ฟันคุดพัทยา ไม่เจ็บอย่างที่คิดปรึกษาฟรีโดยทันตแพทย์เฉพาะทาง
ฟันคุดพัทยา ไม่เจ็บอย่างที่คิดปรึกษาฟรีโดยทันตแพทย์เฉพาะทาง คือฟันที่ไม่สามารถขึ้นได้ตามปกติในช่องปากแบบฟันซี่อื่นๆ โดยอาจโผล่ออกมาเพียงบางส่วนเท่านั้นหรือ ในบางกรณีฟันนั้นฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกรทั้งซี่ก็มีที่เป็นเช่นนี้เพราะว่า คุดขึ้นช้ากว่าฟันซี่อื่นๆ ทำให้ไม่มีช่องว่างเพื่อที่จะโผล่ขึ้นมาได้ โดยซี่คุดจะมีทั้งหมด 4 ซี่ ด้านในของช่องปากทั้งบนและล่างในฝั่งซ้ายและขวา สามารถพบได้บ่อยๆ ในบริเวณฟันกรามซี่สุดท้าย ซึ่งอยู่ด้านในสุดของกระดูกขากรรไกรล่าง
เมื่อมี ฟันคุดพัทยา ทำอย่างไรดี
บางครั้งฟันกรามซี่สุดท้าย จำเป็นต้องมีการถอนออกโดยทันตแพทย์เฉพาะทางศัลยกรรมช่องปาก เพราะว่าอยู่ในลักษณะที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ตามปกติ หรือไม่ได้อยู่ในแนวที่เดียวกับฟัน ส่วนมากจะเกิดขึ้นในช่วงวัยรุ่นตอนปลาย หรือช่วงอายุยี่สิบต้นๆ หากปล่อยไว้จะมีความเสี่ยงต่อภาวะต่างๆ ดังนี้
- เหงือกในบริเวณที่ปกคลุมซี่คุดอักเสบหรือมีการติดเชื้อ
- เกิดฟันผุที่ฟันกรามซี่ข้างเคียง
- เป็นโรคปริทันต์ (โรคเหงือก)
- มีพยาธิวิทยา – ซีสต์เนื้องอก
- อาจเกิดความเสียหายต่อฟันซี่ที่ติดกัน หรือมีการละลายตัวของกระดูกที่รองรับฟันซี่ที่ติดกัน เป็นผลจากแรงดันของฟันคุด
- อาการปวดเรื้อรังหรือรู้สึกไม่สบาย
- ปัญหาเกี่ยวกับการจัดฟันได้ในตำแหน่งที่ไม่ดี หรือมีฟันหน้าซ้อนเก
การวินิจฉัยความจำเป็นที่ต้อง “ฟันคุดพัทยา”
สำหรับ การถอน หรือ การผ่าฟันนั้น ทันตแพทย์เฉพาะทาง จะต้องพิจารณา เพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสม ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละเคส ทั้งนี้เนื่องจากฟันคุด มักจะไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า จึงจำเป็นต้องมีการถ่ายเอกซเรย์ เพื่อดูลักษณะการวางตัวของฟัน ว่าตั้งตรงหรือเอียงนอน และดูตำแหน่งความลึกของฟันคุดซี่นั้นๆ
ในบางกรณี อาจไม่มีความจำเป็นต้องทำ การผ่าฟันซี่นั้นๆออก
- เช่น กรณีที่ฟันมีแนวตั้งตรง และมีพื้นที่บริเวณขากรรไกรเพียงพอ แต่ถ้าหากถ่ายเอกซเรย์แล้ว พบว่าฟันมีทิศทางนอนเอียง ก็จะเป็นที่แน่นอนแล้วว่า ฟันซี่นั้นๆจะไม่สามารถขึ้นมาในช่องปากได้ ทำให้กรณีเช่นนี้ มักจะต้องทำการ ผ่าตัดฟันคุด หรือ ถอนฟันคุด ซี่นั้นๆออก
- นอกจากนี้แล้วในการจัดฟัน ทันตแพทย์จัดฟัน มักจะแนะนำให้เอาซี่คุดออก ก่อนเริ่มทำการจัดฟัน เนื่องจากฟันคุดอาจจะขึ้นมา เบียดซี่ฟันในภายหลังได้ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรง ทำให้ฟันที่จัดไปแล้ว เกิดการเบียดตัวเอนหรือซ้อนกันได้
