รากฟันเทียม / รากเทียม
โดยทั่วไปคนเรา การสูญเสียฟันเเม้เพียง 1 ซี่ในช่องปาก สามารถส่งผลต่อระบบการบดเคี้ยวโดยรวมได้มากกว่าที่คิด เพราะระบบในช่องปากจะมีการปรับตัว เปลี่ยนเเปลงตำเเหน่งอยู่ตลอดเวลา ทีละเล็กทีละน้อยๆ ดังนั้นการถอนฟันไปเพียงแค่ซี่เดียว จะด้วยสาเหตุ อะไรก็ตาม ฟันก็จะล้มเข้าหาช่องว่าง ส่งผลให้เกิดช่องว่างของฟันซี่อื่นๆเล็กๆเต็มไปหมด เศษอาหารติดตามซอกฟัน ทำให้ซี่นั้นผุง่าย เป็นโรคเหงือก หรือปริทันต์ได้ง่าย
ส่งผลกระดูกบริเวณนั้นหายไป จนเป็นเหตุให้ต้องถอนฟันอีกต่อเนื่อง ยิ้มแล้วเสียบุคคลิก เนื่องจากฟันห่างเป็นเม็ดข้าวโพด รวมถึงฟันคู่สบมักพบว่าจะยื่นยาวลงมาเรื่อย ๆ เนื่องจากขาดคู่สบที่ทำหน้าที่ค้ำจุนตำเเหน่งฟันที่เหมาะสมไว้ นอกจากนี้ ฟันที่เหลืออยู่ (มีจำนวนน้อยลง) แต่ต้องรับแรงบดเคี้ยวเท่าเดิม ทำให้ฟันที่เหลืออยู่ได้รับแรงมาเกินไป ส่งผลให้ฟันแตก ส่งผลให้ต้องถอนฟันซี่อื่นๆตามมา
ในกรณีที่ถอนฟันหลังไปหลายๆซี่ หรือ มีฟันสึกมากๆเมื่ออายุมากขึ้น ความสูงของใบหน้าที่ลดลง จะก่อผลตามมาอย่างคาดไม่ถึง เช่น มีร่องแก้มชัดเจนขึ้น ใบหน้าย่นลงมา หรือขณะที่พูด น้ำลายก็มากองที่มุมปาก เป็นผลจากความสูงของใบหน้าที่ลดลง เนื่องจากฟันสึก หรือถอนฟันหลังไปหลายๆ ซี่ ซึ่งเมื่อเกิดปัญหานี้แล้วก็ทำให้เกิดปัญหาต่อบุคลิกภาพ ดูแก่กว่าวัย หน้าเหี่ยวย่น การแก้ไขมักจะยากขึ้นหากปล่อยให้ฟันหายไปเป็นเวลานาน ดังนั้นการรีบใส่ฟันทดแทนให้เร็วหลังจากถอนฟันออกไปจึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ช่วยลดปัญหาใบหน้าแก่กว่าวัย
ดังนั้น การใส่ฟันทดเเทนฟันที่ถอนไปเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะช่วยลดความยุ่งยาก ทั้งขั้นตอนการรักษาที่อาจเกิดขึ้นจากการเล้มตัวของฟันข้างเคียงและค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เช่นต้องจัดฟันก่อนใส่ฟันปลอม รวมถึงได้ผลลัพธ์ภายหลังการรักษาเป็นที่น่าพอใจมากกว่า หลังจากที่ทราบผลเสียของการสูญเสียฟันแล้วมารู้จักรากฟันเทียมกันดีกว่า
สารบัญ
- รากฟันเทียมหรือรากเทียม คืออะไร
- รากฟันเทียมประกอบไปด้วย 3 ส่วน
- ประเภทของรากฟันเทียม
- ชนิดของส่วนทันตกรรมประดิษฐ์
- รากฟันเทียม เหมาะสมกับใคร?
- ผู้ที่ไม่ควรทำ รากฟันเทียม/รากเทียม
- ก่อนที่จะฝังรากฟันเทียมต้องคำนึงถึงอะไร
- การเตรียมตัวก่อนทำรากเทียม
- ขั้นตอนและกระบวนการทำรากเทียม/รากฟันเทียม
- คำแนะนำหลังการใส่รากเทียม
- อายุการใช้งาน และการดูแลรักษารากฟันเทียม
- ข้อดีของรากเทียมและข้อเสียของรากฟันเทียม/รากเทียม
- สรุป
- คำถามที่มักพบบ่อยสำหรับการฝังรากเทียม
รากฟันเทียมหรือรากเทียม คืออะไร
หลายคนคงเคยสงสัยและอยากรู้ว่าอะไรคือ รากฟันเทียม และทำไมต้อง ใส่รากฟันเทียม
รากฟันเทียม หรือรากเทียม คือ รากฟันเทียมที่ทำมาทดแทนรากฟันจริง วัสดุที่มีรูปร่างคล้ายรากฟันทำจากไททาเนียม เกรดที่ใช้ในทางการแพทย์ (Medical Grade) ที่ได้รับการออกแบบมาเป็นพิเศษ เป็นวัสดุที่เข้ากับร่างกายมนุษย์ได้ดี ไม่มีผลข้างเคียงที่จะทำให้เกิดอันตราย เพื่อใช้ยึดติดกับกระดูกขากรรไกรของในตำแหน่งที่สูญเสียฟันธรรมชาติไป โดยทำหน้าที่เสมือนรากฟันธรรมชาติ ใช้สำหรับรองรับ ทั้งฟันปลอมแบบติดแน่นและฟันปลอมแบบถอดได้ เช่น ฟันปลอมทั้งปาก (denture), ครอบฟัน (crown) หรือสะพานฟัน (bridge) ให้ผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติมากที่สุด
ปัจจุบันการใส่รากฟันเทียมถือว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุด วิธีหนึ่งเลยทีเดียว เพราะสามารถเลียนแบบความเป็นฟันธรรมชาติซี่นั้นได้แทบจะร้อยเปอร์เซ็นต์ รากฟันเทียม ช่วยในแง่ ‘ความสวยงาม’ และ ‘การใช้งาน’ ราคารากฟันเทียม อาจจะสูงอยู่บ้างแต่เมื่อเทียบกับอายุการใช้งานถือว่าคุ้มค่ามากๆ
รากฟันเทียม ประกอบไปด้วย 3 ส่วน
