
สารบัญ
วิธีดูแลและรักษาไม่ให้เกิดแมงกินฟัน
ใช่หรือมั่ว ชัวร์หรือไม่ เรื่อง แมงกินฟัน
หลายต่อหลายคน คงได้ยินคำว่า แมงกินฟัน ทำให้เกิดฟันดำ และฟันผุ ถ้าหากเราดูแลรักษาทำความสะอาดฟันไม่ดี จะทำให้แมงเข้าไปกินฟันของเรา ว่าแต่ แมงกินฟัน มีจริงหรือ? แล้วแมงกินฟันของเราได้ จริงหรือ แล้วหน้าตาของแมงกินฟัน จะมีลักษณะเป็นยังไงกันนะ วันนี้ ศูนย์ทันตกรรม โมเดิร์นสไมล์ คลินิก มีคำตอบมาให้ค่ะ
แมงกินฟันคืออะไร
แมงกินฟัน ฟันกินแมง แมงอยู่ในฟัน ฟันเป็นรู หรือฟันเป็นโพรง จริงแล้ว แมงกินฟัน ไม่มีอยู่จริง แมงกินฟัน คือ แบคทีเรียที่อยู่ในช่องปาก เกิดขึ้นจากการสะสมของเศษอาหารที่ติดอยู่ที่ซอกฟัน หรือซี่ฟัน ซึ่งเมื่อมีการสะสมของเศษอาหารในระยะเวลาหนึ่งก็จะเกิดเป็นกรด ซึ่งมีฤทธิ์กัดกร่อนตัวเคลือบฟัน ทำให้ซี่ฟันสูญเสียแคลเซียม และ ฟอสฟอรัส หากไม่มีการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดี หรือการแปรงฟันที่ถูกต้อง ก็จะทำให้เกิดอาการปวดฟัน และถ้าปล่อยไว้ ก็จะทำให้เกิดฟันผุได้ในที่สุด ซึ่งโรคนี้จะเกิดขึ้นได้ง่ายในเด็กช่วยอายุประมาณ 3-6 ปี หรือในผู้ใหญ่ที่ ขาดการดูแลรักษาสุขภาพที่ถูกต้องและผิดวิธี รวมไปถึงการแปรงฟันที่ไม่สะอาดอีกด้วย
สาเหตุที่ทำให้เกิดแมงกินฟัน
แมงกินฟันสามารถเกิดได้หลายๆ รูปแบบดังนี้
1. รูปร่างและลักษณะของฟันแต่ละซี่เกิดจากความผิดปกติของกรรมพันธุ์ หรือเกิดจากการใช้ชีวิตประจำวันของคนไข้ เช่นลักษณะฟันมีการเกทับซ้อนกัน ทำให้การทำความสะอาดเข้าถึงได้ยาก
2. ขาดแคลเซียม ฟอสฟอรัส และพวกวิตามิน A และ C ที่มีความสำคัญต่อต่อการบำรุงฟัน
3.เกิดการสะสมของแบคทีเรียที่เกิดจากการรับประทานอาหาร และเกิดจากการทำความสะอาดช่องปากและ ซี่ฟันไม่ทั่วถึง
4. ประสิทธิภาพการผลิตน้ำลายในช่องปากน้อยเกิดไป จนไม่สามารถชำระล้างและฆ่าเชื่อแบคทีเรียในช่องปากได้เท่าที่ควร
วิธีดูแลรักษาและป้องกัน
1. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ รวมไปถึงวิตามินต่างๆ เช่น วิตามิน A และ C รวมไปถึงอาหารที่มีแคลเซียมและ ฟอสฟอรัส เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ในการดูแลและปกป้องผิวเคลือบฟัน
2. ทำความสะอาดช่องปาก หรือแปรงฟัน อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง หลังรับประทานมื้ออาหาร
3. ใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นตัวช่วยในการทำความสะอาดช่องปากหลังการแปรงฟัน อย่างเช่น ไหมขัดฟัน และ น้ำยาป้วนปากที่ไม่มีสารกัดกร่อนผิวฟัน เพื่อช่วย เพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลความสะอาด
4. ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายอย่างน้อยวัน 8 แก้ว หรือ 1.5 ลิตร เพื่อเป็นตัวช่วยในการผลิตน้ำลายให้มีประสิทธิภาพในการชำระล้าง แบคทีเรียในช่องปาก
5.หากต้องเคี้ยวหมากฝรั่งให้เลือกเคี้ยวหมากฝรั่งที่มีส่วนผสมของ xylitol ซึ่งเป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาลที่ช่วยลดโอกาสในการเกิดฟันผุ
6. พบหมอฟันเป็นประจำทุกๆ 6 เดือน หรือเมื่อเริ่มมีอาการเพื่อวางแผนในการรักษาอย่างทันถ่วงที
7. หากพบว่าฟันเริ่มเป็นรูหรือโพรง ให้กำจัดฟันผุโดยการใช้วัสดุในการอุดฟัน
8. หากในกรณีที่ฟันเป็นรูหรือผุจนถึงโพรงประสาทฟัน จะต้องดำเนินการรักษาโดยการรักษารากฟัน
ส่วนไหนของฟันที่มีโอกาสผุได้มากมากกว่าส่วนอื่น
โดยปกติแล้วผิวฟันของคนเราจะมีทั้งในส่วนที่ราบเรียบและในส่วนที่เป็นร่องฟัน ซึ่งในส่วนของที่เป็นร่องฟันนี้เองที่มีโอกาสที่จะเกิดฟันผุได้มากกว่าส่วนอื่นๆ เพราะเป็นตำแหน่งที่เวลาทานอาหารแล้วเศษอาหารจะเข้าไปติดในร่องฟันได้ง่ายจึงมีโอกาสส่วนที่จะทำให้เศษอาหารเข้าไปติดในซอกฟันนั้นๆ หากทำความสะอาดไม่ดีแล้ว ก็จะไม่สามารถทำความสะอาดได้หมด หากซอกฟันส่วนใดส่วนนึงที่ทำให้ฟันผุแล้ว จะส่งผลต่อฟันซี่ข้างๆ ได้รับผลกระทบจากฟันที่ผุได้ด้วยอย่างลุกลามและรวดเร็ว


ถ้าฟันผุแล้วไม่ได้รับการรักษาจะก่อให้เกิดอะไรขึ้นได้บ้าง
ปัญหาที่ส่งผลต่อเนื่องหากมีอาการฟันผุ ก็จะก่อให้เกิด อาการเสียวฟัน และปวดฟัน และที่สำคัญจะเป็นการสร้างบุคลิกภาพในด้านดีของตนเองอีกด้วย เช่น ไม่กล้ายิ้ม และ มีกลิ่นปากจนไม่กล้าที่จะมีการพูดคุยหรือประสานงานกับ บุคคลอื่นได้ ในบางกรณีที่มีฟันผุจนทะลุชั้นเนื้อโพรงประสาท ก็จะมีอาการติดเชื้อหรืออักเสบ ทำให้ช่องปากมีตุ่มหนอง และมีอาการบวม รวมไปถึงมีอาการปวดร่วมด้วย และอาจจะมาสู่ ปัญหาสุขภาพอย่างร้ายแรงอื่นๆ ได้ เช่นมีอาหารฟันหัก ฟันโยก จนต้องรักษาโดยการถอนฟัน จนส่งผลต่อระบบอื่นๆ ของร่างกายได้
ปวดฟันทำอย่างไรดี วิธีบรรเทาอาการปวดฟันเบื้องต้น
