวก่อน ผ่าตัดฟันคุด
การผ่าฟันคุดเป็นการผ่าตัดที่สามารถทำได้โดยมักไม่ต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาล โดยหลังจากการผ่าตัด ผู้ป่วยจะสามารถกลับบ้านได้ ทั้งนี้ก่อนการผ่าตัดทางโรงพยาบาลหรือคลินิกทันตกรรมจะนัดวันพร้อมกับการแนะนำถึงการปฏิบัติตนก่อนเข้ารับการผ่าตัด ซึ่งผู้ป่วยควรถามคำถามเหล่านี้กับผู้นัดหมายการผ่าตัดเพื่อแนวทางในการเตรียมตัวที่ถูกต้อง
ต้องให้ผู้อื่นมารับหลังจากการผ่าตัดหรือไม่ ?
ควรไปถึงคลินิกทันตกรรมหรือโรงพยาบาลเมื่อใด ?
จำเป็นต้องงดน้ำหรืองดอาหารก่อนการผ่าตัดหรือไม่ หากต้องงดควรงดเมื่อใด ?
ในกรณีที่มีการใช้ยาตามแพทย์สั่งอยู่ก่อนแล้ว สามารถรับประทานยาก่อนผ่าตัดได้ไหม หากได้จะต้องรับประทานก่อนการผ่าตัดนานเท่าใด ?
ก่อนผ่าตัดควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ยาตามใบสั่งแพทย์หรือไม่ ?
ข้อห้ามในการผ่า ฟันคุด
การผ่า ฟันคุด ถือเป็นข้อห้ามสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการป่วยร้ายแรง เช่น ภาวะกระดูกตายจากการฉายแสงรักษาโรคมะเร็ง โรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมได้ โรคไตวายระยะสุดท้าย โรคตับ มะเร็งเม็ดเลือดขาวระยะสุดท้าย มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ความดันโลหิตสูง ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรืออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบริเวณหลอดเลือดสมอง เนื่องจากอาการป่วยเหล่านี้จะทำให้การผ่าตัดเป็นไปได้ยาก หรืออาจส่งผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
นอกจากนี้สตรีมีครรภ์ที่อยู่ในช่วงการตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 1 หรือ 3 อาจจะหลีกเลี่ยงการผ่าฟันคุดไปก่อนจนกว่าจะคลอดบุตร แต่ถ้าหากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ก็ควรปรึกษาทันตแพทย์ก่อนทำการผ่าตัด อีกทั้งผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบโลหิต เช่น โรคโฮโมฟีเลีย ซึ่งเป็นความผิดปกติในการแข็งตัวของเลือด ไม่ควรทำการผ่าตัดจนกว่าจะได้รับการรักษา ส่วนผู้ป่วยที่ใช้การรักษาด้วยสเตียรอยด์ หรือผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ต้องใช้การรักษาด้วยเคมีบำบัด หากต้องทำการผ่าตัดก็จะต้องได้รับการดูแลมากเป็นพิเศษ หากผู้ป่วยมีอาการติดเชื้อที่บริเวณฟันคุดต้องทำการรักษาอาการอักเสบและติดเชื้อบริเวณแผลเสียก่อน
หลังผ่าตัด ฟันคุด จะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง
- กัดผ้าก๊อซนาน 1 ชั่วโมง กลืนน้ำลายตามปกติ
- ห้ามบ้วนเลือดและน้ำลาย เพราะอาจทำให้เลือดไหลไม่หยุดได้
- หลังคายผ้าก๊อซแล้ว ถ้ามีเลือดซึมจากแผลผ่าตัด ให้ใช้ผ้าก๊อซที่สะอาดกัดใหม่อีกประมาณ ½ ชั่วโมง
- ประคบน้ำแข็งบริเวณแก้ม เฉพาะวันที่ทำผ่าตัด
- รับประทานอาหารอ่อน
- รับประทานยาให้ครบตามที่ทันตแพทย์สั่ง
- งดออกกำลังกาย หรือ เล่นกีฬา
- แปรงฟันทำความสะอาดในช่องปากตามปกติ
- ตัดไหมหลังผ่าตัด 7 วัน
- หากมีปัญหาหรือผลแทรกซ้อนเกิดขึ้น กลับมาพบทันตแพทย์ได้ก่อนวันนัด
การผ่าตัด ฟันคุด มีอันตรายหรือผลแทรกซ้อนอะไรได้บ้าง
หากในระยะการพักฟื้นหลังการผ่าตัดผู้ป่วยมีอาการผิดปกติ เช่น
- มีไข้
- กลืนไม่ได้
- หายใจลำบาก
- มีเลือดออกมากผิดปกติ
- มีหนองออกมาบริเวณเบ้าฟัน
- เกิดอาการชา หรือกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าอ่อนแรง
ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณของผลข้างเคียงหรือภาวะแทรกซ้อนได้ โดยอาการแทรกซ้อนที่มักจะพบหลังจากการผ่าฟันคุดคือ
- กระดูกเบ้าฟันอักเสบ (Alveolar Osteitis) – เป็นภาวะแทรกซ้อนที่สามารถพบได้บ่อยที่สุดหลังจากการผ่าฟันคุด ซึ่งจะเกิดจากการที่ลิ่มเลือดไม่แข็งตัวภายในกระดูกเบ้าฟัน หรือลิ่มเลือดภายในกระดูกเบ้าฟันหลุดไป จนทำให้กระดูกเบ้าฟันว่างและแห้ง และเป็นสาเหตุของอาการปวดหรืออาการปวดตุบ ๆ ที่บริเวณเหงือกหรือขากรรไกรอย่างรุนแรง นอกจากนี้ยังอาจมีกลิ่นและรสไม่พึงประสงค์ออกมาจากบริเวณกระดูกเบ้าฟัน อาการนี้จะกินเวลา 3-5 วันหลังจากผ่าตัด ซึ่งถ้าหากผู้ป่วยไม่ดูแลตัวเองตามคำแนะนำของแพทย์ และมีปัจจัยเหล่านี้ เช่น สูบบุหรี่ อายุมากกว่า 25 ปี มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพช่องปากอื่น ๆ และมีการผ่าฟันคุดที่ค่อนข้างซับซ้อนก็จะยิ่งทำให้เสี่ยงต่ออาการอักเสบมากขึ้น ซึ่งหากผู้ป่วยมีอาการกระดูกเบ้าฟันอักเสบควรไปพบทันตแพทย์เพื่อทำการรักษา โดยทันตแพทย์จะทำการล้างทำความสะอาดบริเวณกระดูกเบ้าฟันและปิดด้วยผ้าปิดแผลที่สามารถเปลี่ยนใหม่ได้จนกว่าแผลจะหาย
- อาการบาดเจ็บที่เส้นประสาทใบหน้า – เป็นอาการที่อาจพบได้หลังจากการผ่าตัด แต่เกิดขึ้นได้ไม่บ่อยนัก โดยอาการดังกล่าวอาจก่อให้เกิดอาการเจ็บแปลบและชาบริเวณลิ้น ริมฝีปากล่าง คาง ฟัน และเหงือกได้ อาการบาดเจ็บดังกล่าวจะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเพียงไม่กี่สัปดาห์ หรือไม่กี่เดือน แต่ถ้าหากนานกว่านั้น นั่นแปลว่าเส้นประสาทดังกล่าวเสียหายอย่างรุนแรง ซึ่งอาการดังกล่าวสามารถส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันได้ เช่น รับประทานอาหารหรือน้ำได้ลำบาก ดังนั้นผู้ป่วยควรรับทราบความเสี่ยงเรื่องภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวก่อนทำการผ่าตัด