- Fixture คือ ส่วนของรากเทียม ซึ่งทำจากวัสดุทดแทนที่เข้ากันได้กับเนื้อเยื่อมนุษย์ ที่มีลักษณะคล้ายสกรูหรือน๊อตที่ที่ฝังอยู่ใต้เหงือก เพื่อให้มีการยึดติดกับกระดูกขากรรไกร ทำหน้าที่แทนรากฟันธรรมชาติ ในการผ่าตัดฝังรากเทียม หลังจากกรอกระดูกให้เป็นรูปทรงที่จะรองรับรากฟันเทียมแล้ว ก็ไขรากเทียมเข้าไป ซึ่งเรียกว่าการฝังรากฟันเทียม
- Abutment คือ ส่วนที่ทดแทนโครงสร้างของแกนฟัน ส่วนยึดต่อระหว่าง implant body และส่วนทันตกรรมประดิษฐ์ ทำจากไททาเนียมหรือเซรามิค เพื่อรองรับตัวครอบฟัน
- ส่วนทันตกรรมประดิษฐ์ (Prosthetic component) คือ ส่วนของตัวฟันเทียม เช่น ครอบสะพานฟัน ฟันเทียมถอดได้ที่ยึดกับ ทำมาจากเซรามิก ลอกเลียนสีและรูปร่างของฟันธรรมชาติ โดยยึดกับ implant abutment โดยใช้กาวทางทันตกรรมยึดหรือสกรู
ประเภทของรากฟันเทียม
โดยทั่วไปแล้วการฝังรากฟันเทียมแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
- Conventional implant การฝังรากฟันเทียมแบบทั่วไป
- Immediate implant การฝังรากฟันเทียมแบบทันที หรือที่เรารู้จักอีกชื่อ One day implants
- immediate loaded implant เป็นการใส่ครอบฟัน/สะพานฟัน ทั้งแบบชั่วคราวและแบบถาวรลงบนรากฟันเทียม
Conventional Implant คือ การฝังรากฟันเทียมแบบทั่วไป สามารถทำได้เกือบทุกกรณี สามารถฝังรากฟันเทียมชนิดนี้เพื่อทดแทนฟันที่สูญเสียไปเพียงซี่เดียว หลายซี่ หรืออาจจะทั้งปาก การฝังรากฟันเทียมแบบนี้ จะแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนใหญ่ๆ ระยะห่างแต่ละขั้นตอนนั้นห่างกันประมาณ 2-6 เดือน
1.1 ตรวจวินิจฉัย พิมพ์ปาก และ x-ray บางครั้ง อาจจะต้องทำ CT Scan ร่วมด้วย
1.2 นัดหมายผู้ป่วยเพื่อการผ่าตัดเล็กฝังรากเทียมลงไปในกระดูกขากรรไกร
1.3 รอให้รากเทียมและกระดูกยึกติดกันเต็มที่ ประมาณ 3-6 เดือนขึ้นอยู่กับลักษณะของกระดูก
2.1 ทำฟันเทียมยึดกับรากเทียมต่อไป ซึ่งระยะเวลาในขั้นตอนนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของฟันเทียม ส่วนใหญ่จะใช้เวลา 1-4 สัปดาห์ ข้อจำกัดในการรักษาจะมีน้อยมากหากวางแผนการรักษาไว้เป็นอย่างดี แต่ที่พบมาก คือผู้มีปริมาณของกระดูกน้อยมากๆ ในบริเวณที่จะทำการฝังรากเทียม ทำให้ต้องมีการปลูกกระดูกก่อนเพื่อให้กระดูกบริเวณนั้นมีความหนาและแข็งแรงเพียงพอกับการรองรับการฝังรากฟันเทียม หรือในบางรายอาจจะปลูกกระดูกไม่ได้
Immediate implant
คือ การฝังรากเทียมทันทีหลังจากทำการถอนฟันธรรมชาติออก ข้อดีของวิธีนี้ คือลดขั้นตอนและระยะเวลาการทำงานลง ลดการละลายของกระดูก ลดโอการการเกิดเหงือกร่น แต่ตำแหน่งฟันที่เหมาะจะทำด้วยวิธีนี้ มักจะเป็นฟันหน้า หรือฟันกรามน้อย ต้องไม่มีพยาธิสภาพที่ปลายรากฟันของฟันที่จะถอน และต้องมีปริมาณกระดูกเพียงพอให้รากฟันเทียมยึดอยู่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของทันตแพทย์
Immediate loaded implant
คือ การต่อส่วนของทันตกรรมประดิษฐ์ เช่น ครอบฟันไม่ว่าจะเป็นแบบชั่วคราว หรือแบบถาวร ไปที่รากฟันเทียมทันทีที่ทำการฝังรากฟันเทียม ซึ่งจะช่วยร่นระยะเวลาของการรักษาลงไปได้มาก ให้ความสวยงามเนื่องจากคนไข้จะมีฟันอยู่ตลอดเวลา แต่ข้อจำกัดของวิธีนี้มีอยู่มาก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของทันตแพทย์เฉพาะทาง ซึ่งโดยปกติแล้วจะเหมาะกับคนไข้ที่มีสภาพกระดูกขากรรไกรที่ดี
จะเลือกใช้วิธีใดขึ้นอยู่กับสภาพภายในช่องปาก ความจำเป็นของคนไข้ และประสบการณ์ของ ทันตแพทย์
ชนิดของส่วนทันตกรรมประดิษฐ์
ทันตแพทย์สามารถใช้รากฟันเทียมช่วยในการใส่ฟันทดแทนให้คนไข้ได้หลายวิธี เช่น การทดแทนฟัน 1ซี่
ในกรณีที่มีฟันหายไปเพียง 1 หรือ 2 ซี่ การใส่ฟันเทียมติดแน่นทำได้ 2 วิธี คือ รากฟันเทียมและสะพานฟัน แต่รากฟันเทียมถือว่าเป็นวิธีใส่ฟันที่ให้ผลสำเร็จดีที่สุด และมีข้อดีมากกว่าการใส่สะพานฟัน คือ ไม่ต้องกรอฟันข้างเคียง ทำความสะอาดได้ง่ายกว่า และสะพานฟันมีส่วนของครอบฟันติดกันทั้งหมด หากมีซี่ใดซี่หนึ่งมีปัญหาจะต้องรื้อออกทั้งหมด และในฟันที่ไม่แข็งแรงการใส่สะพานฟันอาจทำอันตรายต่อฟันหลักยึดได้
