ปวดฟันทําไง ปวดฟันถอนได้ไหม? หรือต้องรอให้หายปวดก่อนกันแน่!!! ปวดฟันทําไงหาย
ปัญหาสุขภาพฟัน คุณเริ่มดูแลเมื่อไร หลายๆคนเลือกที่จะดูแลสุขภาพฟันของตัวเองเมื่อมีอาการปวดฟัน จึงเริ่มดูแลและมาพบทันตแพทย์ จริงๆควรตรวจสุขภาพฟันทุก 6 เดือนนะคะ เพื่อสุขภาพฟันที่ดีและไม่ต้องสูญเสียฟันไปอย่างไม่ควร มาหาคำตอบกับอาการปวดฟันกันคะ
ปวดฟัน ถอนได้ไหม เมื่อมีอาการปวดฟัน “ปวดฟัน” หลายต่อหลายคนมักมองข้ามและเพิกเฉยต่อการรักษา แต่หารู้ไม่ว่า อาการปวดฟัน เป็นจุดเริ่มต้นของสัญญาณเตือนถึงโรคทางช่องปาก ที่หากไม่ได้รับการรักษา อาจเกิดการอักเสบติดเชื้อ และแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆ ตามมาได้ เช่น การติดเชื้อบริเวณลำคอ การติดเชื้อในโพรงอากาศไซนัส หรือแม้กระทั่งโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ เป็นต้น
สารบัญ
วิธีลดอาการ ปวดฟัน หากไม่สามารถไปหาทันตแพทย์ได้ในทันที
ปวดที่ส่งสัญญาณว่า ได้เวลารักษา “รากฟัน”
สาเหตุของอาการปวดฟัน
- โรคฟันผุ ในระยะแรกของฟันผุนั้น ผู้ป่วยจะไม่มีอาการใดๆ แต่ถ้าส่วนที่ผุนั้นลึกมากขึ้น ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการเสียวฟันเวลาดื่มน้ำร้อน, น้ำเย็น บางครั้งผู้ป่วยอาจจะรู้สึกปวดฟันขึ้นมาในขณะเคี้ยวอาหาร เนื่องจากมีเศษอาหารไปติดอยู่ในรูที่ผุนั้น การรักษาโดยการอุดฟันจะช่วยลดอาการปวดลงได้
- การอักเสบของเนื้อเยื่อในโพรงประสาทฟัน ส่วนใหญ่มักจะเป็นผลจากฟันที่ผุลึกมาก จนกระทั่งทะลุโพรงประสาทฟัน ซึ่งจะอยู่ในส่วนของรากฟันและอาจพบได้ในฟันสึก, ฟันร้าวหรือแตกลึกถึงโพรงประสาทฟัน ซึ่งจะทำให้เกิดอาการอักเสบและติดเชื้อของเนื้อเยื่อในโรงประสาทฟัน ทำให้เกิดอาการปวดฟันขึ้นมาได้ โดยผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดฟันขึ้นมาเองโดยไม่ต้องมีสิ่งกระตุ้น โดยเฉพาะเวลากลางคืน ผู้ป่วยจะมีอาการปวดฟันมากและปวดอยู่นาน บางครั้งต้องกินยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอากรปวดแต่ถ้ายาแก้ปวดหมดฤทธิ์ผู้ป่วยก็มักจะมีอาการปวดกลับมาใหม่อีกครั้ง ถ้าคุณมีอาการปวดคล้ายๆ แบบนี้แล้วแสดงว่าฟันของคุณอาจมีการอักเสบและติดเชื้อในเนื้อเยื่อในโพรงประสาทฟีน การรักษาคงจะต้องรักษาคลองรากฟันหรือถอนฟัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสภาพเนื้อเยื้อฟันที่เหลืออยู่ โดยต้องให้ทันตแพทย์ประเมินการรักษาอีกครั้ง