หากยังไม่สามารถไปพบทันตแพทย์ได้ทันที สามารถบรรเทาอาการปวดฟันเบื้องต้นด้วยตนเอง ได้ด้วยวิธีง่ายๆ ดังต่อไปนี้
1. ลดสิ่งกระตุ้นที่ทำให้ปวดฟันเพิ่มขึ้น หรือทำให้ประสาทฟันบาดเจ็บมากขึ้น
เช่น
– ของเย็นจัด : น้ำแข็ง ไอศครีม
– ของร้อนจัด : น้ำร้อน ชาร้อน กาแฟร้อน อาหารร้อน
– อาหารที่มีรสหวานจัด รสเปรี้ยว
2. ลดการกระทบกระแทกกับฟันซี่นั้น อาการปวดฟันจะเป็นมากขึ้น ถ้าฟันซี่นั้นถูกกระแทกบ่อยๆ หรือตัวฟันสูงกว่าซี่อื่นๆ บางครั้งฟันถูกหนุนลอยตัวขึ้นมาเพราะมีหนอง
3. รับประทานอาหารที่ไม่ต้องใช้แรงเคี้ยวมาก เช่น อาหารนิ่มๆ เลี่ยงอาหารแข็งๆ หรือเหนียวๆ ที่ต้องใช้แรงบดเคี้ยวมาก หรือเลี่ยงไปเคี้ยวอีกด้าน
4. ใช้ไหมขัดฟัน ถ้าอาการปวดเกิดจากเศษอาหารติดฟัน อาการจะเป็นมากถ้าอาหารถูกอัดแน่นในซอกเหงือกเป็นเวลานานๆ วิธีที่ดีที่สุดคือ ให้รีบเอาเศษอาหารเหล่านั้นออกให้เร็วที่สุด โดยการใช้ไหมขัดฟัน (Dental floss) ไม่ควรใช้ไม้จิ้มฟัน
5. ใช้น้ำร้อนช่วยประคบ ถ้ามีฟันผุทะลุโพรงประสาทฟัน เป็นหนองที่ปลายรากฟัน และมีอาการบวมเห็นได้ชัด การใช้น้ำร้อนช่วยประคบบริเวณที่บวมภายนอกช่องปากช่วยลดอาการปวดฟันได้ดี และช่วยเพิ่มการระบายหนอง สามารถบรรเทาอาการปวดได้ดีทีเดียว
6. น้ำมันกานพลู เป็นยาที่ช่วยลดอาการปวดฟันได้ ซึ่งมีการนำมาใช้เป็นเวลานานแล้ว โดยใช้สำลีชุบน้ำมันกานพลู แล้วอุดลงไปในรูที่ผุ ฤทธิ์ของน้ำมันกานพลูจะออกฤทธิ์เป็นยาแก้ปวดฟันที่ดีมาก
7. อมเกลือแก้ปวดฟัน เกลือมีสรรพคุณที่ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ปวดฟัน เราสามารถนำเกลือผสมกับน้ำอุ่น อมทิ้งไว้ประมาณ 30 วินาที เพื่อบรรเทาอาการปวดฟันได้
สรุป
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ที่เราได้ยินประโยคที่ว่า แมงกินฟัน ฟันกินแมง หรือนอนกินฟัน นั้น ไม่มีอยู่จริง ไม่มีหนอน หรือแมง ใดๆ ทั้งสิ้นที่เข้าไปอยู่ในช่องปากแล้วเข้าไปทำลายฟันของพวกเรา ซึ่งสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้ฟันเกิดอาการผุ เป็นรูและมีสีดำ เกิดจากการทานอาหาร แล้วเศษอาหารเหล่านั้นเข้าไปติดอยู่ในซอกซี่ฟัน และไม่ได้รับการแปรงฟัน หรือทำความสะอาดฟันที่ไม่ดีพอ จดเกิดการสะสมของเเบคทีเรียซึ่งกระตุ้นสารที่ก่อให้เกิดการทำลายของเคลือบฟันจนทำให้ฟันผุในที่สุด
Line : สาขาศรีราชา
Line :สาขาพัทยา