การทดแทนฟันหลายซี่ ในกรณีที่ฟันหายไป1 ซี่แต่หลายๆ ตำแหน่ง ก็สามารถใส่รากฟันเทียมรองรับครอบฟันได้ แต่กรณีที่ฟันหายไปหลายๆ ซี่
ติดๆ กันทันตแพทย์สามารถทำการฝังรากฟันเทียม เพื่อรองรองสะพานฟันได้ ซึ่งมีข้อดี คือสามารถลดจำนวนรากฟันเทียมลง หรือในบริเวณที่ไม่สามารถฝังรากฟันเทียมเท่ากับจำนวนฟันที่หายไปได้
ในกรณีที่มีฟันหายไปเป็นจำนวนมาก รากฟันเทียมสามารถช่วยให้ฟันเทียมแบบถอดได้แน่นขึ้น ไม่จำเป็นต้องใส่ตะขอฟันปลอม หรือทำให้ส่วนของเหงือกปลอมสั้นลงได้
การทดแทนฟันที่หายไปทั้งปาก ในกรณีที่ฟันหายไปทั้งปาก รากฟันเทียมสามารถช่วยทดแทนฟันได้ทั้งแบบติดแน่น และแบบถอดได้ แบบติดแน่น ทันตแพทย์จะทำการฝังรากเทียมจำนวน 4, 6 หรือ 8 ตัวต่อ 1 ขากรรไกร ส่วนแบบถอดได้จะทำการฝังรากฟันเทียมจำนวน 2-4 ตัว วิธีการและความยุ่งยากก็จะแตกต่างกันไป
ติดๆ กันทันตแพทย์สามารถทำการฝังรากฟันเทียม เพื่อรองรองสะพานฟันได้ ซึ่งมีข้อดี คือสามารถลดจำนวนรากฟันเทียมลง หรือในบริเวณที่ไม่สามารถฝังรากฟันเทียมเท่ากับจำนวนฟันที่หายไปได้
รากฟันเทียม เหมาะสมกับใคร?
- ผู้ที่มีการสูญเสียฟันแท้ไปสามารถรับการรักษาด้วยรากฟันเทียมได้ทุกคน
- ผู้ที่สูญเสียฟันแท้ หนึ่งซี่ หรือหลายๆซี่
- คนไข้ที่มีปริมาณกระดูกเพียงพอต่อการฝังรากเทียม หรือสามารถผ่าตัดเสริมกระดูกได้
- ผู้ที่มีฟันแตก หัก หรือบิ่น และต้องถอนออก
- ผู้ที่ต้องการทดแทนฟันที่เหลืออยู่ แต่ไม่แข็งแรง
- ต้องการยิ้มและพูดคุยได้อย่างมั่นใจ
- ผู้ที่เสียฟันแท้ ต้องการการบดเคี้ยวที่ดี
- ผู้ที่ทำฟันปลอมแบบถอดได้ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ
- คนที่มีสุขภาพเนื้อเยื่อและเหงือกที่ดี
- ไม่สามารถใช้ฟันเทียมถอดได้
- คนไข้ที่ไม่มีภาวะที่ส่งผลต่อการหายของแผลในเนื้อกระดูก
- ผู้ที่มีกระดูกขากรรไกรหยุดการเจริญแล้ว
ผู้ที่ไม่ควรทำ รากเทียม/รากเทียม
- เด็กที่อายุยังไม่ถึง 18 ปี เนื่องจากกระดูกขากรรไกรยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่
- ผู้ที่มีภาวะโรคกระดูกพรุนต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์ประจำตัวเสียก่อน
- หญิงที่ตั้งครรภ์ ควรคลอดบุตรก่อน
- ผู้ที่มีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมได้
- ผู้ที่เป็นโรคมะเร็งที่ต้องได้รับการฉายรังสีบริเวณใบหน้าและขากรรไกร
- ผู้ที่เป็นโรคปริทันต์อักเสบรุนแรง
- ผู้ที่เป็นลูคิเมีย ผู้ป่วยไฮเปอร์ไทรอยด์ควรได้รับการรักษาเพิ่มเติมก่อนทำการฝังรากเทียม
- ผู้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน
- สูบบุหรี่จัดจะมีผลต่อความสำเร็จในการรักษา
- ผู้ป่วยที่มีอาการไขข้ออักเสบรุนแรง
- ผู้ป่วยจิตเภท
- ผู้ที่มีปัญหาเรื่องการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ ไม่สามารถดูแลรักษาสุขภาพช่องปากเองได้
- การมีสุขภาพช่องปากที่ไม่ดี
ก่อนที่จะฝังรากเทียมต้องคำนึงถึงอะไร
เรื่องค่าใช้จ่าย รากเทียมเป็นฟันเทียมทดแทนที่มีค่าใช้จ่ายที่สูง แต่ถ้าเทียบกับในอดีต ในปัจจุบันราคาถูกลงมามาก แต่ว่าคุณภาพดีขึ้น ดังนั้นถ้ามองกันในความคุ้มค่าแล้ว รากฟันเทียมจัดเป็นฟันปลอมทดแทนที่ใช้งานได้นาน ช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น ในราคาที่จับต้องได้และไม่สูงจนเกินไป มีความคุ้าค่ามากที่สุด ในบรรดาฟันปลอมที่มีอยู่ในปัจจุบัน
ผู้ป่วยบางคนกลัวการผ่าตัด เพราะว่าการฝังรากฟันเทียมต้องฝังลงไปในกระดูกของคนไข้ ซึ่งแน่นอนถึงแม้ว่าจะเป็นการผ่าตัดเล็ก แต่ว่าก็ต้องมีเลือดออก มีการผ่าตัด มีความบาดเจ็บที่เกิดขึ้นหลังทำ