ขั้นตอนสำหรับ การผ่าฟัน
สำหรับวิธีการจะมีการใช้ยาชาเฉพาะที่แบบป้ายก่อน เพื่อให้เนื้อเยื่อบริเวณที่จะฉีดยามีอาการชา จากนั้นทันตแพทย์จะฉีดยาชา บริเวณที่จะทำการ ผ่าฟันคุด หรือ ถอนฟันคุด ออก ซึ่งบางครั้งอาจฉีดมากกว่า 1 เข็ม ขึ้นอยู่กับว่าชาเพียงพอแล้วหรือยัง จากนั้นทันตแพทย์จะทำการทดสอบอาการชา หากพบว่าชาเพียงพอจะทำการผ่าฟันโดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆคือ
1)ลักษณะฝังอยู่ในกระดูก
ต้องเปิดเหงือก และหาตำแหน่งกระดูก ที่ฟันฝังอยู่ให้เจอ จากนั้นทันตแพทย์จะทำการกรอกระดูก บริเวณที่คลุมฟันอยู่ และทำการตัดแบ่งออกเป็นชิ้นๆ เพื่อให้แผลที่จะนำฟันคุดออกมามีขนาดเล็กที่สุด ซึ่งจะลดการเจ็บปวดและผลข้างเคียงหลังจากผ่าฟัน
2)แบบที่ขึ้นมาได้บางส่วน
อาจพิจารณาว่า จะต้องมีการกรอกระดูกร่วมด้วยหรือไม่ เพื่อช่วยนำออกมาซึ่งถ้าไม่มีการกรอกระดูก จะช่วยลดความเจ็บปวด และแผลหลังผ่าตัดจะหายเร็วกว่า แบบที่มีการกรอกระดูกมาก
3)ขึ้นมาได้เต็มซี่
จะใช้วิธี ถอนฟันออก โดยไม่ต้องมีการผ่ากระดูกหรือเปิดเหงือก ซึ่งถ้าเป็นกรณีนี้ความเจ็บปวดจะน้อยพอๆกับ การถอนฟัน และใช้เวลาเพียงไม่นานในการฟื้นตัว
ทำไมต้องผ่าฟันด้วย
การผ่าตัดเพื่อนำฟันที่ไม่สามารถขึ้นได้ตามปกติออก ซึ่งปกติแล้วหากฟันที่ฝังตัวอยู่นั้นไม่ก่ออาการรุนแรงจนเกินไป ทันตแพทย์จะทำรักษาด้วยการตกแต่งเนื้อเยื่อโดยรอบ หรือแนะนำในเรื่องการรักษาความสะอาดช่องปากแก่ผู้ป่วยแทน
ตัวอย่างเช่น หากมีการอักเสบเล็ก ๆ ที่เหงือกบริเวณด้านหลังของฟันที่จะทำให้เกิดอาการเจ็บขณะกัดฟัน ทันตแพทย์อาจทำการรักษาเนื้อเยื่อบริเวณที่อักเสบ หรือแนะนำให้ผู้ป่วยเปลี่ยนวิธีแปรงฟัน และให้ผู้ป่วยใช้ไหมขัดฟันเพื่อทำความสะอาดที่ซอกฟันด้านหน้าและด้านหลังของฟันคุด ซึ่งจะช่วยให้เหงือกมีสุขภาพที่ดีขึ้นและหลีกเลี่ยงการเกิดโรคเหงือกอักเสบหรือการติดเชื้อบริเวณรอบ ๆได้
ทว่าหากฟันนั้นก่อให้เกิดปัญหา หรือการเอกซเรย์แสดงให้เห็นว่าส่งผลกระทบต่อฟันซี่อื่น ๆ อย่างชัดเจน หรือหากมีสาเหตุอื่น ๆ ที่เกิดจากฟันคุดก็จำเป็นต้องผ่าตัดออก โดยสาเหตุที่อาจทำให้ทันตแพทย์ตัดสินใจผ่าออกมีดังนี้
- สร้างความเสียหายให้กับฟันซี่อื่น ๆ สามารถส่งผลกระทบต่อฟันโดยรอบได้ ซึ่งจะก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดภายในช่องปาก หรือปัญหาในการกัดได้
- ความเสียหายที่ขากรรไกร อาจก่อให้เกิดถุงน้ำรอบ ๆ แล้วอาจทำให้บริเวณขากรรไกรนั้นถูกทำลายจนเป็นหลุมและทำลายเส้นประสาทที่บริเวณขากรรไกรได้
- เกิดปัญหาที่ไซนัส ฟันคุดสามารถก่อให้เกิดอาการปวด แรงดัน หรืออาการบวมที่ไซนัส