- ปลายรากอักเสบเป็นหนอง ถ้าการอักเสบของเนื้อเยื้อในโพรงประสาทฟันฟันเป็นอยู่นาน โรคอาจจะลุกลามไปที่ปลายรากฟัน ทำให้เกิดการติดเชื้อและเป็นหนองบริเวณปลายรากฟัน ผู้ป่วยก็จะมีอาการปวดฟันได้เช่นกัน ร่วมกับการบวมของเหงือกบริเวณฟันที่ติดเชื้อและเป็นโรคได้ ถ้าเชื้อลุกลามออกนอกปลายรากไปที่ใต้คางหรือแก้ม จะสังเกตได้ว่าหน้าจะบวมได้ การรักษาจะเหมือนกับกรณีที่มีการอักเสบของเนื้อเยื่อในโพรงประสาทฟัน
- ฟันคุด เกิดจากฟันที่จะขึ้นในช่วงวัยรุ่นตอนปลายเป็นต้น โดยขึ้นมาได้ไม่เต็มที่ เนื่องจากกระดูกขากรรไกรมีเนื้อที่ไม่เพียงพอหรือมีฟันซี่ข้างเคียงขวางไว้ มักเป็นที่ฟันกรามซี่ในสุด ทั้งข้างบนและข้างล่างจะทำให้รู้สึกปวดฟันเวลาที่ฟันกำลังจะขึ้นได้ ถ้าพบว่ามีเหงือกบวมรอบๆ เป็นหนองฟันคุย ฟันคุกควรได้รับการผ่าตัดฟันคุยจะทำให้อาการปวดลดลง
- โรคเหงือกอักเสบและปริทันต์อักเสบ มักมีสาเหตุมาจากคราบหินน้ำลายหรือหินปูน จะทำให้หงือกอักเสบ บวดและปวดฟันได้ ผู้ป่วยมักมีอาการปวดหนึบๆ หรือปวดรำคาญ ร่วมกับแฟรงฟันมีเลือดออก ถ้าเป็นมากๆ ฟันจะโยก
- จะเห็นได้ว่า อาการปวดฟันนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุมาก ซึ่งยังมีอีกหลายๆ โรคที่ทำให้ปวดได้ แต่ที่ยกตัวอย่างไปนั้นเป็นโรคที่พบได้บ่อยที่ทำให้เกิดอาการปวดฟัน ดังนั้นหากรู้สึกว่ามีอาการปวดฟัน ออกไปพบทันตแพทย์ทันทีเพื่อค้นหาสาเหตุและได้รับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป เราไม่ควรจะปล่อยทิ้งไว้เพราะจะเป็นมากขึ้นจากการอักเสบติดเชื้อ ซึ่งจะทำให้การรักษายุ่งยากมากขึ้นด้วย
ขอขอบคุณข้อมูลและคำแนะนำจาก : อ.ทพ.เดชศักดิ์ นาคะปักษิราช ภาควิชาเวชศาสตร์ช่องปากและปริทันตวิทยา คณะทันแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
วิธีลดอาการ ปวดฟันทํายังไงหาย ถ้าไม่สามารถไปหาทันตแพทย์ได้ในทันที !
เชื่อว่าหลายๆคนคงเคยประสบปัญหาปวดฟันเป็นอย่างมาก รับประทานยาแก้ปวดก็ไม่หายปวด และยังไม่สามารถไปพบทันตแพทย์เพื่อทำการรักษาอาการปวดได้ ต้องทนกับอาการปวดที่สุดจะทรมานกินไม่ได้นอนไม่หลับ ซึ่งจริงๆแล้วมีหลายวิธีที่สามารถทำให้หายปวดได้ก่อนที่จะไปพบทันตแพทย์เพื่อทำการรักษาต่อไป โดยวิธีต่างๆมีดังต่อไปนี้
- ลดสิ่งกระตุ้น สิ่งกระตุ้นประสาทฟันต่างๆได้ดีคงหนีไม่พ้นสิ่งที่รับประทานเข้าไปนั่นเอง ซึ่งหากว่ามีอาการปวดฟัน ควรงดรับประทานอาหารจำพวก ของเย็นจัด เช่น น้ำแข็ง ไอศกรีม เป็นต้น ของร้อนจัด เช่น น้ำร้อน ชาร้อน กาแฟร้อน หรืออาหารที่ร้อนๆ เป็นต้น รวมถึงอาหารหรือขนมที่มีรสหวานจัด หรือมีรสเปรี้ยวจัด เพราะว่าอาหารเหล่านี้ถือว่าเป็นอาหารที่กระตุ้นทำให้เส้นประสาทฟันรับรู้ได้เป็นอย่างดี อาจจะทำให้เกิดการปวดฟันในทันที