สุขภาพของผู้ป่วย เนื่องจากการฝังรากเทียม คือการผ่าตัดเพื่อฝังรากเทียมให้ติดกับกระดูก สุขภาพร่างกายของผู้ป่วยจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การปลูกรากเทียมรากฟันเทียมประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะ ในกรณีที่มีหัตถการบางอย่างเพิ่มเติม ก่อนการฝังรากฟันเทียม เช่น
- ต้องมีเหงือกที่แข็งแรงและมีกระดูกเพียงพอสำหรับรองรับรากฟันเทียม หากกระดูกบางหรือนิ่มเกินไปก็ไม่สามารถรองรับรากฟันเทียมได้
- ต้องมีการปลูกกระดูก (Bone Augmentation)หรือหากกระดูกขากรรไกรบนเตี้ยเกินไป
- ต้องมีการผ่าตัดปลูกกระดูกในโพรงอากาศแม็กซิลลา (Sinus Lift) โพรงอากาศอยู่ใกล้กับขากรรไกรเกินไป การผ่าตัดที่ต้องทำโดยศัลยแพทย์ช่องปาก ระหว่างการผ่าตัดทันตแพทย์จะเสริมกระดูกเข้าไปที่กระดูกขากรรไกรบน ระหว่างขากรรไกรกับโพรงอากาศแม็กซิลลาในบริเวณฟันกรามกับฟันกรามน้อย
- ผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้อากาศ ไซนัสอักเสบ จะมีผลทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดได้มากขึ้น ดังนั้นผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวต้องแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบ รวมทั้ง โรคหรือการผ่าตัดที่เคยเป็นในอดีต โรคประจำตัว ยาหรือวิตามินที่ทานอยู่เป็นประจ
- ถ้าผู้ป่วยที่ไม่สามารถดูแลช่องปากได้จึงเป็นกลุ่มที่ไม่เหมาะสม เช่น ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวบางอย่างที่ทำให้การเคลื่อนไหวของมือไม่ปกติ บังคับการทำงานของมือไม่ได้ การใส่ฟันปลอมแบบถอดได้ซึ่งสามารถถอดออกมาและทำความสะอาดได้ทั่วถึงจึงเหมาะสมกว่า
การเตรียมตัวก่อนทำรากเทียม
- การฝังรากฟันเทียมไม่ได้น่ากลัว คล้ายกับการไปถอนฟันหรือว่าผ่าฟันคุดเท่านั้น
- ผู้ป่วยควรมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง
- เข้านอนเร็วขึ้น
- ทานข้าวตามปกติเพื่อที่ว่าร่างกายก็จะได้รู้สึกสดชื่นมากขึ้น
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว อาจจะมีการตรวจเช็คสุขภาพก่อนเพื่อเตรียมผู้ป่วยให้พร้อมสำหรับการผ่าตัดฝังรากเทียม
- ผู้ควรทานยาอย่างที่คุณหมอแนะนำอย่างเคร่งครัด
- ผู้ที่ทานยาละลายลิ่มเลือดเป็นประจำ ทันตแพทย์จะปรึกษาแพทย์เจ้าของไข้เพื่อพิจารณาว่าจำเป็นที่จะต้องหยุดยาหรือไม่
ขั้นตอนและกระบวนการทำรากเทียม
- ตรวจในช่องปาก ตรวจการสบฟันและเอกซเรย์ บางครั้งอาจต้องมีการถ่ายภาพเอ็กซเรย์ 3 มิติ เพื่อประเมินสภาพของบริเวณที่จะฝังรากฟันเทียม เช่น ความหนาของเหงือก ความสูงของกระดูกขากรรไกร สภาพของฟันซี่ข้างเคียงเป็นต้น เพื่อใช้ในการวางแผนการรักษา เช่น การกำหนดขนาดและความยาวของตัวรากเทียมที่เหมาะสมได้
- ประเมินสุขภาพและโรคประจำตัวของคนไข้ โดยซักประวัติ สอบถามการแพ้ยา โรคประจำตัวโดยละเอียด
- การวางแผนการรักษาทำการรักษาอื่นๆในช่องปากก่อนการฝังรากเทียม (เช่น ขูดหินปูน รักษารากฟัน ถอนฟัน)
- ฝังรากเทียม (Fixture) ลงไปในกระดูก ภายใต้ภาวะปลอดเชื้อ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 45-90 นาที โดยใช้ยาชาเฉพาะที่ จึงไม่ทำให้รู้สึกเจ็บปวดแต่อย่างใด เย็บแผล หลังจากนั้น 7 วันกลับมาเช็คสภาพแผล และตัดไหม
- รอให้ตัวรากเทียม (Fixture) ยึดติดกับกระดูกขากรรไกรให้สมบูรณ์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดและคุณสมบัติของรากเทียมที่ใช้งาน
- อาจจะมีหรือไม่มีการปลูกกระดูกร่วมด้วย ถ้าต้องทำการปลูกกระดูกก่อน ต้องรอระยะเวลา 6-9 เดือนเพื่อให้กระดูกสมานดีถึงจะฝังรากเทียมได้ หรือในฟันหลังบน อาจต้องมีการยกไซนัส)
- หลังจากรอระยะเวลา ประมาณ 3 เดือน เพื่อให้รากเทียมยึดติดแน่นกับกระดูกได้ดีแล้ว จึงใส่แกนฟันจำลอง (coping) และพิมพ์ปากเพื่อส่งแลปทำตัวครอบฟัน แลปใช้เวลาทำประมาณ 5-7 วันเริ่มทำการพิมพ์ปากเพื่อทำครอบฟันใส่ต่อไป
