ฟันแตก ฟันบิ่น ฟันหัก ศรีราชาพัทยา

BROKEN-TOOTH-Modernsmile

ฟันแตก ฟันบิ่น ฟันหัก 

ฟันแตก ฟันบิ่น ฟันหัก  เป็นปัญหาช่องปากที่อาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน โดยฟันแตกเกิดได้จากหลายสาเหตุไม่ว่าจะเป็นการเคี้ยวของแข็ง การประสบอุบัติเหตุ หรือการนอนกัดฟัน ซึ่งฟันแตกนั้น จะมีลักษณะที่เป็นฟันแตกแบบรู หรือฟันแตกแบบครึ่งซี่นั้น อาจก่อให้เกิดปัญหาในช่องปากด้านอื่นๆ ตามมาได้ เพราะฉะนั้นจึงควรเข้ารับการรักษาอาการฟันแตกให้เร็วที่สุด 

 

ฟันแตกเกิดจากอะไร

ฟันแตกเป็นภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม เพราะอาจจะทำให้ต้องเสียฟันซี่นั้นไปได้ แต่ก่อนจะมาดูถึงสาเหตุการเกิดเพื่อรักษาฟันแตกนั้น มาแยกประเภทกันก่อนว่าระหว่างฟันร้าวกับฟันแตกมีความแตกต่างอย่างไร

  • อาการฟันร้าว เป็นรอยร้าวของผิวเคลือบฟัน อาจมีการแตกร้าวจากด้านในของฟัน ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ ต้องพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสอบแล้วประเมินอาการเท่านั้น
  • อาการฟันแตก เป็นการที่มีบางชิ้นส่วนของฟันบิ่นออกมา หรือมีการแตกหักออกมาจากตัวฟัน โดยฟันหน้าแตกมักจะเกิดขึ้นบ่อยกว่าซี่อื่น ซึ่งฟันแตกนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุด้วยกันไม่ว่าจะเป็น
    • พฤติกรรมการใช้ฟันที่อันตรายอย่างการเปิดขวดด้วยฟัน อาจทำให้ฟันแตกครึ่งซี่หรือฟันหน้าแตกได้
    • การกัดเคี้ยวอาหารแข็ง ถือได้ว่าเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ฟันแตก เช่น น้ำแข็ง หมูกรอบ เปลือกหอย
    • การทานอาหารที่มีอุณหภูมิต่างกันอย่างฉับพลัน เช่น กินซุปร้อนๆ แล้วตามด้วยดื่มน้ำเย็นจัดตามทันที
    • ประสบอุบัติเหตุอย่างแรง เช่น รถชน การล้ม ถูกของแข็งกระแทก การเล่นกีฬา การชกต่อย
    • การสบฟันแรงๆ อย่างพฤติกรรมการนอนกัดฟัน
    • ฟันมีรอยอุดขนาดใหญ่ ทำให้โครงสร้างความแข็งแรงของฟันซี่นั้นลดลง

 

สาเหตุที่ก่อให้เกิดฟันแตก

สาเหตุที่ทำให้ฟันแตก

  • ฟันแตก ฟันบิ่น ฟันร้าว  เกิดจากการนอนกัดฟัน หรือการใช้ชีวิตประจำวัน
  • อาจเกิดจากอุบัติเหตุ เช่น การล้มกระแทก การถูกทำร้าย ถูกของแข็งกระแทก การใช้ฟันหน้าผิดประเภท เช่น ใช้ฟันเปิดขวด
  • ารเคี้ยวของแข็งโดยบังเอิญหรือตั้งใจ เช่น เคี้ยวโดนก้อนกรวด กระดูก น้ำแข็ง ถั่วแข็ง หมูกรอบที่แข็งเกินไป ลูกอมเม็ดแข็ง หรืออาหารอื่นใดที่มีความแข็งกว่าฟัน

 

อาการเบื้องต้นจากฟันแตก

อาการของฟันแตกเบื้องต้นที่สามารถสังเกตได้

วิธีสังเกตอาการฟันแตกที่ง่ายที่สุดคือการส่องกระจก แต่ก็อาจมีจุดที่อยู่นอกเหนือจากบริเวณที่มองเห็นได้ในกระจกที่ การรักษาฟันแตกไม่ทันท่วงที เมื่อเผลอปล่อยไว้นานระดับความรุนแรงและผลกระทบจากฟันแตกอาจมีมากขึ้น จนมีอาการเตือนให้รับรู้ ซึ่งสัญญาณเตือนฟันแตกเบื้องต้นที่สังเกตได้นอกจากส่องกระจก มีดังนี้