- ห้ามกระทบกระแทกฟันซี่ที่ปวด ฟันซี่ที่มีปัญหามีโอกาสถูกกระทบกระแทกได้ง่ายกว่าฟันซี่อื่น เพราะส่วนใหญ่แล้วฟันซี่ที่มีอาการปวดจะมี อาการของเหงือกบวมร่วมด้วย จะส่งผลให้ฟันซี่นั้นมีการยกตัวสูงกว่าฟันซี่อื่น ซึ่งควรระมัดระวังหลีกเลี่ยงการกระแทกฟันซี่ดังกล่าวเท่าที่ทำได้ เพราะ หากเกิดการกระทบกระแทกบ่อยๆยิ่งจะทำให้เกิดการอังเสบและปวดมากขึ้น
- รับประทานอาหารที่ไม่ต้องใช้แรงเคี้ยว ในช่วงที่มีอาการปวดฟัน ควรรับประทานอาหารมีนิ่มๆ เพื่อไม่ให้เกิดการสบของฟัน เพราะอาจจะทำให้เกิดการกระแทกจากอาหารไปโดนฟันซี่ที่ปวดได้
- อย่าให้เศษอาหารติดซอกฟัน เมื่อรับประทานอาหารเข้าไปแล้วต้องบ้วนปากให้สะอาด และดูแลให้ดีกว่าปกติ เพราะไม่เช่นนั้นเศษอาหารจะเข้าไปติดที่ซอกฟันที่กำลังผุ ส่งผลให้แบคทีเรียโตได้ไวขึ้น ส่งผลให้เกิดอาการปวดฟันตามม
- ประคบร้อน ถ้าหากว่าอาการปวดฟันมาจากฟันผุที่ทะลุโพรงประสาท เป็นหนองที่ปลายรากฟัน หรือมีอาการบวมชัดเจน ให้ใช้วิธีนำผ้าชุบน้ำร้อนและนำมาประคบตรงบริเวณที่ปวดบวมภายนอกช่องปาก จะช่วยอาการปวดฟันให้หายปวดได้เป็นอย่างดี แถมยังช่วยเพิ่มการระบายหนอง สามารถบรรเทาอาการปวดได้ดีเป็นอย่างมาก
- ใช้น้ำมันกานพลู ต้องบอกเลยว่าวิธีนี้ถูกนำมาใช้ในการลดอาการปวดฟันมาต้องแต่ในสมัยอดีตแล้ว โดยให้นำสำลีชุบน้ำมันกานพลู แล้วอุดลงไปในรูฟันที่ผุ ซึ่งน้ำมันกานพลูจะออกฤทธิ์ยับยั้งการปวดฟันได้เป็นอย่างดี
เว้นแต่ปัญหาเรื่องระยะเวลาการรักษาและค่าใช้จ่ายของผู้ถูกทำการรักษา และการวินิจฉัยที่ถูกต้องเกี่ยวกับสาเหตุของการปวดฟันโดยทันตแพทย์
📍📍การถอนฟันอาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุดเสมอไปโดยเฉพาะ การถอนฟันในซี่ที่ยังมีอาการบวม ติดเชื้อหรือมีหนองนั้น การฉีดยาชาลงไปบริเวณที่มีการอักเสบ ***จะทำให้ยาชาออกฤทธิ์ได้ไม่เต็มที่***
📍📍ซึ่งอาจทำให้มีอาการปวดมากขึ้นในขณะที่ทำการถอนฟัน ดังนั้นคุณหมอมักจะแนะนำให้ทานยาเพื่อบรรเทาไปก่อน พออาการปวดลดลงแล้ว จึงค่อยกลับมาถอนฟัน
📍📍แต่หากมีอาการบวมมาก ซึ่งถ้าคุณหมอพิจารณาแล้วว่า ถ้าปล่อยไว้อาจจะมีการติดเชื้อกระจายเป็นวงกว้าง บางกรณีก็จะแนะนำให้ถอนฟันไปเลย เมื่อสาเหตุของการติดเชื้อถูกขจัดออกไปหรือมีทางระบายหนอง คนไข้ก็จะหายเร็วขึ้นค่า
ปวดฟันทานยาอะไรได้บ้าง
ยาแก้ปวดฟันส่วนใหญ่นั้นสามารถหาซื้อได้จากร้านขายยาทั่วไป แต่เพื่อความปลอดภัยควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนใช้ยา โดยยาที่อาจช่วยบรรเทาอาการปวดฟันได้มี ดังนี้
- ไอบูโพรเฟน ผู้ใหญ่รับประทานยาไอบูโพรเฟนปริมาณ 200-400 มิลลิกรัมทุก 4-6 ชั่วโมง