- ใส่แกนฟันตัวจริง (abutment) และใส่ครอบฟันตัวจริง ซึ่งครอบบนรากฟันเทียมจะมีสีใกล้เคียงฟันซี่ข้างเคียง ทำให้ผู้อื่นไม่รู้ว่าใส่ฟันปลอมอยู่ ปรับการสบฟันให้สามารถกัดสบได้เป็นปกติ คนไข้ก็จะได้รากฟันเทียมพร้อมครอบฟันใช้ในการเคี้ยวอาหารและยิ้มอย่างมั่นใจ สามารถใช้งานได้เสมือนฟันธรรมชาติ
- นัดเช็คทุกๆ 6 เดือน หรือตามดุลยพินิจของทันตแพทย์
การรักษาของคนไข้แต่ละคนจะมีความต่างกัน จะสำเร็จด้วยดีหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับสภาพกระดูกและการตอบสนองของเนื้อเยื่อ และความชำนาญของทันตแพทย์ ส่วนความสวยงามของฟันเทียม ขึ้นอยู่กับวัสดุที่นำมาใช้ในการทำ รากฟัน
คำแนะนำหลังการใส่รากเทียม
การดูแลทั่วไปหลังการปักรากฟันเทียมก็จะคล้ายกับการดูแลหลังการถอนฟัน ดังนี้
- กัดผ้าก๊อซให้แน่น 1 ชั่วโมง หากมีเลือดไหลอีก ให้กัดผ้าที่สะอาดอีกครั้งนานประมาณ 1 ชั่วโมง
- ห้ามอมน้ำแข็ง ให้ใช้น้ำแข็งห่อประคบด้านนอกบริเวณแผลผ่าตัดด้านนอก
- ห้ามบ้วนน้ำหรือน้ำยาบ้วนปากใดๆในวันแรกของการปักรากเทียมเพราะอาจทำให้เกล็ดเลือดที่ปิดปากแผลอยู่หลุดซึ่งจะทำให้เลือดไหลออกมาอีก
- แปรงฟันได้ตามปกติ แต่ให้แปรงอย่างระมัดระวัง อย่าให้กระทบกระเทือนแผลผ่าตัด
- สามารถใช้น้ำเกลือ บ้วนทำความสะอาดได้เบาๆ ในวันที่สองหลังการผ่าตัดปักรากเทียมเสร็จ
- ถ้าปวด ให้รับประทานยาแก้ปวดครั้งละ 1-2 เม็ด และรับประทานยาตามที่ทันตแพทย์สั่งจ่ายมา
- ห้ามใช้นิ้วมือ ไม้จิ้มฟัน หรือของแข็งใดๆ แคะเขี่ยบริเวณแผล และห้ามดูดแผลเล่น
- หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ หรือทานอาหารรสเผ็ดจัดหรือร้อนจัดให้เลือกรับประทานอาหารอ่อนๆ เช่น ข้าวต้ม ซุป
- ถ้ามีอาการปวด บวมหรือผิดปกติ เช่นเลือดไหลไม่หยุด ควรกลับไปพบทันตแพทย์ ทันที
อายุการใช้งาน และการดูแลรักษารากฟันเทียม
- อายุการใช้งานจะอยู่ที่การดูแลรักษาสุขภาพช่องปากของผู้ป่วย
- รากฟันเทียมไม่ผุแต่เกิดโรคเหงือกอักเสบได้หากดูแลได้ไม่ดี
- การดูแลรักษาก็เหมือนการดูแลรักษาฟันธรรมชาติ คือ การแปรงฟัน การใช้ไหมขัดฟัน
การดูแลรากฟันเทียม
- รากฟันเทียมจึงต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่เช่นเดียวกับที่ดูแลฟันปกติ เช่นแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟัน
- ตรวจสุขภาพช่องปากเป็นประจำ หากทำทุกอย่างได้ดีรากฟันเทียมก็จะอยู่ได้ไปตลอด .
ข้อดีของรากเทียมและข้อเสียของรากฟันเทียม/รากเทียม
ข้อดีของรากฟันเทียม/รากเทียม
- ไม่ต้องสูญเสียเนื้อฟันซี่ข้างเคียงเหมือนการทำสะพานฟัน
- สวยงาม ดูเป็นธรรมชาติ
- หมดปัญหาฟันเทียมขยับระหว่างพูดคุย หรือทานอาหาร เพิ่มความมั่นใจในการพูด การออกเสียง ช่วยให้บุคลิกภาพกลับมาดีดังเดิม
- เพิ่มความสามารถในการบดเคี้ยว ใช้งานเสมือนฟันธรรมชาติมากกว่าฟันปลอมชนิดอื่นๆ
- ช่วยรักษากระดูกบริเวณที่สูญเสียฟัน ป้องกันมิให้กระดูกขากรรไกรละลายไป
- ช่วยเพิ่มความมั่นใจและช่วยให้บุคลิกภาพดูดียิ่งขึ้น เนื่องจากหากมีฟันที่สูญเสียไป อาจทำให้คุณสูญเสียความมั่นใจในตัวเองไปด้วย ซึ่งอาจเกิดจากภาพลักษณ์ของคุณเปลี่ยนไป
- ทำให้สุขอนามัยในช่องปากดียิ่งขึ้น เนื่องจากหากมีการทดแทนฟันที่เสียไป จะช่วยให้โครงสร้างของฟันสมบูรณ์และแข็งแรงได้ และช่วยรักษาเนื้อเยื่อของเหงือกได้
ทำให้เพิ่มความสามารถในการบดเคี้ยวและสามารถรับประทานอาหารได้ดังเดิม เนื่องจากการปลูกรากฟันเทียมจะทำให้โครงสร้างของฟันที่ทดแทนขึ้นมาใหม่ มีความแข็งแรงและสามารถรองรับความสามารถในการบดเคี้ยวได้ดี - ทำให้ความสามารถในการออกเสียงและการพูดดีได้ดังเดิม
- ลดปัญหาการเคลื่อนตัว การหลุดออก และความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาต่างๆของฟันปลอม
- มีความคงทน
- สามารถบดเคี้ยวได้ดี
- สวยงาม ดูเป็นธรรมชาต
ข้อเสียของรากฟันเทียม/รากเทียม
- ค่าใช้จ่ายสูง