เมื่อโดนกระแทก หรือเคี้ยวอาหารจะรู้สึกเจ็บ หรือปวด ฟันแตกเป็นฟันที่ได้รับบาดเจ็บ เวลาที่ฟันโดนกระแทก รู้สึกเจ็บเมื่อเคี้ยวอาหาร หรือปวดขึ้นมา ให้รีบสำรวจฟันว่ามีส่วนที่แตกหักหรือบิ่นหายหรือไม่ถ้าสำรวจฟันแล้วพบว่ามีลักษณะใกล้เคียงร่วมกับเกิดอาการตามที่กล่าวมาแสดงว่าฟันแตกแบบรุนแรงต้องพบทันตแพทย์เพื่อรักษาโดยด่วน

เหงือกบวม หรืออักเสบในบริเวณที่ฟันแตก สามารถทำให้เหงือกอักเสบได้ เพราะฟันมีช่องว่าง อาจทำให้เศษอาหารเข้าไปติดได้ และเมื่อเศษอาหารสะสมไปนานๆ ก็ทำให้เชื้อแบคทีเรียเจริญเติบโตจนเหงือกอักเสบและบวมได้ อีกกรณีหนึ่งคือบริเวณที่ฟันแตกนั้นลึกถึงชั้นเนื้อฟันจนทำให้เหงือกอักเสบได้เช่นกัน

เสียวฟันขณะที่ดื่มเครื่องดื่มที่เย็นจัด หรือร้อน หากฟันแตกเพียงเล็กน้อย อาจยังไม่เกิดอาการเจ็บปวดหรือเสียวฟันทันที แต่จะทำให้ฟันบอบบางและมีไวต่อความรู้สึกมากยิ่งขึ้น ดังนั้นหากฟันแตกแล้วดื่มเครื่องดื่มที่มีอุณหภูมิสูง หรือเย็นกว่าปกติจึงทำให้รู้สึกเสียวฟันได้ง่าย

 

วิธีสังเกตว่าคุณมีฟันแตกหรือไม่

  • ส่องกระจก สำรวจว่ามีรอยแตกที่อุดฟันให้เห็นหรือไม่
  • พบส่วนแปลกปลอมที่หลุดอยู่ในช่องปาก ถ้าคุณมีเศษฟันที่แตก แนะนำให้เก็บไว้เเล้วรีบไปพบทันตแพทย์
  • สังเกตสีเหงือก บริเวณแนวเหงือกที่พบฟันแตก มักจะมีการบวมแดง
  • พบส่วนแปลกปลอมที่หลุดอยู่ในช่องปาก ถ้าคุณมีเศษฟันที่แตก แนะนำให้เก็บไว้เเล้วรีบไปพบทันตแพทย์

 

ประเภทและลักษณะความรุนแรงของฟันแตก

  • มีอยแตกที่ผิวเคลือบฟัน เคลือบฟันเปรียบเหมือนเสื้อเกราะที่เเข็งแรงช่วยปกป้องเนื้อฟัน
    รอยแตกที่พบมักมีขนาดเล็กและตื้น ไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวดจึงไม่จำเป็นต้องรักษา แต่ใช้แค่การขัดเงาผิวฟันก็เป็นอันเรียบร้อย
  • ฟันกรามบริเวณที่เคยอุดมีการแตก โดยปกติไม่ส่งผลต่อเนื้อเยื่อและเส้นประสาทฟัน จึงไม่เกิดอาการเจ็บปวดมาก สามารถรักษาด้วยการอุดฟันหรือทำครอบฟัน
  • ฟันแตกและมีรอยร้าว กรณีที่ยังไม่ขยายไปถึงแนวเหงือกก็สามารถรักษาได้ แต่ถ้าการฟันมีรอยแตกขยายไปถึงบริเวณเหงือก อาจจำเป็นต้องถอนฟันซึ่งเป็นการรักษาที่ดีที่สุด
  • ฟันแตกแบ่งเป็นสองส่วนจากผิวด้านบนลามไปถึงด้านล่างของแนวเหงือก รอยแตกขนาดใหญ่นี้อาจะทำให้ทันตแพทย์ช่วยรักษาฟันได้บางส่วน
  • ฟันแตกหักแนวตั้ง เป็นรอยแตกที่เริ่มต้นจากข้างใต้เส้นเหงือกและขึ้นไปด้านบน ซึ่งฟันแตกลักษณะนี้มักจะไม่แสดงอาการให้เห็นมากนัก แต่ถ้าฟันมีการติดเชื้อ ก็มีโอกาสที่สูงมากที่จะต้องถอนฟันซี่ที่เสียออก

วิธีการรักษาฟันแตก ฟันบิ่น ฟันหัก 

การรักษาฟันแตกนั้นมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับลักษณะอาการ และดุลยพินิจของทันตแพทย์ว่าจะรักษาฟันแตกอย่างไร ดังวิธีต่อไปนี้ 