- พาราเซตามอล ผู้ใหญ่รับประทานยาพาราเซตามอลชนิดออกฤทธิ์ทันทีปริมาณ 325-1,000 มิลลิกรัมทุก 4-6 ชั่วโมง เด็กรับประทานยาพาราเซตามอลปริมาณ 10-15 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวต่อกิโลกรัม ทุก 4-6 ชั่วโมงและไม่ควรรับประทานเกิน 5 ครั้งต่อวัน
- นาพรอกเซน ผู้ใหญ่รับประทานยานาพรอกเซนชนิดออกฤทธิ์ทันทีปริมาณ 550 มิลลิกรัมทุก 12 ชั่วโมง หรือรับประทานยานาพรอกเซนชนิดออกฤทธิ์ทันทีปริมาณ 275 มิลลิกรัมทุก 6-8 ชั่วโมง
- เบนโซเคน ชนิดทา ใช้ยาเบนโซเคนชนิดทารูปแบบเจลความเข้มข้น 20 เปอร์เซ็นต์ทาบริเวณที่มีอาการปวด 4 ครั้งต่อวัน โดยยาเบนโซเคนนั้นมีความเข้มข้นของยาชาแตกต่างกันไป จึงควรขอคำแนะนำจากแพทย์ถึงปริมาณและความถี่ในการทายาก่อนการใช้
ปวดฟันกราม ทําไงหายโดยไม่พึ่งยา
วิธีแก้ปวดฟันโดยไม่รับประทานยาอาจเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่กังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียงของยา หรือนำมาใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดชั่วคราวในกรณีที่ไม่สามารถหายาได้ โดยวิธีแก้ปวดฟันที่สามารถทำเองได้ที่บ้านมี ดังนี้
- ประคบเย็น
ใช้ผ้าขนหนูผื่นเล็กห่อน้ำแข็งหรือถุงน้ำแข็งและประคบเย็นบริเวณที่ปวดฟันราว 20 นาที และทำซ้ำอีกครั้งในช่วง 2-3 ชั่วโมง โดยความเย็นนั้นจะไปช่วยลดการอักเสบและบวมบริเวณนั้น - บ้วนปากด้วยน้ำเกลือ
น้ำเกลือนั้นมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อโรค สมานแผลในปาก ต้านการอักเสบ และยังช่วยชะล้างคราบหรือเศษอาหารตามซอกฟันที่อาจเป็นสาเหตุของอาการปวดฟันได้ โดยนำเกลือป่น 2 ช้อนชา ผสมกับน้ำอุ่นหนึ่งแก้วสำหรับใช้บ้วนปาก - ใช้ไหมขัดฟัน
การใช้ไหมขัดฟันจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำความสะอาดช่องปากหากใช้อย่างถูกต้อง ซึ่งจะช่วยกำจัดเศษอาหารที่ติดในซอกฟันบริเวณที่แปรงสีฟันเข้าไม่ถึงได้ นอกจากนี้ ไหมขาดฟันยังอาจช่วยลดคราบพลัคที่เป็นสาเหตุของหินปูนด้วย - รักษาด้วยสมุนไพร
สมุนไพรนั้นนับว่าเป็นยาแก้ปวดฟันจากธรรมชาติ โดยสมุนไพรที่อาจช่วยบรรเทาอาการปวดฟันได้ เช่น ใบฝรั่งมีคุณสมบัติยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรค ลดการอักเสบ วิธีการใช้เริ่มต้นด้วยการนำใบฝรั่งไปล้างให้สะอาดแล้วนำมาเคี้ยวหรือนำไปบดและต้มในน้ำเดือดเพื่อใช้ในการบ้วนปาก น้ำมันกานพลูมีสารฆ่าเชื้อโรคจากธรรมชาติสามารถนำมาหยดใส่ก้อนสำลีและทาบริเวณที่ปวดหรือใช้ผสมกับน้ำสะอาดเพื่อใช้บ้วนปากช่วยในลดอาการปวดและการอักเสบ กระเทียมออกฤทธิ์ช่วยลดอาการปวดและฆ่าเชื้อโรคภายในปาก นำมารักษาด้วยวิธีการเคี้ยวอย่างช้า ๆ หรือนำมาบดและทาบริเวณที่ปวดเพื่อบรรเทาอาการ