- หากเป็นผู้ป่วยมีกระดูกไม่แข็งแรงหรือไม่เพียงพอก็มีต้องมีการผ่าตัดเพิ่มเติม
- การผ่าตัดฝังรากเทียมอาจจะต้องมีการผ่าตัดหลายครั้ง
- ระยะเวลา การทำรากเทียมจะต้องใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 2 – 6 เดือน
- ความต้านทานต่อเชื้อโรค ของเหงือกและกระดูกรอบรากเทียมมีความต้านทานต่อเชื้อโรคต่ำกว่า จึงจำเป็นที่จะต้องดูแลรักษาความสะอาดให้ดี เพราะถ้ามีการอักเสบของกระดูกรอบๆ รากฟันแล้ว อัตราการละลายตัวของกระดูกจะเร็วกว่าและรุนแรงกว่าที่เกิดในฟันธรรมชาติ
สรุป
จากที่ได้กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นได้ว่า ในยุคปัจจุบัน รากฟันเทียม เป็นฟันปลอมที่ดีที่สุดแล้ว คุ้มค่าที่สุด อายุการใช้งานนานสุด เหมือนธรรมชาติทั้งในแง่การใช้งาน และ ความสวยงาม แต่อย่างไรก็ตาม ทุกอย่างต้องมีข้อดี ข้อเสีย ถึงแม้ว่าราคารากฟันเทียมจะถูกลงมาเยอะมากแล้ว แต่ราคาก็ยังสูงอยู่ดี ไม่สามารถทำได้ในทุกคน เช่นคนที่โรคประจำตัว เช่น เบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมน้ำตาลได้ โรคเลือด โรคปริทันต์รุนแรง เป็นต้น ก็ไม่สามารถทำได้ แต่ถ้าสนใจอยากทำ อยากให้ลองมาปรึกษากับทันตแพทย์ของเราก่อน เพื่อทราบถึง ราคา สามารถทำได้ไหม ติดต่อเราที่
ทันตแพทย์ที่ทำการรักษารากฟันเทียม
ประวัติการศึกษา
ทันตแพทย์ศาสตร์ บัณฑิต ม.มหิดล
วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาทันตกรรมหัตถการ ม.มหิดล
ประกาศนียบัตร สาขาทันตกรรมรากเทียม University of Frankfurt, Germany
ประวัติการศึกษา
ทันตแพทย์ศาสตร์ บัณฑิต ม.สงขลานครินทร์
ทันตกรรมรากเทียม ม.มหิดล
FAQ : คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับรากฟันเทียม
ตัวราคาค่ารากฟันเทียมอยู่ที่ 45,000-85,000 บาท ตามแต่ละยี่ห้อของตัวรากเทียม นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับ สภาพของสันกระดูก หรือ อวัยวะข้างเคียงว่าเหมาะกับการทำรากเทียมแค่ไหน เพราะบางครั้งต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม เช่นการปลูกกระดูก
สามารถ ติดต่อเพื่อเข้ารับการปรีกษาฟรี ได้ที่ลิงค์ด้านล่าง
LINE SRIRACHA
TEL SRIRACHA
LINE PATTAYA
TEL PATTAYA
การฝังรากเทียมทำภายใต้ยาชาเฉพาะที่ จะรู้สึกเจ็บเพียงเล็กน้อยขณะฉีดยาชา เมื่อคนไข้ชาเต็มที่การผ่าตัดจะไม่มีความรู้สึกเจ็บปวด แต่จะเจ็บปวดภายหลังการผ่าตัดนั้นจะมากน้อยต่างกันไป ขึ้นอยู่กับลักษณะของสันกระดูก ปริมาณของกระดูก คุณภาพของกระดูก และคุณภาพของเนื้อเยื่อ เหงือกในบริเวณที่รับการรักษา ในรายที่มีปริมาณกระดูกเพืยงพอ กระดูกมีคุณภาพดี การฝังรากเทียมจะทำได้ง่าย ความเจ็บปวดใกล้เคียงกับการถอนฟันเเละใช้เวลาพักฟื้นเพียง 1-2 วันภายหลังการผ่าตัดเท่านั้น ต่างจากในบางกรณีที่มีกระดูกรองรับรากเทียมไม่เพียงพอ หรือ มีเนื้อเยื่อเหงือกที่คุณภาพไม่ดี จะต้องมีขั้นตอนการผ่าตัดเสริมกระดูก หรือเสริมเนื้อเยื่อเหงือก ให้พร้อมก่อนการฝังรากเทียม ซึ่งภายหลังการผ่าตัดระยะเวลาการพักฟื้นจะนานกว่า
รากฟันเทียมสามารถทำได้ทั้งฟันหน้าและฟันหลัง ถ้าเป็นฟันหน้ากลับเป็นผลดี เพราะรากเทียมฟันหน้าจะสวยเป็นธรรมชาติมากๆ ในรายที่สันเหงือกดี สมบูรณ์
กรณีต้องการเติมกระดูกในปริมาณน้อยๆ จะสามารถเติมได้เลยในครั้งเดียวกันกับการฝังรากฟันเทียมโดยใช้เศษกระดูกหรือกระดูกสังเคราะห์
ราคาจะขึ้นอยู่กันแผนการรักษาของทันตแพทย์ เช่น จำนวนรากเทียมที่ต้องใช้ เป็นต้น ดังนั้น จึงควรมาปรึกษาทันตแพทย์เพื่อประเมิณราคาก่อนได้
สามารถ ติดต่อเพื่อเข้ารับการปรีกษาฟรี ได้ที่ลิงค์ด้านล่าง
LINE SRIRACHA
TEL SRIRACHA
LINE PATTAYA
TEL PATTAYA
ราคาการปลูกกระดูก ก็จะขึ้นอยู่กับจำนวนเนื้อกระดูกที่ต้องใช้ และใช้วอธีไหนในการปลูกกระดูก ซึ่งมีปัจจัยมากมายที่ทำให้ราคาเปลี่ยนแปลง ดังนั้น จึงควรเข้ามารับการปรึกษาและประเมินราคาก่อนการรักษาได้ ฟรี
