เหงือกอักเสบหรือปริทันต์ ภัยร้ายใกล้ตัวที่เป็นสาเหตุของฟันผุ
เหงือก เป็นอวัยวะที่มีความสำคัญไม่แพ้อวัยวะส่วนอื่นๆ ซึ่งเหงือกจะมีหน้าที่ยึดฟันไว้ในกระดูกขากรรไกร ทำหน้าที่เป็นเหมือนบ้านของฟัน และรองรับการบดเคี้ยว คอยปกป้องฟัน โดยปกติแล้วสุขภาพเหงือกที่ดีจะต้อง มีลักษณะสีชมพู ไม่ดำหรือบวม หรือมีเลือกออกในขณะที่แปรงฟัน และจะต้องไม่มีอาการปวด หากคุณกำลังประสบปัญหาเหล่านี้อยู่ ให้สันนิษฐานได้เลยว่า คุณกำลังประสบปัญหาเกี่ยวกับเหงือกอักเสบหรือโรคปริทันต์ ควรรีบปรึกษาทันตแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาหรือปรึกษาทันที
สารบัญ
เหงือกอักเสบหรือโรคปริทันต์คืออะไร
เหงือกอักเสบหรือโรคปริทันต์สาเหตุเกิดจากอะไร
เหงือกอักเสบหรือโรคปริทันต์รักษาอย่างไร
ดูแลช่องปากไม่ให้เป็นเหงือกอักเสบหรือโรคปริทันต์
เหงือกอักเสบหรือโรคปริทันต์ คืออะไร
เหงือกอักเสบ หรือโรคปริทันต์ คือ โรคที่มีการอักเสบของอวัยวะที่อยู่รอบ ๆ ตัวฟัน ซึ่งประกอบไปด้วย เหงือก เอ็นยึดปริทันต์ เคลือบรากฟัน และกระดูกเบ้าฟัน ถ้าไม่ได้รับการรักษาอวัยวะต่าง ๆ เหล่านี้จะถูกทำลายไปอย่างช้า ๆ ทุกวันจนต้องสูญเสียฟันไปในที่สุด โรคนี้ภาษาชาวบ้านเรียกว่า โรครำมะนาด มีความรุนแรงมากกว่าโรคเหงือกอักเสบ
เหงือกอักเสบหรือโรคปริทันต์ สาเหตุเกิดจากอะไร
เหงือกอักเสบหรือโรคปริทันต์ เป็นสาเหตุที่เกิดมาจากการสะสมตัวของคราบจุลินทรีย์หรือคราบพลัคที่เกิดขึ้นตามรอยต่อระหว่างฟันและเหงือก จะมีลักษณะเป็นคราบขาวขุ่นหม่นๆ ที่อาศัยไปด้วยเเบคทีเรีย คราบอาหารจำพวกแป้งและนำ้ตาลที่เกาะอยู่บนผิวฟัน สาเหตุที่เกิดจากการขาดความรู้เรื่องการดูแลและทำความสะอาดฟันที่ไม่ดีพอ ก่อให้เกิดกลิ่นปาก และคราบเหล่านัันกลายเป็นอาหารสะสมของเเบคทีเรียซึ่งทำให้เเบคทีเรียเจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนได้รวดเร็วยิ่งขึ้น เมื่อเเบคทีเรียได้รับสารอาหารเจ้าพวกแป้งและนำ้ตาลแล้วก็จะปล่อยกรดและสารพิษที่จะไปทำลายและกระตุ้นเหงือกให้เกิดการอักเสบ เกิดอาการบวมแดงและอักเสบของเหงือก ก่อให้เกิดมีเลือดออก หากปล่อยทิ้งไว้โรคเหงือกอักเสบก็จะกลายเป็นโรคปริทันต์ได้ หากมีความเสี่ยงเหล่านี้ร่วมด้วยแล้ว เช่น การสูบบุหรี่ โรคเบาหวาน และการตั้งครรภ์ ก็จะทำให้กลายเป็นโรคปริทันต์ได้รวดเร็วยิ่งขี้น
5 สัญญาณเตือนโรคเหงือกอักเสบ
โรคเหงือกอับเสบเป็นเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในระยะเริ่มแรกที่จะนำ้ไปสู่โรคปริทันต์ แต่ในระยะนี้สามารถที่จะป้องกันและรักษาให้หายขาดได้ ซึ่งสัญญาณเตือนเหงือกอักเสบหรือโรคปริทันต์ แบ่งออกเป็น 5 สัญญาณดังนี้
- มีกลิ่นปาก
- มีหนองบริเวณช่องปากหรือเหงือก
- เหงือกบวม เหงือกร่อน
- ฟันเริ่มโยก ฟันหลุดออกจากเบ้า
- มีเลือกออกขนาดแปรงฟัน
เหงือกอักเสบหรือโรคปริทันต์ รักษาอย่างไร
การรักษาโรคเหงือกอักเสบหรือโรคปริทันต์ สามารถทำได้หลากหลายวิธี ดังนี้