ปวดที่ส่งสัญญาณว่า ได้เวลารักษา “รากฟัน”
- มีอาการปวดฟันตุ๊บๆ ตามจังหวะการเต้นของชีพจร
- เจ็บ หรือปวดฟันเวลาเคี้ยว หรือกัดอาหาร
- ปวด และบวมเหงือก จากอาการเหงือกติดเชื้อ
- ปวดเมื่อฟันกระทบกัน
- ปวดฟันโดยไม่ทราบสาเหตุ
- ปวดฟัน แม้กระทั่งเวลานอนตอนกลางคืน
- ปวดฟัน โดยไม่ต้องมีสิ่งกระตุ้น เช่น น้ำเย็น หรืออาหารหวาน
สรุป
อาการปวดฟันเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น โรคเหงือก ฟันผุ การติดเชื้อ เป็นต้น การเลือกการรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุ การถอนฟันเป็นเพียงตัวเลือกหนึ่งในการรักษาซึ่งหากฟันซี่นี้สามารถเก็บไว้ใช้งานได้คงไม่มีใครต้องการถอนไม่ว่าจะเป็นคนไข้หรือทันตแพทย์ก็ตาม ยกเว้นปัญหาเรื่องระยะเวลาการรักษาและค่าใช้จ่าย การได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องเกี่ยวกับสาเหตุของการปวดฟันโดยทันตแพทย์จึงเป็นสิ่งสำคัญ การ ถอนฟัน อาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาเสมอไป อ่านเพิ่มเติม ปวดฟันต้องทําไง
การถอนฟันในซี่ที่ยังมีอาการบวม ติดเชื้อหรือมีหนองนั้น การฉีดยาชาลงไปบริเวณที่มีการอักเสบ จะทำให้ยาชาออกฤทธิ์ได้ไม่เต็มที่ อาจทำให้มีอาการปวดมากขึ้นในขณะที่ทำการถอนฟัน ดังนั้นคุณหมอมักจะแนะนำให้ทานยาเพื่อบรรเทาไปก่อน พออาการปวดลดลงแล้ว จึงค่อยกลับมาถอนฟัน
แต่….ถ้ามีอาการบวมมาก ซึ่งถ้าคุณหมอพิจารณาแล้วว่า ถ้าปล่อยไว้อาจจะมีการติดเชื้อกระจายเป็นวงกว้าง จนเป็นเหตุให้ต้องนอนโรงพยาบาลนั้น บางกรณีก็จะแนะนำให้ถอนฟันไปเลย เมื่อสาเหตุของการติดเชื้อถูกขจัดออกไปหรือมีทางระบายหนอง คนไข้ก็จะหายเร็วขึ้น อ่านเพิ่มเติม ปวดฟันอยู่ถอนได้ไหม
😻😻และพิเศษสุดตอนนี้กับแคมเปญสุดชิค กับ MODERN SMILE ฟันสวยพักฟรี เริ่มแล้ววันนี้ทุกสาขา ฝากกดไลน์กดแชร์เพื่อรับไปเลย 1แต้มง่ายๆ#ฟันสวย #ฟันขาว #จัดฟัน #โปรโมชั่นทำฟัน #ทำฟันศรีราชา #ทำฟันพัทยา
ต้องบอกก่อนคะว่าไม่ได้มาเล่นๆกับแคมเปญที่มีอายุการเก็บสะสมแต้มถึง 3 ปี อ่านไม่ผิดคะ 3ปีแบบยาวๆให้การทำฟันของคุณคือความคุ้มค่า สำหรับลูกค้าคนพิเศษ
ทุกๆการชำระค่าบริการทันตกรรมหรือสินค้าใดๆก็ตาม 400บาทจะได้รับไปเลย 1แต้ม ยอดชำระยิ่งมากยิ่งมีสิทธิ์ได้ของรางวัลเร็ว ไม่ต้องลุ้นไม่ต้องจับสลากใครก็มีสิทธิ์ได้รับ ของรางวัลจากแคมเปญสุดพิเศษนี้!!!
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
085 – 2471333 สาขาศรีราชา
085 – 2471222 สาขาพัทยา
รีบเลย!!! โปรนี้ไม่ควรพลาด