จริงๆทำที่ไหนก็ได้ ที่มีทันตแพทย์ที่มีความชำนาญและประสบการณ์มนการทำรากเทียม ซึ่งที่ โมเดิร์นสไมล์ ของเราก็มีทันตแพทย์เฉพาะทาง สาขานี้ประจำอยู่ด้วย
สามารถ ติดต่อเพื่อเข้ารับการปรีกษาฟรี ได้ที่ลิงค์ด้านล่าง
LINE SRIRACHA
TEL SRIRACHA
LINE PATTAYA
TEL PATTAYA
ในปัจจุบันมีหลายบริษัทมากที่ผลิตรากฟันเทียม ทั้งแถบโซนเอเซีย อย่าง เกาหลี ญี่ปุ่น จีน แถบยุโรป เช่น เยอรมัน อิตาลี่ หรือแถบ USA ราคาก็จะแตกต่างกันไปตามแต่ละยี่ห้อ
รากฟันเทียม หรือรากเทียม คือ รากฟันเทียมที่ทำมาทดแทนรากฟันจริง วัสดุที่มีรูปร่างคล้ายรากฟันทำจากไททาเนียม เกรดที่ใช้ในทางการแพทย์ (Medical Grade) ที่ได้รับการออกแบบมาเป็นพิเศษ เป็นวัสดุที่เข้ากับร่างกายมนุษย์ได้ดี ไม่มีผลข้างเคียงที่จะทำให้เกิดอันตราย เพื่อใช้ยึดติดกับกระดูกขากรรไกรของในตำแหน่งที่สูญเสียฟันธรรมชาติไป โดยทำหน้าที่เสมือนรากฟันธรรมชาติ ใช้สำหรับรองรับ ทั้งฟันปลอมแบบติดแน่นและฟันปลอมแบบถอดได้ เช่น ฟันปลอมทั้งปาก (denture), ครอบฟัน (crown) หรือสะพานฟัน (bridge) ให้ผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติมากที่สุด
ค่าใช้จ่ายสูง
หากเป็นผู้ป่วยมีกระดูกไม่แข็งแรงหรือไม่เพียงพอก็มีต้องมีการผ่าตัดเพิ่มเติม
การผ่าตัดฝังรากเทียมอาจจะต้องมีการผ่าตัดหลายครั้ง
ระยะเวลา การทำรากเทียมจะต้องใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 2 – 6 เดือน
ความต้านทานต่อเชื้อโรค ของเหงือกและกระดูกรอบรากเทียมมีความต้านทานต่อเชื้อโรคต่ำกว่า จึงจำเป็นที่จะต้องดูแลรักษาความสะอาดให้ดี เพราะถ้ามีการอักเสบของกระดูกรอบๆ รากฟันแล้ว อัตราการละลายตัวของกระดูกจะเร็วกว่าและรุนแรงกว่าที่เกิดในฟันธรรมชาติ
ถ้าหมายถึง เบิกจากราชการไม่น่าจะได้ครับ
โดยประมาณซี่ละประมาณ 40,000-70,000 บาท
สามารถ ติดต่อเพื่อเข้ารับการปรีกษาฟรี ได้ที่ลิงค์ด้านล่าง
LINE SRIRACHA
TEL SRIRACHA
LINE PATTAYA
TEL PATTAYA
อายุการใช้งานของรากฟันเทียมนั้นจำเป็นต้องแบ่งเป็นสองส่วน ได้แก่ ส่วนครอบฟันและส่วนรากฟัน
ส่วนครอบฟันนั้นอายุการใช้งานนั้นใกล้เคียงกับครอบฟันธรรมชาติทั่วไป สามารถเกิดการแตก หัก บิ่นของครอบฟันได้ตามลักษณะการใช้งาน
ส่วนของรากเทียมที่ฝังในกระดูกนั้น อายุการใช้งานขั้นกับคุณภาพและปริมาณของกระดูกรอบๆ รากเทียม เฉลี่ยประมาณ 10 ปี ถ้าการ Maintanance อย่างต่อเนื่อง อายุการใช้งานของรากเทียมจะนานมากว่า 10 ปี ดังนั้นการดูแลทำความสะอาดอย่างถูกวิธี ระวังในการกัดเคี้ยวอาหาร และพบทันตแพทย์เพื่อตรวจติดตามภายหลังการรักษาอย่างต่อเนื่องจะช่วยให้รากเทียมใช้งานได้นาน
ที่อื่นไม่ทราบเลย แต่ที่แน่ๆ ก็ต้องที่ Modern Smile Dental Clinic
สามารถ ติดต่อเพื่อเข้ารับการปรีกษาฟรี ได้ที่ลิงค์ด้านล่าง
LINE SRIRACHA
TEL SRIRACHA
LINE PATTAYA
TEL PATTAYA
เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ จะเเบ่งการรักษาเป็น 2 กระบวนการ ได้แก่ขั้นตอนการผ่าตัดฝังรากเทียม และขั้นตอนการใส่ฟันบนรากเทียม การผ่าตัดฝังรากเทียมในรายที่มีกระดูกคุณภาพดี รอเพียง 2-3 เดือน ก็สามารถใส่ฟันเทียมได้เลย
ก็จะมีของไทย และจีน ที่ราคาค่อนข้างถูก
ประกันสังคมไม่ครอบคลุมการทำรากฟันเทียม
เรียกอีกอย่างว่า Immediate implant
คือ การฝังรากเทียมทันทีหลังจากทำการถอนฟันธรรมชาติออก ข้อดีของวิธีนี้ คือลดขั้นตอนและระยะเวลาการทำงานลง ลดการละลายของกระดูก ลดโอการการเกิดเหงือกร่น แต่ตำแหน่งฟันที่เหมาะจะทำด้วยวิธีนี้ มักจะเป็นฟันหน้า หรือฟันกรามน้อย ต้องไม่มีพยาธิสภาพที่ปลายรากฟันของฟันที่จะถอน และต้องมีปริมาณกระดูกเพียงพอให้รากฟันเทียมยึดอยู่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของทันตแพทย์