เกลารากฟัน (Root Planing) คือ วิธีการรักษาคนที่เป็นโรคเหงือกอักเสบ โดยกำจัดคราบหินปูนที่เป็นที่อยู่ของจุลินทรีย์ที่ลึกลงไปยังบริเวณผิวรากฟัน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคปริทันต์และเหงือกอักเสบ เพื่อให้เนื้อฟันเรียบหรือที่เรียกว่า “การเกลารากฟัน” โดยการเกลารากฟันนี้การทำความสะอาดผิวรากฟันให้สะอาดและเรียบ (เกลา = ทำให้เรียบ) เพื่อให้คราบจุลินทรีย์สะสมได้ยากขึ้น ฟื้นฟูพื้นผิวรากฟันรวมถึงกระดูกรองรับฟัน ให้กลับมายึดฟันได้อย่างแน่นมากยิ่งขึ้น
โดยส่วนมากเกิดจากไม่ได้ขูดหินปูนเป็นเวลานานๆ หรือแปรงฟันผิดวิธี ทำให้ปริมาณหินปูนที่เกาะบนเนื้อฟันค่อยๆ ขยายตัวลงไปยังด้านล่างใต้เหงือกลงไปบริเวณรากฟัน จนเหงือกไม่สามารถติดกับฟันโดยตรงเหมือนเดิม ทำให้มีร่องเหงือกที่ลึกกว่าปกติปกติแล้ว ร่องเหงือกจะมีความลึกที่ 1-3 มิลลิเมตร หากเป็นร่องลึกกว่า 4 มิลลิเมตร
2. การขูดหินปูน
ขูดหินปูน (Dental Scaling) คือการกำจัด คราบหินปูนและจุลินทรีย์ ที่สะสมบริเวณเหนือเหงือก ขอบเหงือก และใต้เหงือกลงไปเล็กน้อย โดยใช้เครื่องขูดหินปูน (sonic หรือ ultrasonic scaler) ในการกำจัดหินปูน เครื่องนี้จะมีเสียงดังและมีน้ำเยอะขณะขูด โดยจะขูดหินปูนเหนือเหงือกและอาจร่วมกับการใช้เครื่องมือปริทันต์ เช่น คิวเรตต์ (Curette) และ ซิกเกล (Sickle) ขูดหินปูนที่ยังหลงเหลือที่เครื่องขูดหินปูนเข้าไม่ถึง เช่น บริเวณซอกฟัน หรือใต้เหงือกเล็กน้อย การขูดหินปูนนั้นปกติจะไม่ต้องฉีดยาชา เพราะไม่ได้ทำให้ผู้ป่วยเจ็บมาก แต่อาจจะรู้สึกเสียวฟันและเจ็บเล็กน้อยที่เหงือกซึ่งผู้ป่วยมักจะทนได้ การขูดหินปูนเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีสภาวะเหงือกอักเสบ ซึ่งการอักเสบนั้นเกิดบริเวณเหงือกอย่างเดียว ยังไม่ทำอันตรายต่อ อวัยวะปริทันต์อื่นๆ ได้แก่ เคลือบรากฟัน เอ็นยึดปริทันต์และ กระดูกเบ้าฟัน สามารถขูดหินปูนทั้งปากได้เสร็จในครั้งเดียว
3.ปลูกถ่ายเหงือก
ปลูกถ่ายเหงือก (Gum Tissue Graft) หรือการปลูกถ่ายเหงือก คือการรักษาปัญหาเหงือกร่น โดยทำการตัดเอาชิ้นเนื้อเยื่อจากส่วนอื่น ๆ ในช่องปาก มาติดเข้ากับเนื้อเยื่อเหงือกในส่วนที่มีปัญหา ช่วยปกปิดรากฟันที่ได้โผล่ออกมา ทำให้เหงือกดูเต็มขึ้น และช่วยปกป้องฟัน
การศัลยกรรมตกแต่งเหงือก เลเซอร์เหงือก (Gingivectomy and Gingivoplasty) คือ การตัดแต่งเฉพาะขอบเหงือกส่วนเกินออก ให้สูงขึ้น เพื่อเพิ่มความยาวของฟัน เพื่อให้เห็นฟันเต็มๆซี่ ด้วยเครื่องตัดขอบเหงือกโดยเฉพาะ เรียกว่า เครื่องตัดเหงือกไฟฟ้า (electrosurgery) หรือใช้เลเซอร์ (Laser) ก้ได้ เครื่องตัดเหงือกนี้ สามารถตัดเหงือกออกและในขณะเดียวกันก็สามารถห้ามเลือดได้ในตัว แผลที่เกิดจากการตัดเป็นแผลขนาดเล็กตามขอบเหงือก แผลจะค่อยๆแห้งและหายเป็นเหงือกปกติใน 1 อาทิตย์ ไม่จำเป็นต้องหยุดงานหรือพักฟื้น เพียงแค่รับประทานยาและทำความสะอาดช่องปากตามที่ทันตแพทย์แนะนำ ก็จะไม่มีผลข้างเคียงใดๆ หลังจากนั้นก็จะได้รอยยิ้มที่สวยและเห็นฟันที่มีความยาวฟันมากขึ้น