นอกจากนี้ยังอาจพบภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้เพิ่มเติม เช่น
- ขากรรไกรแข็งหรือมีอาการอ้าปากได้ลำบาก
- อาการช้ำที่เหงือกหายช้า
- ฟันซี่อื่นได้รับการกระทบกระเทือน
- ขากรรไกรหักเนื่องจากฟันคุดติดแน่นกับบริเวณกรามมากเกินไป แต่พบได้น้อย
- โพรงไซนัสถูกเปิดออกเนื่องจากฟันคุดซี่ด้านบนถูกถอนออกและทะลุถึงโพรงไซนัส แต่พบได้น้อย
อีกทั้งการผ่าตัดอาจทำให้เกิดเลือดออกในปริมาณมาก และหากเลือดไม่หยุดไหลภายใน 24 ชั่วโมง ควรไปพบแพทย์เพราะอาจเป็นอันตรายได้
ฟันคุด รอให้ขึ้นก่อนไหม? แล้วค่อยผ่า
😌😌ไม่จำเป็นต้องรอให้เห็นฟันคุด หากตรวจพบสามารถเอาออกได้ทันที เพื่อลดโอกาสข้างเคียงอื่นที่อาจตามมาหากมีการปวด บวม อักเสบ หรือติดเชื้ออันตรายมากคะหากติดเชื้อ
ฟันคุด เราป้องกันการเกิดได้ไหม??
ฟันคุดเป็นฟันที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เราไม่สามารถป้องกันได้ สิ่งที่ดีที่สุดคือการตรวจเช็คสุขภาพช่องปากและฟันอย่างสม่ำเสมอ ทุก 6 เดือน🌟🌟🌟หากพบความผิดปกติ จะได้ทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที👌👌
สรุป
การผ่าฟันคุดออก ไม่ได้เป็นเรื่องน่ากลัว หากเปรียบเทียบกับโทษที่อาจเกิดจากฟันคุด และหากพบว่ามีฟันคุดเกิดขึ้นแล้ว แต่ปล่อยปะละเลย กลายเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค แน่นอนว่ามี ปัญหาสุขภาพปากและช่องฟันตามมา ทั้งเหงือกอักเสบ ฟันผุ เกิดขึ้นได้ สำหรับใครที่ไม่แน่ใจว่าตนเองมีฟันคุดหรือไม่ การตรวจเอกซเรย์สามารถหาตำแหน่งของฟันคุดได้
ที่มาบางส่วนมาจาก :
ทพ.นิวัฒน์ พันธุ์ไพศาล งานทันตกรรม โรงพยาบาลศิริราช www.si.mahidol.ac.th
🙋♀️📣รู้หรือไม่?? วันนี้เราให้คุณมากกว่าที่เคย ด้วยความสะอาดถึงชั้นอากาศ ปวดฟัน ฟันผุอยู่ใช่ไหม?? เอ๊ะๆๆแต่ถ้าไม่แน่ใจให้Modern Smileดูแลก็ดีนะคะ🙏#ทำฟัน #จัดฟัน #จัดฟันผ่อนจ่าย #ตรวจฟันฟรี #ทำฟันศรีราชา #ทำฟันพัทยา😄❤️
พบจบปรึกษา ทุกปัญหาสุขภาพฟันเรามีคำตอบที่ ช่องทางออนไลน์ที่มีให้หลากหลาย วันนี้ Modernsmile เรา มีช่อง Youtube แล้วนะครับ สามารถติดตามได้ที่นี่เลยนะครับกดกระดิ่ง กดติดตามได้เลยนะครับ
ช่องทาง Social ของเราตอนนี้มีหลายช่องทางนะครับ สามารถติดต่อได้เลยนะครับ ตามความชอบครับ
📢📢📢📢📢📢📢📢📢📢
Line : สาขาศรีราชา
Line : สาขาพัทยา
Instagram Modernsmile