รากฟันเทียมจะทำการฝังในคนไข้ที่หยุดการเจริญเติบโตแล้วเท่านั้น เนื่องจากเมื่อทำการฝังรากฟันเทียมเเล้วตำเเหน่งรากฟันเทียมจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ฉะนั้น เมื่อคนไข้เด็กหรือวัยรุ่นที่ยังมีการเจริญเติบโตจะเเนะนำให้ทดเเทนฟันด้วยวิธีอื่นก่อนค่ะ เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมเเล้วจึงมาทำการรักษาด้วยรากเทียม ส่วนในกรณีผู้สูงอายุที่คนไข้สุขภาพร่างกายเเข็งเเรงเเละไม่มีโรคประจำตัว หรือมีโรคประจำตัวที่สามารถควบคุมโรคได้ อยู่ในการดูแลของเเพทย์ สามารถทำการรักษาด้วยรากเทียมได้เช่นเดียวกับคนไข้ทั่วไป เเต่ในบางกรณีที่คนไข้ได้รับยา ละลายลิ่มเลือด หรือยา ต้านการเเข็งตัวของเลือดบางชนิด จำเป็นจะต้องมีการปรึกษาเเพทย์ประจำตัวเพื่อประเมินร่วมกันอีกครั้ง นอกจากนั้นโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ถ้าผู้ป่วยคุมน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี จะส่งผลถึงเปอร์เซนต์ความสำเร็จและอายุการใช้งานของรากฟันเทียมได้
ฝังรากเทียมเจ็บไหม
การฝังรากเทียมในคนไข้เเต่ละราย และฟันในเเต่ละตำเเหน่งในช่องปากนั้นมีความแตกต่างกัน ประมาณ 90% ของเคสจะทำการฝังรากเทียมภายใต้ยาชาเฉพาะที่ จะรู้สึกเจ็บเพียงเล็กน้อยขณะฉีดยาชา เมื่อคนไข้ชาเต็มที่การผ่าตัดจะไม่มีความรู้สึกเจ็บปวดค่ะ แต่ความเจ็บปวดหรืออาการภายหลังการผ่าตัดนั้นจะมากน้อยต่างกันไป โดยเกิดจากความเเตกต่างของลักษณะของสันกระดูก ปริมาณของกระดูก คุณภาพของกระดูก และคุณภาพของเนื้อเยื่อเหงือกในบริเวณที่รับการรักษา ในรายที่มีปริมาณกระดูกเพืยงพอ กระดูกมีคุณภาพดี การฝังรากเทียมจะทำได้ง่าย ความเจ็บปวดใกล้เคียงกับการถอนฟันเเละใช้เวลาพักฟื้นเพียง 1-2 วันภายหลังการผ่าตัดเท่านั้น ต่างจากในบางกรณีที่มีกระดูกรองรับรากเทียมไม่เพียงพอ หรือ มีเนื้อเยื่อเหงือกที่คุณภาพไม่ดี จะต้องมีขั้นตอนการผ่าตัดเสริมกระดูก หรือเสริมเนื้อเยื่อเหงือก ให้พร้อมก่อนการฝังรากเทียม ซึ่งภายหลังการผ่าตัดระยะเวลาการพักฟื้นจะนานกว่า
เหตุผลหลักของผู้เข้ารับการรักษารากเทียมคือ เพื่อสุขภาพฟันและช่องปากที่ดี , เพิ่มความมั่นใจในชีวิตประจำวัน , ความสุขที่มากขึ้นในการรับประทานอาหาร
รากฟันเทียมเหมาะสำหรับทุกคนหรือไม่ ?
โดยทั่วไปแล้ว ทุกคนสามารถทำรากฟันเทียมได้ มีน้อยมากจริงๆ ที่ไม่สามารถทำได้ แม้แต่อายุของคนไข้เอง ก็ไม่ได้สำคัญ ไม่ว่าจะทำรากฟันเทียมในคนสูงอายุ หรือในวัยหนุ่มสาว ต่างก็ให้ผลที่ดีเหมือนกัน ทั้งนี้ ก็ต่อเมื่อคนๆ นั้นสามารถดูแลสุขภาพช่องปากและฟันของตนได้เป็นอย่างดี
ปัจจุบัน มีรากฟันเทียมผลิตออกมาจากหลากหลายบริษัท แต่มีเพียงไม่กี่ยี่ห้อที่มีการศึกษาในระยะยาวเกี่ยวกับรากเทียมของบริษัทนั้นๆ ทางคลินิกฯ เลือกใช้รากฟันเทียมที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง และมีบริการหลังการขายที่ดี มีอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องไว้พร้อมสำหรับเรียกใช้ยามฉุกเฉิน ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะเมื่อผ่านไปแล้วหลายสิบปี หากจำเป็นต้องเปลี่ยนชิ้นส่วนอะไรบางอย่าง ก็จะสามารถทำได้
รากฟันเทียมเหมาะสำหรับทุกคนหรือไม่ ?
โดยทั่วไปแล้ว ทุกคนสามารถทำรากฟันเทียมได้ มีน้อยมากจริงๆ ที่ไม่สามารถทำได้ แม้แต่อายุของคนไข้เอง ก็ไม่ได้สำคัญ ไม่ว่าจะทำรากฟันเทียมในคนสูงอายุ หรือในวัยหนุ่มสาว ต่างก็ให้ผลที่ดีเหมือนกัน ทั้งนี้ ก็ต่อเมื่อคนๆ นั้นสามารถดูแลสุขภาพช่องปากและฟันของตนได้เป็นอย่างดี
ในยุคปัจจุบัน อัตราความสำเร็จในการทำรากเทียมว่าสูงขึ้นมาก และใช้งานได้ยาวนานมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ผลการรักษาที่ล้มเหลวก็สามารถเกิดขึ้นได้ เช่น การที่มีรากฟันเทียมหรือกระดูกที่เติมลงไปนั้นสูญเสียไปจากการที่มีการติดเชื้อแบคทีเรีย หรืออาจเพราะรับแรงมากเกินไป และอาจพบผลต่อเส้นประสาทรับความรู้สึกหรือฟันข้างเคียงอยู่บ้าง แต่ไม่มากนัก