ดูแลช่องปากไม่ให้เป็นเหงือกอักเสบหรือโรคปริทันต์
- แปรงฟันให้ถูกวิธี
การดูแลสุขภาพช่องปากให้สะอาด สามารถช่วยลดกลิ่นปากได้อย่างดี เนื่องจากปัญหากลิ่นปากเหม็น 90 เปอร์เซ็นต์ มาจากภายในช่องปากที่มีปัญหา หากทำความสะอาดช่องปากให้ดี ก็จะสามารถช่วยลดปัญหากลิ่นปากเหม็นได้ ซึ่งการทำความสะอาดที่ดีและง่ายที่สุด คือ การแปรงฟันให้สะอาดและถูกวิธี
- แปรงฟันทุกวัน วันละ 2 ครั้ง (เช้า – เย็น) และหลังรับประทานอาหาร
- แปรงลิ้นให้สะอาด
- ใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์
- ใช้ไหมขัดฟัน
- ถ้าไม่สะดวกจะแปรงฟัน ให้บ้วนปากด้วยน้ำเปล่าหรือน้ำยาบ้วนปาก
2. ใช้ไหมขัดฟัน
ไหมขัดฟัน (Dental floss) คือ นวัตกรรมทางทันตกรรมที่ผลิตขึ้นมา เพื่อช่วยให้ขจัดเศษอาหาร หรือคราบแบคทีเรียที่ติดอยู่ตามซอกฟันได้อย่างทั่วถึง
- ใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดฟันให้ครบทุกซี่ ก่อนหรือหลังการแปรงฟันในทุก ๆ ครั้ง
- บ้วนปากด้วยน้ำสะอาด หลังการใช้ไหมขัดฟันเสร็จ
- ใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำอย่างต่อเนื่องทุกวัน
- ไหมขัดฟันเมื่อใช้เสร็จแล้ว ควรนำไปทิ้งทันที ห้ามนำกลับมาใช้ซ้ำอีกครั้ง
3. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
- รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม ธัญพืช เต้าหู้ ผักกระเฉด เป็นต้น
- รับประมานอาหารที่มีวิตามินซีสูง เช่น ฝรั่ง ส้ม คะน้า บล็อกโคลี่ เป็นต้น
4. พบทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
การพบทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอนั้น ก็เพื่อให้ทันตแพทย์ได้ตรวจเช็คช่องปากเพื่อตรวจหาฟันผุ ขูดหินปูน ตรวจเหงือก และให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพช่องปาก หากพบปัญหาภายในช่องปากก็สามารถรักษาได้ทันที ไม่ส่งผลให้ปัญหาสุขภาพช่องปากนั้นบานปลายหรือสายเกินแก้ปัญหา จนทำให้เสียฟันนั้นไป
- พบทันตแพทย์ทุก ๆ 6 เดือน
- ขูดหินปูนทุก ๆ 6 เดือน
สรุป
เหงือกอักเสบหรือโรคปริทันต์ คือ โรคที่มีการอักเสบของอวัยวะที่อยู่รอบ ๆ ตัวฟัน ที่เกิดมาจากการสะสมตัวของคราบจุลินทรีย์หรือคราบพลัคที่เกิดขึ้นตามรอยต่อระหว่างฟันและเหงือก ซึ่งหากเป็นเหงือกอักเสบหรือโรคปริทันต์ สามารถรักษาได้หลากหลายวิธี เช่น การเกลารากฟัน การขูดหินปูน การปลูกถ่ายเหงือก และการผ่าตัดเหงือก โดยขึ้นอยู่กับพิจารณาจากทันตแพทย์ แนะนำให้ทำการเข้าพบทันตแพทย์และตรวจช่องปาก เพื่อทำการรักษาในลำดับถัดไป นอกจากนี้ ควรดูแลช่องปากให้สะอาด ทั้งแปรงฟันฟันให้ถูกวิธี ใช้ไหมขัดฟัน รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และสุดท้ายอย่าลืมพบทันตแพทย์เป็นประจำอย่างสม่ำเสมอกันด้วยนะ
ปรึกษาหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ฟรี
Line : สาขาศรีราชา
Line : สาขาพัทยา