- เหงือกอักเสบ เมื่อเนื้อเยื่อบริเวณรอบ ๆ ฟันคุดเกิดการอักเสบ จะทำให้เกิดอาการบวมและยากต่อการทำความสะอาด
- ฟันผุ อาการเหงือกบวมจากฟันคุดจะทำให้เกิดช่องว่างระหว่างฟัน และทำให้เชื้อแบคทีเรียเข้าไปเจริญเติบโต และก่อให้เกิดผุตามมา
- การจัดฟัน ฟันคุดสามารถส่งผลต่อการจัดฟัน
การตัดสินใจของทันตแพทย์ว่าจะทำการผ่าตัดหรือไม่ จะต้องตรวจดูรูปร่างของช่องปาก และตำแหน่งของฟันคุดก่อน รวมทั้งยังต้องคำนึงถึงอายุด้วย แต่การผ่าฟันคุดอาจไม่เกิดขึ้นในทันทีที่พบฟันคุดเพราะในบางครั้งอาจต้องใช้เวลาหลายเดือนเพื่อติดตามความเปลี่ยนแปลงของฟันคุด เพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจอีกขั้นหนึ่ง แต่ถ้าหากในระหว่างการติดตามอาการผู้ป่วยมีอาการปวด อาการเหงือกบวมที่ผิดปกติ หรือมีกลิ่นเหม็นออกมาจากบริเวณหลังซอกฟัน ก็อาจต้องพิจารณาอย่างเร่งด่วนอีกครั้ง
คำแนะนำหลังการผ่ามีดังนี้
1. กัดผ้าก๊อซนาน 1 ชั่วโมง กลืนน้ำลายตามปกติ
2. ห้ามบ้วนเลือดและน้ำลาย เพราะอาจทำให้เลือดไหลไม่หยุดได้
3. หลังคายผ้าก๊อซแล้ว ถ้ามีเลือดซึมจากแผลผ่าตัด ให้ใช้ผ้าก๊อซที่สะอาดกัดใหม่อีกประมาณ ½ ชั่วโมง
4. ประคบน้ำแข็งบริเวณแก้ม เฉพาะวันที่ทำผ่าตัด
5. รับประทานอาหารอ่อน
6. รับประทานยาให้ครบตามที่ทันตแพทย์สั่ง
7. งดออกกำลังกาย หรือ เล่นกีฬา
8. แปรงฟันทำความสะอาดในช่องปากตามปกติ
9. ตัดไหมหลังผ่าตัด 7 วัน
10.หากมีปัญหาหรือผลแทรกซ้อนเกิดขึ้น กลับมาพบทันตแพทย์ได้ก่อนวันนัด
แผลผ่าจะต้องใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์จึงจะเป็นปกติ โดยในระหว่างการพักฟื้นผู้ป่วยอาจมีอาการดังต่อไปนี้
- หากบวมภายในช่องปากและแก้ม จะบวมค่อนข้างรุนแรงในช่วงวันแรก ๆ หลังจากผ่าตัด จากนั้นจะค่อย ๆ ดีขึ้น ซึ่งสามารถประคบเย็นเพื่อช่วยลดอาการบวมได้
- อาการเจ็บบริเวณขากรรไกร จะค่อย ๆ ลดลงภายใน 7-10 วัน แต่เหงือกบริเวณขากรรไกรจะยังคงมีรอยช้ำต่อไปอีกประมาณ 2 สัปดาห์
- ปวด หากการผ่าฟันคุดมีความซับซ้อนก็จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดค่อนข้างมาก
- รู้สึกถึงรสชาติไม่พึงประสงค์ภายในช่องปาก อาทิ รสชาติคาวเลือดที่ออกจากแผลซึ่งยังคงตกค้างอยู่
- เจ็บแปลบ ๆ หรือชาที่ใบหน้า ริมฝีปาก หรือลิ้น เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้น้อย โดยอาจเกิดขึ้นจากยาชาที่ตกค้าง หรือเกิดจากการถูกกระทบกระเทือนที่บริเวณปลายประสาท
ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย สามารถปรึกษาได้ กับทันตแพทย์ เฉพาะทางที่โมเดริ์นสไมล์
Line : สาขาศรีราชา
Line :สาขาพัทยา