กรอฟัน หากฟันแตกเล็กน้อยบริเวณเคลือบฟัน ไม่มีอาการอื่นร่วมอย่างปวดฟัน เพียงแค่รู้สึกว่าบาดลิ้นหรือฟันซี่นั้นคม ทันตแพทย์จะรักษาด้วยการกรอขัดแต่งฟันที่แตกซี่นั้นเพื่อลดความคมลง ซึ่งการรักษาฟันแตกลักษณะนี้ ถือว่าเป็นการรักษาในระดับเคลือบฟัน

อุดฟัน หากฟันที่แตกบิ่นนั้นเป็นรูหรือรอยแตกขนาดใหญ่ และอาจเป็นบริเวณที่เคยอุดฟันมาก่อน ทันตแพทย์จะทำการอุดรูหรือรอยที่แตกก่อนด้วยวัสดุอุดฟัน เพื่อไม่ให้เกิดการแตกมากขึ้น เช่น เรซิ่นที่สีคล้ายเนื้อฟัน ที่มักใช้อุดฟันหน้าแตกเพื่อความสวยงาม หรืออมัลกัม (Amalgam) สีเงินบริเวณฟันกรามหรือซี่ในซึ่งการรักษาในลักษณะนี้ ถือเป็นการรักษาฟันแตกในระดับเคลือบฟัน

ครอบฟัน หากรอยฟันบิ่นแตกนั้นมีขนาดค่อนข้างใหญ่ เสียเนื้อฟันเยอะหรือปัญหาฟันชิ้นใหญ่แตกหัก ทันตแพทย์จะใช้วิธีครอบฟันที่สีคล้ายฟันจริง เพื่อทำให้ฟันกลับมาแข็งแรงขึ้น พร้อมๆ กับการรักษารากฟันร่วมด้วยเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาสุขภาพฟันอื่นๆ ตามมาในอนาคต  ซึ่งการรักษาลักษณะนี้ ถือเป็นการรักษาฟันแตกในระดับชั้นเนื้อฟันและระดับโพรงประสาทฟัน

รักษารากฟัน บางครั้งการที่ฟันแตกจนปวดฟันนั้น อาจมาจากการที่รอยฟันแตกทะลุและลึกถึง
ชั้นโพรงประสาทฟันทำให้มีอาการปวด จึงต้องรักษารากฟันที่แตกก่อนครอบฟันเพื่อให้ฟันแข็งแรงขึ้นโดยไม่ต้องถอนออก นับว่าเป็นการรักษาฟันแตกในระดับโพรงประสาทฟัน

ถอนฟัน หากฟันแตกลึกเลยแนวเหงือก ทำให้ฟันมีความเสียหายไม่สามารถรักษาเนื้อฟันได้ ทันตแพทย์จะทำการถอนฟันในท้ายที่สุดเพื่อป้องกันการติดเชื้อลามไปซี่อื่น นับได้ว่าเป็นการรักษาฟันแตกในระดับรากฟัน 

การป้องกันฟันแตก ฟันบิ่น ฟันหัก 

ฟันแตกเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุและมีหลายระดับในการแตก หากฟันแตกแล้วส่งผลต่อชีวิตประจำวัน การกินอาหารรู้สึกปวดฟันจะมีอาการเหงือกบวม เสียวฟัน อาจจะอยู่ในระดับชั้นเนื้อฟันและระดับโพรงประสาทฟัน วิธีแก้ปวดฟันแตกที่บรรเทาอาการปวดหรือเสียวฟันได้ในเบื้องต้น ดังนี้

  • อย่าเคี้ยวของแข็งๆ หลายคนติดนิสัยชอบเคี้ยวอะไรแข็งๆ อย่างก้อนน้ำแข็งหรือปลายปากกา จริงอยู่ว่าฟันคนเราแข็งแรง แต่พฤติกรรมแบบนี้จะทำฟันคุณเสียได้ในระยะยาว ถ้าฝืนเคี้ยวของแข็งๆ ไปเรื่อยๆ ฟันอาจบอบบางอ่อนแอลงจนแตกในที่สุด หลีกเลี่ยงการเคี้ยวอาหารแข็ง ไม่ใช้ฟันในการงัดเปิดสิ่งของต่างๆ เสี่ยงต่อการทำให้ฟันบิ่นหรือแตกได้
  • อย่ากัดฟัน โดยเฉพาะตอนนอนที่คุณอาจเผลอบดกรามและฟันซี่อื่นๆ กรอดๆ โดยไม่รู้ตัว นานๆ ไปเคลือบฟันคุณจะเสื่อมได้ ทำให้เสี่ยงฟันแตกขึ้นมา คนเรามักเผลอกัดหรือขบฟันตอนนอนโดยไม่รู้ตัว ทำให้แก้ได้ยากเหลือเกิน แต่ก็ยังพอมีฟันยาง (เหมือนของนักมวย) ที่ออกแบบมาเพื่อการนี้โดยเฉพาะ จะได้ใช้ตอนนอนป้องกันการกัดฟัน ถ้าคุณมีปัญหานี้ลองปรึกษาหมอฟันของคุณ คุณหมอจะได้แนะนำอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับคุณที่สุด
  • ใส่ฟันยางตอนเล่นกีฬา ตอนเล่นกีฬานี่แหละที่คนเรามักถูกกระแทกจนฟันหักฟันแตกมากที่สุด
    ถ้าคุณเล่นกีฬาที่ต้องถึงเนื้อถึงตัวรุนแรงอย่างฟุตบอล หรือกีฬาที่ใช้ไม้ตีหรืออุปกรณ์แข็งๆ อื่นๆ ที่อาจฟาดโดนหน้าคุณได้ เช่น เบสบอล ก็ต้องใส่ฟันยางทุกครั้งเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นกับฟันของคุณ
  • ดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน ถ้าคุณปล่อยให้ปากและฟันสกปรก รับรองเลยว่าฟันคุณจะอ่อนแอบอบบางจนเสียหายและติดเชื้อได้ง่ายๆ ยังดีที่คุณสามารถดูแลสุขภาพในช่องปากและฟันได้มากมายหลายวิธี ต้องรักษาความสะอาด และไปตรวจสุขภาพฟันตามนัดอย่างเคร่งครัด ห่างไกลฟันผุและฟันแตกแล้ว

แนะนำวิธีแก้ปวดฟันแตกเบื้องต้น ก่อนพบทันตแพทย์

แล้วปวดฟันทำอย่างไร? แนะนำวิธีแก้ปวดฟันแตกเบื้องต้น ก่อนพบทันตแพทย์

ฟันแตก เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุและมีหลายระดับในการแตก หากฟันแตกแล้วส่งผลต่อชีวิตประจำวัน การกินอาหารรู้สึกปวดฟันจะมีอาการเหงือกบวม เสียวฟัน อาจจะอยู่ในระดับชั้นเนื้อฟันและระดับโพรงประสาทฟัน วิธีแก้ปวดฟันแตกที่บรรเทาอาการปวดหรือเสียวฟันได้ในเบื้องต้น ดังนี้ 

  • บ้วนน้ำเกลือ เพื่อลดการเสี่ยงติดเชื้อจากแบคทีเรียต่างๆ ภายในปากเราจากอาหารหลากหลายชนิดที่ได้กิน
  • กินยาแก้ปวด เพื่อบรรเทาอาการปวดฟันก่อนจะเข้าพบทันตแพทย์เพื่อทำการรักษาฟันแตก
  • กินอาหารอ่อนๆ เพราะฟันแตกทำให้ฟันมีความบอบบางและไวต่อความรู้สึกจึงควรกินอาหารนิ่มๆ เช่น ซุป โจ๊ก พุดดิ้ง ข้าวต้ม เพื่อเป็นการลดความเสียหายของอาการฟันแตกและลดความเจ็บปวด
  • ไม่กินอะไรที่ร้อนจัดหรือเย็นจัด เพราะจะทำให้เสียวฟันและปวดได้
  • สลับไปเคี้ยวอาหารข้างที่ฟันไม่แตก เพราะถ้าเคี้ยวข้างเดิมจะทำให้ฟันแตกกว้างขึ้น

ฟันแตก ฟันบิ่น ฟันหัก สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการเคี้ยวของแข็ง ประสบอุบัติเหตุ หรือพฤติกรรม นอนกัดฟัน ล้วนแต่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดฟันแตกได้ซึ่งเป็นอันตรายที่ไม่ควรมองข้าม ดังนั้น ทุกคนจึงควรป้องกันไม่ให้เกิดฟันแตก หากพบว่ามีฟันแตกควรรีบเข้าพบทันตแพทย์ และเข้ารับการรักษาฟันแตกให้เร็วที่สุด 

ปรึกษาหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทันตกรรมโมเดิร์นสไมล์ คลินิกสาขาศรีราชา และพัทยา

085-2471333 สาขาศรีราชา

085 – 2471222  สาขาพัทยา

Line : สาขาศรีราชา

Line :สาขาพัทยา 

Instagram Modernsmile

WEBSITE : Modernsmiledental Clinic

Invisalign การรจัดฟันแบบใส